นวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ
โครงการพัฒนารูปแบบการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ
“ HealthTech X สุขล้ำ ไม่เหลื่อมล้ำ “
รวมกลุ่มครีเอทเทคโนโลยีดิจิทัลสุดล้ำ เพื่อสร้างเสริมสุขภาพ
ให้กลุ่มคนพิเศษ เด็กเยาวชน ผู้สูงอายุ และกลุ่มเปราะบาง
ที่มาของโครงการ
โครงการค้นหาและพัฒนารูปแบบการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ ภายใต้แนวคิด “HealthTech X สุขล้ำไม่ เหลื่อมล้ำ” เกิดขึ้นจากแผนสร้างสรรค์โอกาสสร้างเสริมสุขภาวะ (แผน 11) โดยสำนักสร้างสรรค์โอกาส (สำนัก 6) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อค้นหา กลุ่มบุคคล ชุมชน องค์กร ที่มีศักยภาพและความคิดสร้างสรรค์ ในการพัฒนารูปแบบการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับประชากรกลุ่มเปราะบาง
2. เพื่อพัฒนาศักยภาพ กลุ่มบุคคล ชุมชน องค์กร ให้มีความรู้และสามารถพัฒนารูปแบบการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการสร้างเสริมสุขภาพที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง และ/หรือมีแนวทางการต่อยอดขยายผล
3. เพื่อพัฒนารูปแบบการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสนับสนุนงานสร้างเสริมสุขภาพ ซึ่งเป้าประสงค์หลักในการขยายโอกาส โดยเปิดโอกาสให้บุคคลชุมชนและองค์กรทั่วไปสามารถดำเนินงานภายใต้โครงการสร้างเสริมสุขภาพที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มเป้าหมาย สอดคล้องกับความต้องการและปัญหาของพื้นที่ โดยมุ่งเน้นเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเสมอภาคทางสังคม แผนฯ เล็งเห็นความสำคัญที่จะผลักดันให้กลุ่ม บุคคล องค์กร ที่มีศักยภาพและความคิดสร้างสรรค์ ได้รับการยกระดับขีดความสามารถในการพัฒนารูปแบบการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสนับสนุนงานสร้างเสริมสุขภาพ
บริหารจัดการโครงการฯ โดยหน่วยร่วมในนาม “SYNHUB Digi-Tech Community” ศูนย์บ่มเพาะ Tech Startupและผลักดันผู้ประกอบการออกสู่ตลาดได้จริงและยั่งยืนโดยเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไป ทุกเพศ ทุกวัย ที่มีไอเดียในการสร้างสรรค์เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสร้างเสริมสุขภาพตอบโจทย์ประชาชน 3 กลุ่ม ได้แก่ 1. เด็กเยาวชน 2. ผู้สูงอายุ 3. กลุ่มเปราะบาง โดยโครงการฯ ได้ผ่านกระบวนการการรับสมัคร คัดเลือก (Pitching) จนได้นักพัฒนา Tech Startup ทั้งหมด 23 ทีม เพื่อไปพัฒนาศักยภาพในหลักสูตร X-Shape Skill ทักษะรู้ลึกและรู้กว้างในด้าน Healthy, Technology, Business และ Design อบรมโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์ และได้นำความรู้ ทั้งหมดไปสร้างเทคโนโลยีต้นแบบเพื่อนำไปทดสอบกับกลุ่มเป้าหมายจริง และนำข้อมูลมาปรับปรุงผลงานต้นแบบ เพื่อนำไปแสดงนิทรรศการให้ประชาชนทั่วไปได้ชม และเป็นแรงบัลดาลใจ รวมถึงเป็นความรู้
เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างเทคโนโลยีเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ (HealthTech)และหล่งข้อมูลในการนำไปช่วยพัฒนาผลงานต้นแบบให้สามารถต่อยอด ขยายผลในเชิงสังคมและเชิงพาณิชย์ขยายไปยังกลุ่ม เด็กเยาวชนผู้สูงอายุ และกลุ่มเปราะบาง ในวงกว้างมากยิ่งขึ้นต่อไป
โดยในปีนี้ต้องการมุ่งเน้นการพัฒนาผลงานเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับประชากรกลุ่มเปราะบาง ได้แก่ กลุ่มเด็กเยาวชน กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มเปราะบาง ให้มีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เนื่องจากเล็งเห็นว่าเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบรุนแรงจากปัญหาเศรษฐกิจ สังคม รวมถึงโรคอุบัติใหม่ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันจึงดำเนินการจัดหาผู้ที่มีประสบการณ์ และมีศักยภาพ ให้มาดำเนินการค้นหาและพัฒนารูปแบบการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพที่สามารถสร้างผลลัพธ์ทางสุขภาพให้กับกลุ่มเปราะบางที่วัดผลได้จริง สามารถผลิตซ้ำและนำไปกระจายเพื่อขยายผลการใช้งานและเกิดประโยชน์ต่อได้ รวมถึงการเชื่อมโยงเครือข่ายการทำงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพด้วย “HealthTech X สุขล้ำ ไม่เหลื่อมล้ำ”
หัวข้อ : | กิจกกรม Ignite Innovation & X-Healthy & Think of Pain Point |
วิทยากร : | ผศ.ดร.กรวิทย์ ไชยสุ ผู้อำนวยการศูนย์ที่ปรึกษาและพัฒนาอาชีพนักศึกษาคณะเกษตรนวัตและการจัดการ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
ดร.วรชาติ เฉิดชมจันทร์ กรรมการบริหารแผนคณะที่ 6 และผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ |
วัตถุประสงค์ : | X -Innovators ทั้ง 25 ทีม, ที่ปรึกษาโครงการฯ และ X – Mentors ได้รู้จักซึ่งกันและกันละลายพฤติกรรมหลอมรวมเป็นหนึ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน พร้อมการวางแผนในการสร้างผลงาน ที่มีศักยภาพในอนาคต และทำความเข้าใจ Pain Point เรื่องสุขภาพของ 3 กลุ่มเปราะบางเพื่อวางแผนงานในการสร้างนวัตกรรม HealthTech |
รายละเอียด : | เพื่อทำความเข้าใจ Pain Point เรื่องสุขภาพของ 3 กลุ่มเปราะบางเพื่อวางแผนงานในการสร้างนวัตกรรม HealthTec |
หัวข้อ : | Upskill & Reskill ความเป็นผู้นำแบบตัว X จุดระเบิดไอเดียด้านอินโนเวชั่น |
วิทยากร : | คุณธีรศักดิ์ วงศ์ปิยะ ที่ปรึกษาโครงการฯ ด้านนวัตกรรม/ ที่ปรึกษาอาวุโสบริษัท Bold Group Thailand ประสบการณ์ Corporate Innovation มากกว่า 17 ปี |
วัตถุประสงค์ : | พัฒนาทักษะเดิมเพิ่มเติมทักษะใหม่ ดึงความสามารถพิเศษของแต่ละคนออกมา พัฒนาศักยภาพรอบด้านแบบขีดสุดด้วย Mission X-Shaped Skill Mission X – Mindset, Mission X – Design & Innovation Thinking |
รายละเอียด : | เพื่อสามารถนำไปสู่การหาผลลัพธ์ และนำไปใช้ในงานต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมกับ Workshop “ Spark Up Creative Thinking Card ” การ์ดฝึกกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ ที่พัฒนาโดยคนไทย คุณธีรศักดิ์ วงศ์ปิยะ ที่ปรึกษาโครงการฯ ด้านนวัตกรรม ที่ปรึกษาอาวุโสบริษัท Bold Group Thailand ประสบการณ์ Corporate Innovation มากกว่า 17 |
หัวข้อ : | Business Strategy |
วิทยากร : | 1. คุณกฤตยศ กิจส่งเสริมธน Digital Strategy Director, Idealicious Co.,Ltd. ที่ปรึกษาโครงการฯ ด้านสื่อสารแบรนด์และกลยุทธ์การตลาด 2. คุณกิตติภพ มาเปี่ยม Marketing Director DLHC Holding Company ที่ปรึกษาโครงการฯ ด้านสื่อสารแบรนด์และกลยุทธ์การตลาด 3. คุณมาตัส ลิ้มนนทกุล CEO & CMO Swipe / Little Bean Soft / 63 Build Cybertech X – Mentor ด้านวิเคราะห์การตลาด |
วัตถุประสงค์ : | ได้เรียนรู้ถึงขั้นตอนในการสร้างแผนการตลาด ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ มุ่งเน้นการสร้างกลยุทธ์ที่สร้างสรรค์แตกต่าง และสามารถนำไปปรับใช้ยังกลุ่มเป้าหมายได้จริง รวมไปถึงการปรับแผนเพื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว |
รายละเอียด : |
ถูกแบ่งเป็น 2 Group ในการสอน เพื่อง่ายในการเสนอเนื้อหา กลุ่มเป้าหมาย ผู้สูงอายุ 10 ทีมและกลุ่มเปราะบาง เด็กและเยาวชน 15 ทีม
|
หัวข้อ : | กิจกรรม Mission X – Technology Disruption |
วิทยากร : | 1. ดร. มนต์ศักดิ์ โซ่เจริญธรรม ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมและธรรมาภิบาลข้อมูล ผู้บริหารข้อมูลระดับสูง (CDO) /เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO) สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) 2. นายนิติ เมฆหมอก นายกสมาคมไทยไอโอที CEO Synergy Technology Co., Ltd. / ที่ปรึกษาโครการฯ ด้านเทคโนโลยี 3. ดร.สุรชัย ทองแก้ว หัวหน้าสาขาเทคโนโลยีฯ มหาวิทยาลัยศรีปทุม / ที่ปรึกษาโครงการฯ ด้านIOT |
วัตถุประสงค์ : | เรียนรู้ศึกษาเกี่ยวกับ ” Technology Disruption ” (IOT, AI, 5G, AR, VR, MR) นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีที่ สร้างตลาด และมูลค่าให้กับตัวผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยี และส่งผลกระทบอย่างรุนแรง ต่อตลาดของผลิตภัณฑ์เดิม |
รายละเอียด : | ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพเพิ่มคุณภาพของสินค้าหรือลดต้นทุนกระบวนการผลิตแบบเดิมๆ ไขทุกข้อสงสัยด้านเทคโนโลยี ให้กับเหล่า X – Innovators บอกเลยว่าหากเข้าร่วมในกิจกรรมนี้แล้วคุณจะสามารถนำไปปรับใช้ได้ในนวัตกรรม ผลงานของทีมได้อย่างมาก |
หัวข้อ : | Business Strategy |
วิทยากร : | 1. นางสาวรัศมี สืบชมภู CEO Synergy Innovation Co., Ltd. หัวหน้าโครงการ HealthTech X / ที่ปรึกษาโครงการฯ ด้าน Business Strategy 2. นายนิติ เมฆหมอก นายกสมาคมไทยไอโอที CEO Synergy Technology Co., Ltd. / ที่ปรึกษาโครการฯ ด้านเทคโนโลยี 3. คุณกฤตยศ กิจส่งเสริมธน Digital Strategy Director, Idealicious Co.,Ltd. ที่ปรึกษาโครงการฯ ด้านสื่อสารแบรนด์และกลยุทธ์การตลาด 4. คุณกิตติภพ มาเปี่ยม Marketing Director DLHC Holding Company ที่ปรึกษาโครงการฯ ด้านสื่อสารแบรนด์และกลยุทธ์การตลาด 5. คุณมาตัส ลิ้มนนทกุล CEO & CMO Swipe / Little Bean Soft / 63 Build Cybertech X – Mentor ด้านวิเคราะห์การตลาด |
วัตถุประสงค์ : | คลาสนี้ทุกทีมจะได้ทดลองเขียนแผนธุรกิจจริงๆ โดยวิทยากรทั้งหมดจะคอยให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิดทุกทีม ได้เรียนรู้ถึงขั้นตอนในการสร้างแผนการตลาด ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ |
รายละเอียด : | มุ่งเน้นการสร้างกลยุทธ์ที่สร้างสรรค์แตกต่าง การปรับแผนเพื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และการวัดประเมินผลทางการตลาดเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงแผนเพื่อพัฒนาในครั้งต่อไป |
หัวข้อ : | How to X10 Your Innovation On Social Media สูตรลับเร่งการเติบโต X10 ให้แก่ธุรกิจ |
วิทยากร : | 1. คุณทิป มัณฑิตา จินดา CEO & Founder of Digital Tips Academy 2. นายนิติ เมฆหมอก นายกสมาคมไทยไอโอที CEO Synergy Technology Co., Ltd. / ที่ปรึกษาโครการฯ ด้านเทคโนโลยี 3. นางสาวรัศมี สืบชมภู CEO Synergy Innovation Co., Ltd. หัวหน้าโครงการ HealthTech X / ที่ปรึกษาโครงการฯ ด้าน Business Strategy 4. คุณเมธา จารัตนากร CEO CIP Value Co., Ltd. / X – Mentor ด้านเทคโนโลยี 5. ดร. มนต์ศักดิ์ โซ่เจริญธรรม ที่ปรึกษาเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO) สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (สพร.) / ผู้บริหารข้อมูลระดับสูง (CDO) สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (สพร.) / ผู้อำนวยการฝ่ายดาตาโซลูชั่น สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (สพร.) |
วัตถุประสงค์ : | เพื่อให้นวัตกรเหล่า X-Innovators ได้รู้จักและเรียนรู้เทรนด์ดิจิทัลในปัจจุบันและนำไปปรับใช้ในนวัตกรรมของตนเองแนว ทางการนำ Digital Platform มาสร้างแผน Digital Marketing ให้กับผลงานและยังสร้าง การประชาสัมพันธ์ผลงานและ ให้ความรู้กับกลุ่มเป้าหมาย และประชาชนทั่วไปได้รู้จักในวงกว้างและ Certification & PDPA มัดรวมทุกเรื่อง ที่คนทำธุรกิจ |
รายละเอียด : | สตาร์ทอัพต้องรู้นวัตกรแต่ละทีมสามารถใช้แฟนเพจให้ความรู้ โปรโมทผลงาน และสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมี ประสิทธิภาพ / มียอด ติดตามเพจไม่ตำกว่า 1K หลังจบโครงการฯ และสร้างผลงาน HealthTech แล้วสามารถขอ Standard และ Certificate ได้ผ่าน / PDPA สามารถใช้ข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่มีผลกระทบต่อโครงการฯ |
หัวข้อ : | ” สุดยอดเคล็ดลับ Upskill & Reskill Pitching อย่างไร ให้โดนใจ VC? |
วิทยากร : | ผศ.ดร.กรวิทย์ ไชยสุ ผู้อำนวยการศูนย์ที่ปรึกษาและพัฒนาอาชีพนักศึกษา คณะเกษตรนวัตและการจัดการ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ |
วัตถุประสงค์ : | เพื่อทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจการนำเสนอในรูปแบบ Pitching ที่โดนใจผู้ฟัง สามารถนำไปประยุกต์ใช้ กับการนำ เสนองานของตัวเองได้ทันที เพื่อทำให้ผู้เรียนมีเทคนิคการสร้างเรื่องเล่าสำหรับการนำเสนอผลงาน (Storytelling for Pitching) กับ Solution ของตัวเองให้กับลูกค้าได้ทันที |
รายละเอียด : | การเรียนรู้และเข้าใจการนำเสนอแบบ Pitching, การสร้างเทคนิคการนำเสนอให้โดนใจของตัวเอง, การพัฒนาการเล่าเรื่อง ให้โดนใจสร้างความน่าสนใจ และการสร้างเรื่องเล่าสำหรับการนำเสนอโครงการ (Pitching for Project) |
จาก 23 Ideas สู่ 23 ผลงานนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ของเหล่า X-Innovators 23 Teams
ประเภทเทคโนโลยีดิจิทัล Appilcation
ประเภทเทคโนโลยีดิจิทัล : | Web Application + Al |
ชื่อนวัตกรรม / นวัตกรรม : | Dr.ASA / Dr.ASA Health and Wellness Platform หมอประจำตัวในการวางแผนดูแลสุขภาพ |
กลุ่มเป้าหมาย : แรงบันดาลใจผลงาน : | ผู้สูงอายุ DRASA เริ่มต้นมาจากการรวมตัวของหมอรุ่นใหม่ที่อยากนำเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาการดูแลสุขภาพของคนไทยโดยการนำ AI เข้ามาช่วยวิเคราะห์สุขภาพของผู้ใช้งานจากผลเลือดเพื่อทำให้เกิดความเข้าใจในสุขภาพของตนเองรวมไปถึงการวางแผนดูแลสุขภาพที่ถูกต้องระดับรายบุคคลเปรียบเสมือนมีหมอเป็นเพื่อนอยู่ข้างกาย |
เป้าหมายของนวัตกรรม : | เราอยากให้คนไทยมีสุขภาพที่ดีขึ้น เข้าถึงการดูแลสุขภาพที่ดีได้อย่างเท่าเทียม เพิ่มศักยภาพในการดูแลสุขภาพให้กับสถานพยาบาล โดยผู้ใช้งานสามารถเข้าใจสุขภาพตัวเองได้ง่ายๆ และวางแผนการดูแลสุขภาพเสมือน มีหมอประจำตัว เพื่อช่วยป้องกันโรคในอนาคต |
ผลลัพธ์และประสิทธิภาพ | ได้ Web Application ต้นแบบในการให้คำปรึกษาสำหรับผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปภายใต้ชื่อแบรนด์ “Dr.ASA “ |
ของนวัตกรรม : | ผ่านระบบ AI โดยช่วยวิเคราะห์สุขภาพของผู้ใช้งานจากผลเลือด เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจในสุขภาพของตนเองรวมไปถึงการวางแผนดูแลสุขภาพที่ถูกต้องในระดับรายบุคคล |
สมาชิกทีม (ซ้าย – ขวา) : | 1. นายธนกร ยนต์นิยม 2. นางสาวณัฐรวี งามประเสริฐสิทธิ์ 3. นางสาวดารริน พรสุภัทร 4. นายณัฐนันท์ ภู่กาญน์ 5. นายธรรมับดี วิเศษประสิทธิ์ |
Mentor ประจำทีม : | นายวีรเดช ขุมทอง |
ผู้ประสานงาน : | นางสาวประกายฉัตร ฤทธาภัย |
ช่องทางการติดต่อ : | 098-9795-531 / [email protected] |
ประเภทเทคโนโลยีดิจิทัล : | Application |
ชื่อนวัตกรรม / นวัตกรรม : | Boxivity / Application และ Art Box เพื่อเสริมสร้างสมาธิช่วยป้องกันเด็กสมาธิสั้น |
กลุ่มเป้าหมาย : แรงบันดาลใจผลงาน : | เด็กและเยาวชน ปัจจุบันการรักษาเด็กสมาธิสั้นต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างแพทย์ พ่อแม่ และครู แต่อย่างไรก็ตาม บุคลากรทางการแพทย์มีจำนวนไม่เพียงพอต่อการรับบริการเราจึงออกแบบกิจกรรมสร้างสรรค์ ที่จะสามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการสมาธิและสามารถช่วยให้เด็กๆใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติเพิ่มมากขึ้น |
เป้าหมายของนวัตกรรม : | ภายใน 3 ปี เราจะเป็นผู้นำกล่องกิจกรรมเสริมสมาธิเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของ เด็กสมาธิสั้นในตลาดอาเซียน |
ผลลัพธ์และประสิทธิภาพของนวัตกรรม : | ได้ Application พร้อมอุปกรณ์ Art Box ต้นแบบ ภายใต้ชื่อแบรนด์ “ Boxivity ”สำหรับเสริมสร้างสมาธิ ช่วยป้องกันสภาวะสมาธิสั้นในกลุ่มเด็กและเยาวชนทั้งในและต่างประเทศ |
สมาชิกทีม (ซ้าย – ขวา) : | 1. ดร.จิรพล จิรไกศิริ 2. นางสาวสุพิชฌาย์ คำปัญญา 3. นายกิตติคุณ หมู่พยัคฆ์ |
Mentor ประจำทีม : | นายรัตนากร ตั้งพุทธรักษ์ |
ผู้ประสานงาน : | นางสาวพิญญานันท์ พิริยธนรัชต์ |
ช่องทางการติดต่อ : | 098-492-8298 / [email protected] |
ประเภทเทคโนโลยีดิจิทัล : | Application |
ชื่อนวัตกรรม / นวัตกรรม : | Giadina / Application ช่วยพัฒนาสุขภาพจิตเด็กเยาวชนให้ดีขึ้น |
กลุ่มเป้าหมาย : แรงบันดาลใจผลงาน : | เด็กและเยาวชน Giadina เกิดขึ้นมาจาก passion ของ Founders ที่อยากช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตของคนไทยให้ดียิ่งขึ้น |
เป้าหมายของนวัตกรรม : | Mission ของเราคือการเป็น Platform ส่งเสริมสุขภาพจิตให้คนไทยได้อย่างทั่วถึง |
ผลลัพธ์และประสิทธิภาพของนวัตกรรม : | ได้ Application และ Platform ต้นแบบที่ช่วยพัฒนาสุขภาพจิตสำหรับเด็กและเยาวชนภายใต้ชื่อแบรนด์“ Giadina ” ที่ช่วยลดภาวะเครียดและพัฒนาสุขภาวะจิตได้จริงมากกว่า 70% ภายใน 2 สัปดาห์ |
สมาชิกทีม (ซ้าย – ขวา) : | 1. นางสาวจาด้า โบเนตโต้ 2. นายณัสป์ธงชัย ศิริโภคพัฒน์ 3. นายณธรรศ พนิตพงศ์พันธุ์ |
Mentor ประจำทีม : | นายมาตัส ลิ้มนนทกุล |
ผู้ประสานงาน : | นางสาวพิญญานันท์ พิริยธนรัชต์ |
ช่องทางการติดต่อ : | 061-1726-751 / [email protected] |
ประเภทเทคโนโลยีดิจิทัล : | Application |
ชื่อนวัตกรรม / นวัตกรรม : | Health Monitoring / Application วิเคราะห์ปัญหาด้านสุขภาพพร้อมประมวลผลวิธีป้องกันโรคสำหรับผู้สูงอายุ |
กลุ่มเป้าหมาย : แรงบันดาลใจผลงาน : | ผู้สูงอายุ เนื่องจากทุกวันนี้มีข่าวต่างๆเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุช่วยเหลือตัวเองไม่ได้อยู่บ้านเพียงลำพังมีความเสี่ยง ที่จะมีสุขภาพที่แย่ลง หรือเข้าถึงการรักษาไม่ทันท่วงทีรวมถึงกลุ่มที่มีสุขภาพดีดูแลตัวเองได้ จึงเกิดแนวคิดว่า เราสามารถออกแบบและพัฒนา Solution เพื่อช่วยส่งเสริมให้ผู้สูงอายุแต่ละกลุ่มมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น พัฒนาระบบ Monitoring ข้อมูลสุขภาพ และมีผู้เชี่ยวชาญดูแลใกล้ชิด พร้อมให้คำแนะนำในการใช้ชีวิตได้ |
เป้าหมายของนวัตกรรม : | เพื่อต่อยอดในการพัฒนาเป็นระบบ AI วิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลได้ในอนาคต และทำเป็น Community ของผู้สูงอายุ (Aging Society) เพื่อช่วยในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุหันมาดูแลสุขภาพกันมากขึ้น |
ผลลัพธ์และประสิทธิภาพของนวัตกรรม : | ได้เครื่องมือ และ Application ต้นแบบภายใต้ชื่อแบรนด์ “ Health Monitoring ” ในการวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพพร้อม ประมวลผลและวิธีป้องกันโรคสำหรับผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปผ่านระบบ AI วิเคราะห์และประมวลผลได้ในอนาคตและทำ เป็น Community ของผู้สูงอายุ (Aging Society) เพื่อช่วยในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุดูแลสุขภาพที่ดีขึ้น |
สมาชิกทีม (ซ้าย – ขวา) : | 1. นายศิระวิทย์ รัตนภักดี 2. นางสาวทิพวรรณ ระพือพล 3. นางสาวรัฐภา อริยะอุดมกิจ 4. นายภูริพันธ์ ติ๊บเมืองมา |
Mentor ประจำทีม : | นายรัตนากร ตั้งพุทธรักษ์ |
ผู้ประสานงาน : | นางสาวพิญญานันท์ พิริยธนรัชต์ |
ช่องทางการติดต่อ : | 083-5676-669 / [email protected] |
ประเภทเทคโนโลยีดิจิทัล : | Web-Application |
ชื่อนวัตกรรม / นวัตกรรม : | Personal Nurse Platform / ระบบให้บริการดูแลสุขภาพส่วนบุคคล (Personal Nurse Care Solution) LINE OA |
กลุ่มเป้าหมาย : แรงบันดาลใจผลงาน : | ผู้สูงอายุ เพราะเชื่อว่าชีวิตของคนทุกคนมีคุณค่าเท่ากัน เราจึงอยากเห็นคนทุกคนเข้าถึง บริการดูแลสุขภาพโดยพยาบาลวิชาชีพแม้อยู่ที่บ้านได้อย่างเท่าเทียมไร้ข้อจำกัด เรื่องความแตกต่างทางด้านเศรษฐานะของแต่ละบุคคล |
เป้าหมายของนวัตกรรม : | คนไทยทุกคนได้มีพยาบาลออนไลน์ส่วนตัว สามารถปรึกษาได้ตลอด 24 ชม. |
ผลลัพธ์และประสิทธิภาพของนวัตกรรม : | ได้ Web Application ต้นแบบโดยมีระบบให้บริการดูแลส่วนบุคคล ผ่าน Line OA ภายใต้ชื่อ ผลงาน “ Personal Nurse Platform ” ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ ในการรับบริการดูแลสุขภาพ โดยพยาบาลวิชาชีพอยู่ที่บ้านได้อย่างเท่าเทียมไร้ข้อจำกัด ตลอด 24 ชม. |
สมาชิกทีม (ซ้าย – ขวา) : | 1. นางสาวชลลดา แซ่ลิ่ม 2. นางสาวธนชาพร เตชะสร้อยวริจฐ์ 3. นายบัณฑิตา พรหมรักษา |
Mentor ประจำทีม : | รศ.ดร.ปัณรสี ฤทธิประวัติ |
ผู้ประสานงาน : | นางสาวพิญญานันท์ พิริยธนรัชต์ |
ช่องทางการติดต่อ : | 088-269-0499 / [email protected] |
ประเภทเทคโนโลยีดิจิทัล : | Application |
ชื่อนวัตกรรม / นวัตกรรม : | Nous คือแอปพลิเคชันป้องกันและส่งเสริมสุขภาพจิตสร้างประสบการณ์ที่สนุก และง่ายต่อการฝึกฝนครบจบในแอปเดียว |
กลุ่มเป้าหมาย : แรงบันดาลใจผลงาน : | เด็กและเยาวชน กลุ่มผู้มีความเสี่ยงโรคทางจิตเวชเพิ่มสูงขึ้นทุกปี โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนไทยที่ยังขาดเกราะป้องกันและทักษะ เพื่อรับมือปัญหาด้านจิตใจที่เพียงพอ ในขณะที่บุคลากรทางด้านสุขภาพจิตยังขาดแคลนทีม Nous (นูซ) จึงตั้งใจที่จะเติมเต็มช่องว่างและลดความเสี่ยงดังกล่าว ด้วยแอปพลิเคชันที่เข้าถึงง่ายและน่าใช้งาน |
เป้าหมายของนวัตกรรม : | ส่งเสริมสุขภาพจิตแก่กลุ่มเด็กและเยาวชน ทั้งในไทยและต่างประเทศ ในฐานะสตาร์ทอัพเพื่อสังคมที่ยั่งยืน ด้วยนวัตกรรมตามหลักวิทยาศาสตร์และความร่วมมือกับองค์กรในทุกระดับชั้น สร้างโอกาสเข้าถึงบริการ แก่ผู้ที่ต้องการได้ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ และมีส่วนช่วยลดอัตราการเกิดโรคทางจิตเวชลงได้ในที่สุด |
ผลลัพธ์และประสิทธิภาพของนวัตกรรม : | ได้ Application ต้นแบบ ที่ช่วยป้องกันและส่งเสริมสุขภาพจิต สร้างประสบการณ์ที่สนุกและง่ายต่อการฝึกฝนสำหรับเด็ก และเยาวชน ภายใต้ชื่อแบรนด์ “ Nous ” ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างโอกาสการเข้าถึงของบริการแก่ผู้ที่ต้องการได้ครอบคลุม และมีประสิทธิภาพ ลดอัตราการเกิดโรคทางจิตเวช |
สมาชิกทีม (ซ้าย – ขวา) : | 1. นายพชรดนัย เกี้ยวสกุล 2. นายพีรวัส เตียวเจริญ 3. นายภานุวัฒน์ อาสาสะนา |
Mentor ประจำทีม : | ผศ.ดร.ณรงค์เดช กีรติพรานนท์ |
ผู้ประสานงาน : | นางสาวเบ็ญจภรณ์ งิ้วเรือง |
ช่องทางการติดต่อ : | 085-8181-555 / [email protected] |
ประเภทเทคโนโลยีดิจิทัล : | Application |
ชื่อนวัตกรรม / นวัตกรรม : | Carish / Application ที่ช่วยให้สามารถติดตามอาการกลุ่มเสี่ยง โรคเรื้อรังและการปรับพฤติกรรม |
กลุ่มเป้าหมาย : แรงบันดาลใจผลงาน : | ผู้สูงอายุ พวกเรามีความต้องการที่จะผลักดันให้แพทย์แผนไทยและสมุนไพรไทยที่มีศักยภาพมากมาย ได้ไประดับโลก และอยากที่จะช่วยเหลือให้คุณภาพชีวิตของคนไทยดียิ่งขึ้นด้วยการเข้าถึง การรักษาที่ง่ายกว่าเดิม |
เป้าหมายของนวัตกรรม : | Application ของเราสามารถช่วยให้กลุ่มเป้าหมายสามารถปรับพฤติกรรมทางสุขภาพ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้สุขภาพของคนไทยดีขึ้นและนำแพทย์แผนไทยและสมุนไพรไทยไประดับโลก |
ผลลัพธ์และประสิทธิภาพของนวัตกรรม : | ได้ Application ต้นแบบ ที่ช่วยให้ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่อาจจะเกิดโรคเรื้อรัง สามารถปรับพฤติกรรมในการ ดูแลสุขภาพ ภายใต้ชื่อแบรนด์ “ Carish ” ที่นำองค์ความรู้ของแพทย์แผนไทยและสมุนไพรไทยที่มีศักยภาพ มอบให้กลุ่มเป้าหมาย ทั้งในและต่างประเทศ |
สมาชิกทีม (ซ้าย – ขวา) : | 1. นางสาวมณฑกานต์ โฆษะวิสุทธิ์ 2. นางสาวมนัสนันท์ คงเกิดลาภ 3. นางสาวปัณชญา กิตติรัตนวิวัฒน์ |
Mentor ประจำทีม : | นายเมธา จารัตนากร |
ผู้ประสานงาน : | นางสาวเบ็ญจภรณ์ งิ้วเรือง |
ช่องทางการติดต่อ : | 086-310-8914 / [email protected] |
ประเภทเทคโนโลยีดิจิทัล : | Application |
ชื่อนวัตกรรม / นวัตกรรม : | Scool! / Application คัดกรองผู้มีปัญหาเรื่องภาวะซึมเศร้าสำหรับเด็กและเยาวชน |
กลุ่มเป้าหมาย : แรงบันดาลใจผลงาน : | เด็กและเยาวชน ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก พบว่า ในประชากรวัยรุ่น อายุระหว่าง 10-19 ปี ปัญหาสุขภาพจิตคิดเป็น 16% ของปัญหาสุขภาพทั้งหมดโดยกว่าครึ่งของผู้มีปัญหาสุขภาพจิตเริ่มมีปัญหาตั้งแต่อายุ 14 ปี แต่ไม่เคยได้รับ การตรวจหรือบำบัดรักษา ทั้งนี้พบว่าในวัยรุ่นปัญหาสุขภาพจิตเป็นตัวการสร้างความเจ็บป่วยทุพพลภาพและ การฆ่าตัวตายจัดเป็นสาเหตุลำดับ 3 ของการเสียชีวิตของประชากรวัย 15-19 ปี นอกจากนี้ จากจำนวนประชากรวัยรุ่นทั่วโลกที่ 90% อาศัยในประเทศรายได้ขั้นกลางและขั้นต่ำจำนวนการฆ่าตัวตาย ในวัยรุ่นกว่า 90% เกิดในประเทศเหล่านี้ |
เป้าหมายของนวัตกรรม : | ทุกโรงเรียน มีสวัสดิการด้านการดูแลสุขภาพจิต เทียบเท่ากับประกันสุขภาพกาย เพราะวัยมัธยมคือช่วงเวลา หัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญก่อนจะก้าวเข้าสู่ชีวิตในมหาวิทยาลัย |
ผลลัพธ์และประสิทธิภาพของนวัตกรรม : | ได้ Application ต้นแบบ ที่ช่วยคัดกรองผู้มีปัญหาด้านสภาวะโรคซึมเศร้าสำหรับเด็กและเยาวชน ภายใต้ชื่อแบรนด์ “ Scool! ” ซึ่งประกอบไปด้วยแบบประเมินสภาวะจิตสำหรับเด็กและเยาวชน ในรูปแบบที่เข้าใจได้ง่ายและตรงกลุ่ม เป้าหมายโดยเฉพาะ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 – 6 |
สมาชิกทีม (ซ้าย – ขวา) : | 1. นายยศกร เจียมกิตศิริกุล 2. นายกฤษฎิ์ เฟื่องฟู 3. นายภัทรวุฒิ เตชะเทวัญ |
Mentor ประจำทีม : | นายอานนท์ ทองเต็ม |
ผู้ประสานงาน : | นางสาวประกายฉัตร ฤทธาภัย |
ช่องทางการติดต่อ : |
081-8337-799 / [email protected] |
ประเภทเทคโนโลยีดิจิทัล : | Application |
ชื่อนวัตกรรม / นวัตกรรม : | Whale-ness Application / Application ช่วยเก็บข้อมูลสุขภาพช่วยวิเคราะห์ความเสี่ยงในการเกิดโรค และให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพ |
กลุ่มเป้าหมาย : แรงบันดาลใจผลงาน : | ผู้สูงอายุ ในแต่ละปี จะมีผู้เสียชีวิตจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือ NCDs มากกว่า 41 ล้านคนทั่วโลก ซึ่งผู้ป่วยในกลุ่มโรค NCDs เหล่านี้ มักจะรู้ว่าตนเองป่วยเมื่อโรคเข้าสู่ระยะรุนแรงแล้ว เราจึงอยากสร้างเครื่องมือที่จะช่วยให้ทุกคนเข้าใจ และรู้ทันสุขภาพของตนเองได้ง่ายขึ้น เพื่อที่จะลดความเสี่ยงของการตกเป็นเหยื่อของโรคเหล่านี้ |
เป้าหมายของนวัตกรรม : | คือการช่วยให้ทุกคนเข้าใจ และรู้ทันสภาวะสุขภาพของตนเองและให้คำแนะนำในเชิง Preventive Healthcare ตามสภาวะสุขภาพของแต่ละบุคคลเพื่อให้พวกเขามีสุขภาพที่ดีขึ้น ในระยะยาว ซึ่งก็จะทำให้เราช่วยลดจำนวนผู้ป่วย และผู้เสียชีวิตจากโรคในกลุ่ม NCDs ให้กับโลกใบนี้ได้ด้วย |
ผลลัพธ์และประสิทธิภาพของนวัตกรรม : | ได้ Application ต้นแบบ ที่ช่วยเก็บข้อมูลด้านสุขภาพ และวิเคราะห์ความเสี่ยงในการเกิดโรครวมถึงการให้ คำปรึกษาในการดูแลสุขภาพ ภายใต้ชื่อผลงาน “ Whale-ness Application ” ที่ทุกคนสามารถเข้าใจและ รู้ทันสภาวะสุขภาพของตนเอง พร้อมทั้งได้รับคำแนะนำในเชิง Preventive Healthcare ตามสภาวะสุขภาพ ของแต่ละบุคคล เพื่อลดจำนวนผู้ป่วย และผู้เสียชีวิตจากโรคในกลุ่ม NCDs |
สมาชิกทีม (ซ้าย – ขวา) : | 1. นายเมธี ครองสัตย์นาย 2. นายธนวัฒน์ เล็กละมุด 3. นายปานเทพ ผิวดำนิล |
Mentor ประจำทีม : | นายมาตัส ลิ้มนนทกุล |
ผู้ประสานงาน : | นางสาวพิญญานันท์ พิริยธนรัชต์ |
ช่องทางการติดต่อ : | 089-0543-016 / [email protected] |
ประเภทเทคโนโลยีดิจิทัล : | Application |
ชื่อนวัตกรรม / นวัตกรรม : | หัวอกเดียวกัน / Application สร้างเสริมสุขภาพกายและจิตให้แข็งแรง สำหรับพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว |
กลุ่มเป้าหมาย : แรงบันดาลใจผลงาน : | กลุ่มเปราะบาง การสร้างพื้นที่เรียนรู้แบบกลุ่มออนไลน์ ที่นอกจากการให้ความรู้ ยังมีเพื่อนคุย ให้กำลังใจและคำแนะนำทำให้รู้สึกไม่โดดเดี่ยว เกิดการเสริมพลังแบบกลุ่มปลุกพลังความเป็นคุณแม่เลี้ยงเดี่ยวสายสตรอง ที่พร้อมจะเรียนรู้และทำทุกอย่างเพื่อลูก |
เป้าหมายของนวัตกรรม : | ผู้ปกครองที่ผ่านการเรียนรู้ในระบบออนไลน์ จำนวน 90 คน มีความสามารถด้านการสื่อสารเชิงบวก กับลูก การจัดการอารมณ์ตนเอง และมีสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว |
ผลลัพธ์และประสิทธิภาพของนวัตกรรม : | ได้ Application ต้นแบบ ในการสร้างเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตให้แข็งแรง สำหรับกลุ่มพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว ภายใต้ชื่อผลงาน ” หัวอกเดียวกัน ” ที่ช่วยผู้ปกครองที่ผ่านการเรียนรู้ในระบบออนไลน์มากถึง90 คน มีผลตอบรับด้านการสื่อสารเชิงบวกกับลูกและจัดการอารมณ์ตนเองและมีสัมพันธ์ที่ดีขึ้นในครอบครัวอย่างเห็นได้ชัด |
สมาชิกทีม (ซ้าย – ขวา) : | 1. นายวรชัย ญาติอยู่ 2. นางสาวดวงพร สิงห์สถิตย์ 3. นายสุรเสกข์ ยุทธิวัฒน์ |
Mentor ประจำทีม : | ผศ.ดร.ณรงค์เดช กีรติพรานนท์ |
ผู้ประสานงาน : | นางสาวเบ็ญจภรณ์ งั้วเรือง |
ช่องทางการติดต่อ : | 063-5924-450 / [email protected] |
จาก 23 Ideas สู่ 23 ผลงานนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ของเหล่า X-Innovators 23 Teams
ประเภทเทคโนโลยีดิจิทัล AI
ประเภทเทคโนโลยีดิจิทัล : | AI |
ชื่อนวัตกรรม / นวัตกรรม : | Home Sleep Test Type 3 / เครื่องตรวจการนอนหลับอัจฉริยะสำหรับเด็กเยาวชนอ่านผลด้วย AI สำหรับเด็ก |
กลุ่มเป้าหมาย : แรงบันดาลใจผลงาน : | เด็กและเยาวชน ประเทศไทยมีประชากรที่เป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับมากกว่า 5 ล้านคน ซึ่งในกลุ่มนี้มีเยาวชนรวมอยู่ด้วย ซึ่งการตรวจหาความผิดปกติดังกล่าวมีค่าใช้จ่ายที่สูง คนส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงบริการนี้ได้ ทำให้บริษัท เบรน ไดนามิกส์ เทคโนโลยี จำกัด มุ่งมั่นที่จะพัฒนาอุปกรณ์ตรวจการนอนหลับที่ทุกคน สามารถเข้าถึงได้ |
เป้าหมายของนวัตกรรม : | อุปกรณ์ตรวจการนอนหลับระดับ 3 ที่ได้มาตรฐาน มีความปลอดภัย ราคาถูก ผู้ใช้บริการที่เป็น กลุ่มเยาวชนสามารถใช้งานได้ด้วยตนเอง และอ่านผลตรวจการนอนโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI
|
ผลลัพธ์และประสิทธิภาพของนวัตกรรม : | ได้เครื่องตรวจการนอนหลับอัจฉริยะต้นแบบพร้อม Application สำหรับเด็กและเยาวชนผ่านการประมวล ผลด้วยระบบ AI ภายใต้ชื่อผลงาน “ AI Home Sleep Test Type 3 ” อุปกรณ์ตรวจการนอนหลับระดับ 3 ที่ได้มาตรฐาน สามารถตรวจสอบการนอนหลับได้อย่างแม่นยำมีความปลอดภัยสูง และราคาถูก ลดความเหลื่อมล้ำด้านการเข้าถึงอุปกรณ์และสุขภาพการนอนหลับ |
สมาชิกทีม (ซ้าย – ขวา) : | 1. นายพิษณุ ชมภู่ทอง 2. นางสาวปรียากร เพชรรัตน์ 3. นายณพสิทธิ์ พิพิธพัฒนาปราปต์ |
Mentor ประจำทีม : | นายอานนท์ ทองเต็ม |
ผู้ประสานงาน : | นางสาวประกายฉัตร ฤทธาภัย |
ช่องทางการติดต่อ : | 099-2292-635 / [email protected] |
ประเภทเทคโนโลยีดิจิทัล : | AI |
ชื่อนวัตกรรม / นวัตกรรม : | Depression Detection AI / Application ปรึกษาปัญหาภาวะซึมเศร้าอัจฉริยะ สำหรับผู้พิการทางสายตา |
กลุ่มเป้าหมาย : แรงบันดาลใจผลงาน : | กลุ่มเปราะบาง คนไทยกว่า 1.5 ล้านคนเจ็บปวดจากสภาวะซึมเศร้าโดยเฉพาะคนพิการที่มีความเสี่ยงมากกว่าคน ปกติถึง 2 – 10 เท่าและมีความลำบากในการเดินทางไปโรงพยาบาลเพื่อติดตามอาการอย่างสม่ำเสมอ การมีแอปพลิเคชันที่จะช่วยวินิจฉัยและติดตามอาการ เพื่อลดจำนวนครั้งที่จำเป็นต้องเดินทางไป โรงพยาบาลลง โดยที่คนพิการเข้าถึงได้จึงมีความสำคัญอย่างมาก |
เป้าหมายของนวัตกรรม : | ให้คนพิการได้รับการวินิจฉัยและติดตามอาการสภาวะซึมเศร้าได้อย่างต่อเนื่องจากมือถือ |
ผลลัพธ์และประสิทธิภาพของนวัตกรรม : | ได้ Application ต้นแบบ ที่ปรึกษาปัญหาภาวะซึมเศร้าอัจฉริยะ สำหรับกลุ่มเปราะบาง (ผู้พิการทางสายตา) ผ่านระบบ AI อัจฉริยะ ภายใต้ผลงาน “ Depression Detection AI ” ลดความเหลื่อมล้ำของผู้ที่มีปัญหา สภาวะซึมเศร้า สามารถใช้ Application ได้ทุกที ทุกเวลา |
สมาชิกทีม (ซ้าย – ขวา) : | 1. นายธนัท ลัพธวรรณ์ 2. นางสาวธัญชนก จิรภากรณ์ 3. นางสาวอนัญญา เกื้อสกุลรุ่งโรจน์ |
Mentor ประจำทีม : | นายวีรเดช ขุมทอง |
ผู้ประสานงาน : | นางสาวประกายฉัตร ฤทธาภัย |
ช่องทางการติดต่อ : | 081-9948-672 / [email protected] |
ประเภทเทคโนโลยีดิจิทัล : | AI |
ชื่อนวัตกรรม / นวัตกรรม : | CareRider / Application ออกกำลังกายอัจฉริยะสำหรับ Rider |
กลุ่มเป้าหมาย : แรงบันดาลใจผลงาน : | กลุ่มเปราะบาง จากการศึกษาการทำงานของ Rider เราพบว่ามีปัญหาสุขภาพที่คล้าย กับอาการออฟฟิศซินโดรมที่เกิดกับ Rider เราจึงนำ AI Tracking ร่วมกับท่ากายภาพบำบัดทำให้ Rider ทำท่าคลายกล้ามเนื้อได้ทุกที่ |
เป้าหมายของนวัตกรรม : | เรามุ่งมั่นที่จะส่งเสริมสุขภาพของ Rider ด้วยเทคโนโลยีที่เข้ากับวิถีชีวิตของ Rider |
ผลลัพธ์และประสิทธิภาพของนวัตกรรม : | ได้ Application ต้นแบบการออกกำลังกายอัจฉริยะสำหรับกลุ่มเปราะบาง (Rider) ผ่านระบบ AI Tracking ส่งผลให้สามารถทำกายภาพบำบัดให้ Rider คลายกล้ามเนื้อได้ทุกที่ ทุกเวลา ป้องกันการเกิดโรคออฟฟิศซินโดรม และลดความเหลื่อมล้ำด้านประกันสุขภาพรายบุคคล |
สมาชิกทีม (ซ้าย – ขวา) : | 1. นายกิตติพงศ์ สินทร 2. นายพรระติชัย ไวโรจนะพุทธะ 3. นายสุริยะ อินทรเทศ |
Mentor ประจำทีม : | นายเทพชัย ปานเจริญ |
ผู้ประสานงาน : | นางสาวเบ็ญจภรณ์ งิ้วเรือง |
ช่องทางการติดต่อ : | 088-6748-428 / [email protected] |
ประเภทเทคโนโลยีดิจิทัล : | AI |
ชื่อนวัตกรรม / นวัตกรรม : | Automated Digital Care Program / AI โปรแกรมไลน์แชทบอทอัจฉริยะAutomated Digital Care Program |
กลุ่มเป้าหมาย : แรงบันดาลใจผลงาน : | ผู้สูงอายุ อยากช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถปรับพฤติกรรมเพื่อต้านเบาหวานได้ง่าย เหมือนมีคนมาดูแลต่อเนื่อง |
เป้าหมายของนวัตกรรม : | ช่วยลดจำนวนผู้เสี่ยงเป็นเบาหวานจากทุกจังหวัดในประเทศไทย ด้วยโปรแกรมที่เข้าถึงง่ายและมีประสิทธิภาพ |
ผลลัพธ์และประสิทธิภาพของนวัตกรรม : | ได้ Application ต้นแบบโปรแกรมต้านเบาหวานผ่านระบบ AI โปรแกรมไลน์แชทบอทอัจฉริยะ สำหรับผู้สูงอายุ ภายใต้ชื่อแบรนด์ “ Automated Digital Care Program ” ที่ช่วยปรับพฤติกรรม ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน เหมือนมีคุณหมอดูแลอย่างใกล้ชิด ลดความเหลื่อมล้ำการเข้าถึงการรักษาของโรค NCDs ในทุกพื้นที่ท้องถิ่น ของทุกจังหวัด |
สมาชิกทีม (ซ้าย – ขวา) : | 1. นายวสุ วินิจมนตรี 2. นายพีร์สรรค์ ศิริกลการ 3. นางสาวสรญา ตั้งกิจพิทักษ์ผล |
Mentor ประจำทีม : | นายเทพชัย ปานเจริญ |
ผู้ประสานงาน : | นางสาวเบ็ญจภรณ์ งิ้วเรือง |
ช่องทางการติดต่อ : | 098-2525-979 / [email protected] |
ประเภทเทคโนโลยีดิจิทัล : | AI |
ชื่อนวัตกรรม / นวัตกรรม : | Buddy to Go / ไม้เท้าเซ็นเซอร์ตรวจจับสิ่งกีดขวางอัจฉริยะ สำหรับผู้บกพร่องทางการมองเห็น |
กลุ่มเป้าหมาย : แรงบันดาลใจผลงาน : | กลุ่มเปราะบาง ได้รับแรงบันดาลใจจากการได้ลงพื้นที่พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับกลุ่มผู้บกพร่อง ทางการมองเห็นเกี่ยวกับปัญหาในการเดินทาง จึงได้ออกแบบและสร้างนวัตกรรม Buddy to Go ขึ้นมา |
เป้าหมายของนวัตกรรม : | ต้องการให้นวัตกรรมเข้าถึงผู้ใช้จริงพัฒนาต่อไปได้จนตอบโจทย์ต่อผู้บกพร่องทาง การมองเห็นใช้งานในชีวิตจริงได้มากที่สุดและต้องการให้นวัตกรรมถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวาง |
ผลลัพธ์และประสิทธิภาพของนวัตกรรม : | ได้ไม้เท้าเซ็นเซอร์ตรวจจับส่งกีดขวางอัจฉริยะต้นแบบ ภายใต้ชื่อแบรนด์ “ Buddy to Go ” สำหรับกลุ่มเปราะบาง (ผู้พิการทางสายตา) ช่วยในการเดินทาง และดำเนินชีวิตประจำวัน ปลอดภัย ลดการเกิดอุบัติเหตุ และสามารถพึ่งพาตนเองได้ |
สมาชิกทีม (ซ้าย – ขวา) : | 1. นางสาวปิยธิดา อุทัยดา 2. นางสาวปาณิสรา จอดนอก 3. นางสาวณัฏฐณิชา แก่นจันทร์ 4. นางพรรณผกา ใจแก้ว |
Mentor ประจำทีม : | นายอานนท์ ทองเต็ม |
ผู้ประสานงาน : | นางสาวประกายฉัตร ฤทธาภัย |
ช่องทางการติดต่อ : | 090-9790805 / [email protected] |
จาก 23 Ideas สู่ 23 ผลงานนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ของเหล่า X-Innovators 23 Teams
ประเภทเทคโนโลยีดิจิทัล IoTs
ประเภทเทคโนโลยีดิจิทัล : | IoTs |
ชื่อนวัตกรรม / นวัตกรรม : | ผลิตภัณฑ์ช่วยเสริมสร้างสุขภาพอัจฉริยะ / เครื่องวัดสัญญาณชีพอัจฉริยะเฝ้าติดตามสุขภาพ นำไปประมวลในการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง |
กลุ่มเป้าหมาย : แรงบันดาลใจผลงาน : | กลุ่มเปราะบาง เพื่อต้องการให้คนรู้จักการป้องกันการดูแลสุขภาพของตัวเองก่อนที่จะป่วย ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ ในการเข้าถึงการบริการสาธารณสุขขั้นปฐมภูมิของประชาชน และปัญหาบุคลากรทางการแพทย์ ที่มีภาระงานที่หนักจึงพัฒนาระบบที่เข้ามาช่วยเพิ่มความสะดวกและรวดเร็วในการเฝ้าระวังและ ติดตามการรักษาผู้ป่วย |
เป้าหมายของนวัตกรรม : | การเข้าถึงการตรวจสุขภาพได้ง่าย สะดวกสบาย เพื่อการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับทุกคน |
ผลลัพธ์และประสิทธิภาพของนวัตกรรม : | ได้อุปกรณ์เครื่องวัดสัญญาณชีพอัจฉริยะต้นแบบภายใต้ชื่อแบรนด์“ Bederly ” ที่สามารถเฝ้าติดตาม สภาวะสุขภาพผ่านระบบ IoTs และนำไปประมวลผลในการดูแลสุขภาพสำหรับกลุ่มคนเปราะบางให้มีสุขภาพ ที่แข็งแรง ลดระยะเวลาและลดค่าใช้จ่าย ลดความเหลื่อมล้ำในการเดินทางไปถึงสถานบริการสาธารณะสุข ที่ห่างไกล |
สมาชิกทีม (ซ้าย – ขวา) : | 1. นางสาวนารถชนก ศรีโท 2. นายไพศาล สุขจรัส 3. นายธนพล พันสารคาม |
Mentor ประจำทีม : | ดร.ปัณรสี ฤทธิประวัติ |
ผู้ประสานงาน : | นางสาวพิญญานันท์ พิริยธนรัชต์ |
ช่องทางการติดต่อ : | 099-8026-663 / [email protected] |
ประเภทเทคโนโลยีดิจิทัล : | IoTs |
ชื่อนวัตกรรม / นวัตกรรม : | ALEX-X / เครื่องตรวจวัดไร้ฝุ่นสำหรับเด็กและเยาวชนเพื่อป้องกันโรคภูมิแพ้ |
กลุ่มเป้าหมาย : แรงบันดาลใจผลงาน : | เด็กและเยาวชน ตั้งแต่เด็กๆเริ่มจำความได้ชีวิตพวกเราได้รับผลกระทบอย่างมากจากโรคภูมิแพ้ทำให้เราตั้งใจอย่างจริงจัง เพื่อบรรเทาความทุกข์ของคนที่เป็นภูมิแพ้เหมือนเรา ซึ่งมีเกินสิบล้านคนในประเทศไทยจึงตั้งใจศึกษาวิจัย เรื่องภูมิแพ้มากว่าสิบปีจนเห็นว่าปัญหาสำคัญคือเราต่อสู้กับไรฝุ่นที่เรามองไม่เห็นเราจึงตั้งใจจะสร้าง เครื่องมือที่สามารถวัดไรฝุ่นได้ สามารถกำจัดไรฝุ่นได้ตรงจุดและทำให้คุณภาพชีวิต ของผู้ป่วยและครอบครัวดีขึ้นค่ะ |
เป้าหมายของนวัตกรรม : | เราฝันว่าเราจะเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาไรฝุ่น ไม่ใช่แค่สำหรับคนไทย แต่สำหรับผู้ป่วยภูมิแพ้ทั่วโลก |
ผลลัพธ์และประสิทธิภาพของนวัตกรรม : | ได้เครื่องมือพร้อม Application ต้นแบบภายใต้ชื่อแบรนด์ “ ALEX-X ” เครื่องตรวจไรฝุ่นที่มีความแม่นยำสูง และประหยัดต้นทุนในการตรวจปริมาณไรฝุ่นมากถึง 50% สำหรับเด็กและเยาวชน หรือผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ฝุ่น ทั้งไทยและต่างประเทศ |
สมาชิกทีม (ซ้าย – ขวา) : | 1. นางสาววิษุวัต สงนวล 2. นางสาวศิริรัตน์ อุดอินทร์ 3. นายมนวรรธน์ ทองขาว |
Mentor ประจำทีม : | นายวีรเดช ขุมทอง |
ผู้ประสานงาน : | นางสาวประกายฉัตร ฤทธาภัย |
ช่องทางการติดต่อ : | 087-4764-695 / [email protected] |
ประเภทเทคโนโลยีดิจิทัล : | IoTs |
ชื่อนวัตกรรม / นวัตกรรม : | Flow Zone / Headband เพื่อวัดประเมินและพัฒนาสภาวะจิตใจ |
กลุ่มเป้าหมาย : แรงบันดาลใจผลงาน : | ผู้สูงอายุ ปัจจุบัน คนเรามีสมาธิสั้นลงส่งผลต่อทักษะในการเรียนรู้ลดประสิทธิภาพในการทำงานและส่งผลต่อทักษะทางการเข้าสังคม เนื่องจากเมื่อเราขาดสติสมาธิเกิดภาวะหลงหรือ Mind Wandering ทำให้ขาดสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวก่อ เกิดโรคทางจิตเวชเมื่อไม่มีสติ หลง ฟุ้งซ่าน ยิ่งหลงนานยิ่ง ขาดสติ |
เป้าหมายของนวัตกรรม : | ขยายเครื่องมือและโปรแกรมอัจฉริยะ ไปยังตลาด อเมริกา ยุโรป และ เอเชีย โดยเริ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการไปยัง ผู้สูงอายุที่ต้องการสร้างเสริมสติ |
ผลลัพธ์และประสิทธิภาพของนวัตกรรม : | ได้เครื่องมือ Headband และ Application ต้นแบบภายใต้ชื่อแบรนด์ “ Flow Zone ” สำหรับผู้สูงอายุ สามารถวัดและประเมินผลของการพัฒนาสภาวะจิตใจ ลดการเกิดโรคทางจิตเวช ทำให้มีสมาธิในการดำรงชีวิตมากขึ้น |
สมาชิกทีม (ซ้าย – ขวา) : | 1. นางสาวชนิดา เพ่งผล 2. นายกฤษณ์ แสงวิเชียร, 3. นายปริวรรตน์ สิริพิชญาภัสร์ 4. นายธนากร ธรรมปัญญา |
Mentor ประจำทีม : | ดร.ปัณรสี ฤทธิประวัติ |
ผู้ประสานงาน : | นางสาวพิญญานันท์ พิริยธนรัชต์ |
ช่องทางการติดต่อ : | 099-4452-495 / [email protected] |
ประเภทเทคโนโลยีดิจิทัล : | IoTs + Application |
ชื่อนวัตกรรม / นวัตกรรม : | Routine / กล่องยาแจ้งเตือนการรับประทานยาให้ตรงเวลาผ่าน Application สำหรับผู้สูงอายุ |
กลุ่มเป้าหมาย : แรงบันดาลใจผลงาน : | ผู้สูงอายุ ทางทีมได้รับแรงบันดาลใจจากคุณพ่อของหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งซึ่งท่านทานยาไม่สม่ำเสมอ จนเกิดมีอาการเส้นเลือดในสมองตีบ นั้นจึงทำให้ทางทีมนั้นเห็นถึงความสำคัญของการทานยา ที่สม่ำเสมอเพื่อป้องกันโรคร้าย |
เป้าหมายของนวัตกรรม : | เป้าหมายของเราคือการทำให้กลุ่มเปราะบางหรือ ผู้สูงอายุทานยาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้เกิดโรคร้าย |
ผลลัพธ์และประสิทธิภาพของนวัตกรรม : | ได้กล่องยาต้นแบบที่สามารถแจ้งเตือนการรับประทานยาให้ตรงเวลาพร้อม Application แจ้งเตือน สำหรับผู้สูงอายุวัย 60 ปีขึ้นไป อย่างมีประสิทธิภาพและตรงเวลาทำให้ผู้สูงอายุทานยาได้อย่างสม่ำเสมอ และป้องกัน การลืมทานยาได้ |
สมาชิกทีม (ซ้าย – ขวา) : | 1. นายรพีพันธ์ ยืนยง 2. นายพรพิพัฒน์ กิติเรียงลาภ 3. นางสาวปริณดา เตไชยา 4. นายวิพุธ ไตรกิตยานุกุล 5. นายธนวิชญ์ หวังวงศ์สิริ |
Mentor ประจำทีม : | นายอานนท์ ทองเต็ม |
ผู้ประสานงาน : | นางสาวประกายฉัตร ฤทธาภัย |
ช่องทางการติดต่อ : | 092-2769-992 / [email protected] |
ประเภทเทคโนโลยีดิจิทัล : | IoTs |
ชื่อนวัตกรรม / นวัตกรรม : | Enyware / อุปกรณ์จัดท่านั่งอัจฉริยะสำหรับเด็กเยาวชน |
กลุ่มเป้าหมาย : แรงบันดาลใจผลงาน : | เด็กและเยาวชน ปัจจุบันกลุ่มเด็กนักเรียนเริ่มมีอาการปวดหลังเพราะการนั่งเรียนในโรงเรียนเป็นเวลานาน ประมาณ 6.7 ชม. ต่อวัน ซึ่งการนั่งระยะเวลานี้ใกล้เคียงกับพนักงานออฟฟิศที่มีการออฟฟิศซินโดรม และเก้าอี้ที่เด็กใช้ในโรงเรียนยังเป็นเก้าอี้ที่ไม่ได้ถูกพัฒนามาเพื่อการนั่งเป็นระยะเวลานาน เหมือนของคนทำงาน |
เป้าหมายของนวัตกรรม : | ต้องการให้เด็กไทยมีพฤติกรรมการนั่งที่ถูกต้องซึ่งจะทำให้ไม่เกิดอาการปวดหลังไปกระทบต่อ การเรียนรู้ โดยต้องการให้โรงเรียนมี Enyware อย่างน้อย 20% ในโรงเรียน |
ผลลัพธ์และประสิทธิภาพของนวัตกรรม : | ได้อุปกรณ์จัดท่านั่งต้นแบบสำหรับเด็กและเยาวชนภายใต้ชื่อแบรนด์ “ Enyware ” ที่ช่วยลดอาการ ปวดหลัง นั่งได้หลังตรง และจัดสรีระร่างกาย ได้ดีขึ้น ในขณะนั่งเรียน หรือทำการบ้าน โดยสนับสนุน ให้ทุกโรงเรียนมี “ Enyware ” อย่างน้อย 20% ในโรงเรียน |
สมาชิกทีม (ซ้าย – ขวา) : | 1. นายกฤตนัย สัจจพงษ์ 2. นายกวินท์ ลาภพิเชฐ 3. นายเอกภพ รุจิระประภาส |
Mentor ประจำทีม : | ผศ.ดร.ณรงค์เดช กีรติพรานนท์ |
ผู้ประสานงาน : | นางสาวเบ็ญจภรณ์ งิ้วเรือง |
ช่องทางการติดต่อ : | 086-888-0606 / [email protected] |
ประเภทเทคโนโลยีดิจิทัล : | IoTs |
ชื่อนวัตกรรม / นวัตกรรม : | Walker อัจฉริยะ / Walker อัจฉริยะแจ้งเตือนเหตุภาวะฉุกเฉินผ่าน Application สำหรับผู้สูงอายุ |
กลุ่มเป้าหมาย : แรงบันดาลใจผลงาน : | ผู้สูงอายุ แรงบันดาลใจของเรามาจากประสบการณ์ส่วนตัวที่คุณปู่ของผมเป็นอัมพาตครึ่งตัว ทำให้เคลื่อนไหวในบ้านได้ยาก และทุกคนในครอบครัวเป็นห่วงเสมอ แรงจูงใจที่สองมาจาก ประสบการณ์ที่เราเผชิญเมื่อพาผู้สูงอายุไปโรงพยาบาลในกรณีฉุกเฉิน |
เป้าหมายของนวัตกรรม : | เรามุ่งมั่นที่จะพัฒนาอุปกรณ์ช่วยเดินอัจฉริยะที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงการออกแบบตามหลักสรีรศาสตร์ และคุณสมบัติที่เป็นมิตรกับผู้ใช้เพื่อช่วยให้แต่ละคนมีการเคลื่อนไหวที่ดีขึ้น มีอิสระและมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น |
ผลลัพธ์และประสิทธิภาพของนวัตกรรม : | ได้ Walker อัจฉริยะและ Application ต้นแบบที่ช่วยแจ้งเตือนสภาวะฉุกเฉินสำหรับผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป ภายใต้ชื่อผลงาน “ Walker อัจฉริยะ ” ที่ช่วยพัฒนาอุปกรณ์ช่วยเดินโดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการ ออกแบบ ตามหลักสรีรศาสตร์ และคุณสมบัติที่เป็นมิตรกับผู้ใช้เพื่อช่วยให้แต่ละบุคคลมีการเคลื่อนไหวและ อิสระ รวมถึงความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น |
สมาชิกทีม (ซ้าย – ขวา) : | 1. นายสกล สัจเดว 2. นางสาววนิดา ยาแก้ว 3. นายศิรสิทธิ์ สัจเดว |
Mentor ประจำทีม : | นาย วีรเดช ขุมทอง |
ผู้ประสานงาน : | นางสาวประกายฉัตร ฤทธาภัย |
ช่องทางการติดต่อ : | 092-4095-723 / [email protected] |
จาก 23 Ideas สู่ 23 ผลงานนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ของเหล่า X-Innovators 23 Teams
ประเภทเทคโนโลยีดิจิทัล Big Data
ประเภทเทคโนโลยีดิจิทัล : | Big Data |
ชื่อนวัตกรรม / นวัตกรรม : | PARKJAI / Application ให้คำปรึกษา ปัญหาสุขภาพจิตสำหรับกลุ่มพนักงานโรงงาน |
กลุ่มเป้าหมาย : แรงบันดาลใจผลงาน : | กลุ่มเปราะบาง กลุ่มพนักงานโรงงานที่ถือเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักในช่วง Covid-19 ทั้งผลกระทบจากการ แพร่ระบาดของโรค การถูกเลิกจ้างกะทันหันการถูกปรับลดค่าเเรง ฯลฯ เพื่อให้กิจการของเเต่ละโรงงาน ดำเนินต่อไปได้ด้วยเหตุผลเหล่านี้กลุ่มพนักงานโรงงานจึงเป็นกลุ่มที่มีความเปราะบางทางสุขภาพจิตสูง หากพิจารณาปัจจัยทั้งในเเง่รายได้ / คนหรือความรู้ระดับการศึกษาในการดูเเลตนเองให้ถูกสุขภาวะ ก็เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคทางสุขภาพจิตต่างๆ เช่น โรคซึมเศร้า วิตกกังวล |
เป้าหมายของนวัตกรรม : | ทุกบริษัทในประเทศไทย ต้องมีสวัสดิการด้านสุขภาพจิตเป็นบริการขั้นพื้นฐาน |
ผลลัพธ์และประสิทธิภาพของนวัตกรรม : | ได้ Application ต้นแบบ ที่ให้คำปรึกษาปัญหาสุขภาพจิตสำหรับกลุ่มเปราะบาง (พนักงานโรงงาน) ภายใต้ชื่อแบรนด์ “ PARKJAI ” โดยจิตแพทย์และนักจิตวิทยาที่เชี่ยวชาญ ผ่าน Line OA ช่วยลดปัญหา และความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคทางสุขภาพจิตในการทำงาน |
สมาชิกทีม (ซ้าย – ขวา) : | 1. นางสาวพรทิพย์ เเม่นทรง 2. นายณัฐพงษ์ เเสงเลิศศิลปชัย 3. นางสาววินัดดา จ่าพา |
Mentor ประจำทีม : | นายเทพชัย ปานเจริญ |
ผู้ประสานงาน : | นางสาวเบ็ญจภรณ์ งิ้วเรือง |
ช่องทางการติดต่อ : | 094-5462-646 / [email protected] |
ประเภทเทคโนโลยีดิจิทัล : | Big Data |
ชื่อนวัตกรรม / นวัตกรรม : | S2S Selected : Personalized Food #3 / อาหารเพื่อคนที่คุณรักและตัวคุณเอง Platform ที่ใช้ Big Data ในการวิเคราะห์และแนะนำอาหาร โดยนักกำหนดอาหารหรือนักโภชนาการ ให้ตรงกับความต้องการ และสภาวะสุขภาพร่างกาย |
กลุ่มเป้าหมาย : แรงบันดาลใจผลงาน : | ผู้สูงอายุ การลดความเหลื่อมล้ำ ในการเข้าถึงอาหารที่เหมาะกับสภาวะสุขภาพร่างกายและ Life Style ของตนเอง ที่มีความต้องการเฉพาะบุคคล ความชอบ ไม่ชอบ การแพ้อาหารหรือโรคประจำตัว ทำให้ทุกคนเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับ อาหารที่เหมาะกับสภาวะร่างกายของตนเองได้ง่ายๆ และเชื่อถือได้จริงโดยคำแนะนำ จากนักกำหนดอาหาร |
เป้าหมายของนวัตกรรม : | ต้นแบบในการเก็บ Big Data จากคำแนะนำของนักกำหนดอาหาร ตำราอาหาร สูตรเครื่องดื่ม ที่ลดหวานมันเค็ม เพื่อเป็นระบบฐานข้อมูลสำหรับใช้ฝึกสอน AI โดยใช้ Data Science ในการดึงข้อมูลจาก Database อย่างแม่นยำ เพื่อแนะนำอาหารที่เหมาะต่อการบริโภค อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง สูตรอาหาร และวิธีการทำอาหาร |
ผลลัพธ์และประสิทธิภาพของนวัตกรรม : | ได้ Platform ต้นแบบอาหารเพื่อคนที่คุณรักและตัวคุณเองภายใต้ชื่อผลงาน “ S2S Selected : Personalized Food #3 ” ผ่านระบบ AI โดยการใช้ Data Science ในการดึงข้อมูลจาก Database และประมวลผลเป็นคำแนะนำในการบริโภคอาหาร ที่ดีต่อสุขภาพ หรือควรหลีกเลี่ยงอาหารสำหรับบุคคลนั้นๆ ตามหลักทางโภชนาการอาหารและยา |
สมาชิกทีม (ซ้าย – ขวา) : | 1. ทพญ. รัชนี พงษ์พานิช 2. ทพญ. ดวงตา กระสินธุ์ 3. ทพญ. วนิดา จตุรานนท์ |
Mentor ประจำทีม : | คุณรัศมี สืบชมภู |
ผู้ประสานงาน : | นางสาวเบ็ญจภรณ์ งิ้วเรือง |
ช่องทางการติดต่อ : | 086-626-0008 / [email protected] |