ข้าวยาโค ข้าวอาซูรอ สองศาสนาสานสัมพันธ์ที่บ้านยวนแหล

สรุปสาระสำคัญ

โครงการใช้ประเพณีกวนข้าวยาโคของชาวพุทธ และกวนข้าวอาซูรอของชาวมุสลิม มาเป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจให้เกิดขึ้นระหว่างคนต่างศาสนา เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนทัศนคติ จากที่เคยมองกันอย่างเป็นอื่น ไม่เข้าพวก แตกต่างกันและไม่เข้าใจวัฒนธรรมกันและกัน มาสู่ความเข้าใจและการยอมรับกันและกันว่าต่างก็เป็นสมาชิกของชุมชนผ่าน การเข้าร่วมในประเพณีกวนข้าวของแต่ละกลุ่ม และมีกิจกรรมอื่น ๆ มาเสริมตลอดการทำโครงการ เช่น การให้ผู้สูงอายุมาให้ความรู้กับเยาวชนทั้งเรื่องประเพณี และจากการไปสำรวจข้อมูล รวมทั้งให้ผู้ปกครองทั้งสองศาสนามีส่วนในการสนับสนุนกิจกรรมเยาวชน

 

บทเรียนที่น่าเรียนรู้จากโครงการเพื่อการนำไปขยายผล

1.  มีสภาผู้นำชุมชน เป็นพื้นที่เริ่มต้นสร้างความไว้วางใจ เรียนรู้วิถีและพัฒนางานเสริมความสัมพันธ์ระหว่างคนสองศาสนา

2.  สร้างจุดเชื่อมโยงความสัมพันธ์สองลักษณะ คือ ประเพณีชุมชน และเยาวชน ที่ทำให้ได้ทั้งใจ ได้ทั้งกำลังคน

3.  การออกแบบกิจกรรมเรียนรู้ ที่ทำให้เห็นความเหมือนกัน ทั้งเป้าหมาย วิธีการ และวัสดุอุปกรณ์ อย่างชัดเจน

4.  การสร้างความสามัคคีในชุมชน สามารถใช้ประโยชน์จากทุนเดิมที่เป็นประเพณี วัฒนธรรม ได้จริง แต่ต้องมีการวิเคราะห์ถึงเป้าหมาย และวิธีการให้ชัดเจน ให้เห็นจุดที่จะใช้ประโยชน์ และออกแบบการใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม เช่นที่นี่ ที่ได้วิเคราะห์ประเพณีทั้งสองศาสนา จนเห็นประเพณีที่มีจุดร่วมกัน เชื่อมโยงกันได้ จึงออกแบบกิจกรรมให้มีการเรียนรู้เป้าหมายและวิธีการให้เห็นความร่วมกันที่มีในประเพณีนั้นระหว่างคนสองศาสนา ให้เกื้อกูลกันและแบ่งปันในระหว่างการทำตามประเพณีของทั้งสอง

5.  การเข้าถึงเยาวชน ต้องใช้เยาวชน เข้าหากัน ด้วยการสนับสนุนให้มีบทบาท มีพื้นที่ในการคิด วางแผน และลงมือทำด้วยตนเอง และเรียนรู้ไปกับการพัฒนาตนเองของเด็กเยาวชน และความเข้าใจของตนเองต่อเด็กเยาวชนของตนเองไปด้วย เช่นที่นี่ ทำให้มีสภาเด็กและเยาวชน ด้วยการให้เด็กริเริ่มสร้างทีมของตนเอง ทำงานด้วยความคิดและวิธีการของตนเอง โดยสภาผู้นำชุมชนสนับสนุน

Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

ระบุข้อความ