โครงการชุมชนน่าอยู่ชายแดนใต้ บ้านทุ่งเหรียง ม.2 จ.ยะลา
ถอดบทเรียนโครงการชุมชนน่าอยู่ชายแดนใต้
บ้านทุ่งเหรียง หมู่ที่ 2 ตำบลยุโป อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
โดย วันวิสา ชนะสิทธิ์
ข้อมูลทั่วไป
บ้านทุ่งเหรียง ในอดีตบ้านทุ่งเหรียงมาจากท้องทุ่งซึ่งมีบริเวณกว้างมาก และมีผู้คนอาศัยอยู่เป็นกลุ่ม มีการถือศาสนาพุทธและอิสลาม ปัจจุบันมีชื่อเรียก 3 ชื่อ คือ บ้านทุ่งเหรียง บ้านออก และบ้านตากแดด มีเนื้อที่ 1,781 ไร่
ลักษณะภูมิประเทศ
ภูมิประเทศ บ้านทุ่งเหรียง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา เป็นถนนลาดยาง/คอนกรีต สามารถเดินทางได้โดยรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ ส่วนใหญ่ เป็นที่ราบลุ่ม ซึ่งจะมีน้ำท่วมในฤดูฝน
ลักษณะของแหล่งน้ำ มีแหล่งตามธรรมชาติ เช่น คลอง บึง หน่องน้ำ และแม่น้ำปัตตานี
ด้านการศึกษา จำนวน 2 แห่ง – โรงเรียนบ้านทุ่งเหรียง จำนวน 1 แห่ง
– ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งเหรียง จำนวน 1 แห่ง
ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
การนับถือศาสนา ในพื้นที่ตำบลยุโป มีประชากรนับถือศาสนาอิสลาม 80% นับถือศาสานาพุทธ 20% โดยทั่วไป ประชากรจะใช้ภาษาไทยและภาษาถิ่น เป็นภาษาหลัก มีการแต่งกายเป็นแบบท้องถิ่นดั้งเดิม
ความไม่น่าอยู่ของบ้านทุ่งเหรียง หมู่ที่ 2 ตำบลยุโป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา
บ้านทุ่งเหรียงเป็นพื้นที่ที่มีทรัพยากรธรรมชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่นหลากหลาย โดยเฉพาะด้านการเกษตร เช่น การปลูกยางพารา ข้าวโพด และพืชไร่ตามฤดูกาล มีแหล่งน้ำและทรัพยากรที่สนับสนุนการเกษตร รวมถึงการนำความรู้การเกษตรสมัยใหม่มาใช้ เช่น การทำแม่ปุ๋ยและการใช้จุลินทรีย์ในการพัฒนา
ปัญหาหลัก คือการขาดความสามัคคีระหว่างกลุ่มประชากร ซึ่งทำให้เกิดการแบ่งพรรคแบ่งพวกและขาดความร่วมมือในการทำกิจกรรมเชิงพาณิชย์ เช่น การผลิตกล้วยฉาบ การเลี้ยงผึ้ง และการเลี้ยงปลาในกระชัง จึงทำให้ผลิตภัณฑ์ไม่สามารถออกสู่ตลาดได้ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาการขาดทักษะอาชีพบางด้าน และปัญหายาเสพติดที่กระทบต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต
จุดแข็ง:
– ผู้นำชุมชนที่เข้มแข็งและมีความรู้หลายด้าน เช่น การเกษตรอินทรีย์และเศรษฐกิจพอเพียง
– กลุ่มออมทรัพย์ที่มีการให้เงินทุนดอกเบี้ยต่ำ
– การมีปราชญ์ชาวบ้านที่สามารถเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่ชุมชน
– การมีกิจกรรมประเพณีที่ช่วยรวมตัวกัน เช่น การกวนอาซูรอและงานรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ
จากปัญหาดังกล่าวมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาผ่านแนวทางการลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ให้แก่ครัวเรือนที่ประสบปัญหา เช่น การลดรายจ่าย 20% และเพิ่มรายได้ 30% สำหรับ 20 ครัวเรือนในพื้นที่ เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชนในระยะยาว
จากการวิเคราะห์ประเมินชุมชนของสภาชุมชน บ้านทุ่งเหรียง สามารถสรุปได้ดังนี้
สภาพแวดล้อมภายใน (จุดอ่อน จุดแข็ง) จะทำให้หมู่บ้านทราบถึงจุดเด่น และข้อเสียเปรียบของหมู่บ้าน
(1) จุดอ่อน Weakness คือ ลักษณะหรือข้อด้อยของหมู่บ้านเมื่อเทียบกับหมู่บ้านอื่น (เป็นปัจจัยภายในที่หมู่บ้านสามารถเปลี่ยนแปลงและพัฒนาได้)
(1.1) พื้นที่ลุม/น้ำท่วม
(1.2) ไม่ปล่อยภัยต่อชีวิต/ทรัพย์สิน
(1.3) ปัญหาการแพร่กระจายของยาเสพติดของเยาวชน
(1.4) ปัญหาการศึกษา
(1.5) การว่างงาน
(1.6) ขาดไฟฟ้าสาธารณะในชุมชน
(2) จุดแข็ง Strength คือ ศักยภาพความสามารถหรือข้อเด่นของหมู่บ้านเมื่อเทียบกับหมู่บ้านอื่น (เป็นปัจจัยภายในที่หมู่บ้านสามารถเปลี่ยนแปลงและพัฒนาได้)
(2.1) ผู้นำชุมชนมีความเข้มแข็ง
(2.2) กลุ่มองค์กร/ชุมชน มีความเข้มแข็ง
(2.3) มีกองทุนในชุมชน เช่น ออมทรัพย์
(2.4) มีแหล่งน้ำใต้ดิน แหล่งธรรมชาติ
(2.5) มีสถานศึกษาในพื้นที่
(2.6) เป็นสังคมพหุวัฒธรรม
(2.7) มีขนบ ธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม
(2.8) สืบสานขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม
(2.9) มีความร่วมมือของประชาชน การมีส่วนร่วม ความสามัคคี
(2.10) มีบุคลากรที่มีความรู้ในการพัฒนาชุมชน
(2.11) มีจิตอาสา จิตสาธารณะ
(2.12) พื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์
สภาพแวดล้อมภายนอก จะทำให้หมู่บ้านทราบถึงโอกาสและอุปสรรคการทำงานของหมู่บ้าน
(1) โอกาส Opportunity (ปัจจัยภายนอกที่เป็นผลบวกที่หมู่บ้านไม่สามารถควบคุมได้)
(1.1) มีหน่วยทั้งราชการเข้ามาในพื้นที่
(1.2) มีบุคลากรจากหน่วยงานให้ความรู้
(1.3) มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย
(1.4) มีพืชที่เป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่น
(1.5) มีมรดกของชาติ ต้นไม้ ต้นกันเกรา
(2) อุปสรรค Threat (ปัจจัยภายนอกที่เป็นผลลบที่หมู่บ้านไม่สามารถควบคุมได้)
(2.1) ความไม่แน่นอนของนโยบายของรัฐ
(2.2) เหตุการณ์ความสงบในพื้นที่ (2.3) มีผู้เสพ/ผู้ค้า
(2.4) สภาพอากาศแปรปรวน/ฤดูการเปลี่ยนแปลงไม่สามารถประกอบอาชีพได้
เป้าหมายการพัฒนา (วิสัยทัศน์ , Vision) ของหมู่บ้าน มุ่งพัฒนาหมู่บ้านด้านเศรษฐกิจพอเพียง
สถานการณ์สุขภาวะในบ้านทุ่งเหรียง ตำบลยุโป
- ด้านพฤติกรรม
– เลือกงาน เด็กและเยาวชนที่เรียนจบการศึกษาใหม่ เลือกงานที่ทำ – ยาเสพติด เด็กเยาวชนรวมทั้งผู้ใหญ่ มีพฤติกรรมไปมั่วซุ่มกันยาเสพติด – ขี้เกียจ ประชาชนในพื้นที่ มีนิสัยขี้เกียจงาน ไม่ค่อยทำงาน จึงก่อให้เกิดรายได้น้อย – ขาดความรู้ เนื่องจากประชาชนบางครั้งไม่มีความรู้ ขาดประสบการณ์ในงานที่ทำ ทำให้ไม่มีความเชี่ยวชาญในงานที่ทำ – ไม่มีการศึกษา ประชากรในพื้นที่ไม่ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ส่งผลต่อการสื่อสารและการรับรู้ในเรื่องต่างๆ รวมถึงการได้รับงานทำที่ดี
– เรียนจบไม่อยากทำงาน เด็กเยาวชนส่วนใหญ่ในพื้นที่อยากจะทำงานใกล้บ้าน หรือ ไม่อยากทำงาน เลยทำให้ไม่มีรายได้เกิดขึ้นในครัวเรือน – ตกงาน ประชาชนส่วนใหญ่ ไปทำงานนอกพื้นที่ต่างจังหวัด เมื่อเกิดสถานการณ์โควิด-19 ทำให้เกิดการว่างงาน มากขึ้น
- ด้านสังคม
– ไม่มีการจัดทำบัญชีครัวเรือน ในครัวเรือนส่วนใหญ่ จะไม่มีการจัดทำบัญชีครัวเรือน ทำให้ไม่สามารถทราบรายละเอียด รายรับ-รายจ่าย ของครัวเรือนได้ – ที่ทำกินไม่เพียงพอ พื้นที่ในตำบลมาเพียงพอต่อความต้องการของประชาชนในพื้นที – พ่อแม่ไม่ส่งเสริมให้ลูกมีงานทำ ครัวเรือนบางท่านไม่ส่งเสริมให้ลูกทำงานนอกบ้าน ทำให้มีรายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่าย – มีแหล่งมั่วสุ่มในพื้นที่ พื้นที่บางส่วนเป็นแหล่งมั่วสุ่ม รวมตัวของประชากรที่ว่างงาน
- ด้านกลไก
– เครือข่ายกลุ่มไม่เข้มแข็ง เนื่องจากการรวมตัวของกลุ่ม ไม่ต่อเนื่อง – เทศบาลมีแผนช่วยเหลือ
สภาพปัญหาและความต้องการของหมู่บ้าน
สภาพปัญหาและความต้องการของหมู่บ้าน (ตามลำดับความสำคัญ) ปัญหาด้านการประกอบอาชีพของประชากรหมู่ที่ 2 บ้านทุ่งเหรียง มีลักษณะสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของชุมชน ดังนี้:
1. อาชีพเชิงเดี่ยว: ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น การกรีดยางพารา การค้าขาย และการปลูกพืชผักสวนครัว ซึ่งมีรายได้ไม่เพียงพอ เนื่องจากขาดที่ดินทำกิน และต้องพึ่งพาอาชีพเดียวเพื่อเลี้ยงชีพ
2. การขาดแรงงานในภาคเกษตรกรรม: เยาวชนและประชาชนในช่วงอายุ 18-45 ปี มักออกไปทำงานรับจ้างนอกพื้นที่ ส่งผลให้ขาดแรงงานในการทำเกษตรกรรมในชุมชน บางครัวเรือนจึงต้องจ้างแรงงานภายนอกมาทำงานในไร่
3. การใช้ประโยชน์ที่ดินไม่เต็มที่: พื้นที่นาในชุมชนจำนวนมากปล่อยทิ้งร้าง ซึ่งหากไม่ใช้ประโยชน์จากพื้นที่เหล่านี้อย่างเหมาะสม อาจทำให้พื้นที่เหล่านี้ต้องถูกนำไปขายหรือนำไปใช้ในทางอื่น
ผู้นำชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของการแก้ไขปัญหาดังกล่าวและเห็นว่า หากไม่ดำเนินการแก้ไขอย่างเป็นระบบ การเกษตรรุ่นใหม่ในชุมชนอาจจะหายไปในอนาคต ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการสืบทอดอาชีพเกษตรกรรมของครัวเรือนในระยะยาว
แนวทางในการดำเนินโครงการ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
- มีการจัดตั้งคณะทำงานชุมชน ที่มีส่วนรวมของตัวแทนหน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ ในพื้นที่ เช่น เทศบาลตำบลยุโป พัฒนาชุมชน พัฒนาที่ดิน สภาเกษตรจังหวัดยะลา เกษตรตำบล สมัชชาสุขภาพจังหวัดยะลา ด้วยการออกคำสั่งรองรับจากเทศบาลตำบลยุโป
- ดำเนินการอบรมสภาผู้นำชุมชน โดยเทศบาลตำบลยุโป และหน่วยงานภาคีเครือข่ายพัฒนาที่ดิน พัฒนาชุมชน เกษตรตำบล
- ศึกษาดูงานพื้นที่เรียนรู้ ตำบลโกตาบารู
- สำรวจข้อมูลชุมชน โดยสภาผู้นำชุมชน และร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูล
- วางแผนดำเนินงานอย่างเป็นระบบโดยสภาผู้นำชุมชนและหน่วยงานภาคีเครือข่าย พัฒนาที่ดิน พัฒนาชุมชน เทศบาลตำบลยุโป เกษตรตำบล
วัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จ
- เพื่อส่งเสริมให้เกิดกลไกสภาผู้นำชุมชน ที่สามารถบริหารจัดการชุมชนได้อย่างเข้มแข็ง
- เพื่อแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจของครัวเรือนในชุมชน
วัตถุประสงค์ | ตัวชี้วัดความสำเร็จ |
1. เพื่อให้กลไกสภาผู้นำชุมชนเข้มแข็งสามารถดำเนินงานตามแผนชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
1. องค์ประกอบของคณะทำงานที่มีภาคีเครือข่ายที่หลากหลาย เช่น พัฒนาที่ดิน พัฒนาชุมชน สภาเกษตร สมัชชาสุขภาพจังหวัดยะลา สภาเกษตรจังหวัดยะลา เกิดการกำหนดข้อตกลงในการปฏิบัติงาน ให้มีการประชุมคณะทำงานในทุกๆวัน อาทิตย์ ของอาทิตย์ที่ 2 ทุกเดือน รวม 12 ครั้ง โดยเทศบาลตำบลยุโป ออกคำสั่งรองรับ |
2. เพื่อแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจของครัวเรือนในชุมชน |
1. ครัวเรือนสามารถลดรายจ่ายได้ 20% และมีรายได้เพิ่มขึ้น 30% |
หลังจากดำเนินการโครงการชุมชนน่าอยู่ไปแล้ว มีกติกาของสภาชุมชนเกิดขึ้น เกิดคณะทำงาน มีคำสั่ง
กติกาของสภาผู้นำชุมชน
1. มีการประชุมสภาชุมชน โดยการกำหนด ประชุมทุกไปอาทิตย์ที่ 2 ของเดือน 2. มีความตรงต่อเวลาในการประชุม หรือการเข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้ง
คณะทำงาน สภาผู้นำชุมชน จำนวน 20 คน ประกอบด้วย
- ตัวแทนฝ่ายปกครอง
- ตัวแทนผู้นำศาสนา
- ตัวแทนผู้นำท้องถิ่น
- ตัวแทน อสม.
- ตัวแทนกลุ่มสตรี
- ตัวแทนเกษตรกร
- ตัวแทนเยาวชน
- ปราชญ์ชาวบ้าน
เมื่อการดำเนินงานโครงการดำเนินการไปประมาณ 6 เดือน สภาผู้นำชุมชนบ้านทุ่งเหรียง มีการกำหนดบทบาทภารกิจขึ้นดังนี้
บทบาทภารกิจ ภารกิจที่สภาผู้นำชุมชนร่วมกันรับผิดชอบ
- มีทีมงาน การสื่อสารการประชุมชาสัมพันธ์งานด้านต่างๆ เช่น ต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจจกรรม การจัดประชุม การประชาสัมพันธ์งานกิจกรรมต่างๆภายในชุมชน และนอกชุมชน ให้สภาผู้นำชุมชนและประชาชนได้รับทราบและได้เข้าร่วมกิจกรรม
- มีทีมงานและการประสานผู้อำนวยงานใน เรื่องความสะดวกเรียบร้อย การจัดเป็นระเบียบสิ่งแวดล้อม เช่น การตัดแต่งกิ่งไม้ การกำจัดขยะ การช่วยเหลือในกรณีเกิดเหตุต่างๆ ภัยพิบัติในชุมชน
- มีการแบ่งพื้นที่ เป็น 6 โซน เพื่อควบคุมดูแลสุขภาพครัวเรือน มีกรรมการ 2 คน ต่อ 1 ครัวเรือน เป้าหมาย จำนวน 20 ครัวเรือน
- มีทีมงานในจัดทำเอกสารทางการเงิน การบันทึกข้อมูล การสำรวจข้อมูลต่างๆ
ตัวอย่างการทำกิจกรรมบ้านทุ่งเหรียง
- กิจกรรม ศึกษาดูงานในพื้นที่ต้นแบบของ สสส. ตำบลโกตาบารู อำเภอรามัน จังหวัดยะลา เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2565 วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเรียนรู้พื้นที่ต้นแบบของโครงการชุมชนน่าอยู่ชายแดนใต้ ในด้านการนำความรู้เศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต เมื่อเรียนรู้แล้วจะได้นำความรู้มาปรับปรุงในพื้นที่ของบ้านทุ่งเหรียง
- การอบรมการจัดทำบัญชีครัวเรือนเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2565 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจการบริหารจัดการรายรับ-รายจ่ายในครัวเรือน ซึ่งช่วยให้สามารถติดตามสถานะทางการเงินของครัวเรือน วางแผนการออมและการใช้จ่ายเพื่อเตรียมพร้อมในอนาคต เช่น การเก็บเงินเพื่อเหตุสุดวิสัยหรือชำระหนี้ ทำให้การใช้จ่ายมีประสิทธิภาพและเหมาะสม
(ภาพกิจกรรม อบรมให้ความรู้ด้านการจัดทำบัญชีครัวเรือน)
3. จัดเวทีพัฒนาแผนการจัดการเศรษฐกิจชุมชน (ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ระดับหมู่บ้าน) เพื่อต้องการให้กลุ่มเป้าหมายได้วิเคราะห์ ปัญหาในชุมชน และวางแผนแก้ไขปัญหาชุมชน ว่าชุมชนจะแก้ไขปัญหาอะไรด้านใด หรือจะส่งเสริมคุณภาพชีวิตด้านใดให้กับชุมชน เพื่อให้ประชาชนลดรายจ่าย เพิ่มรายได้
(ภาพกิจกรรม จัดเวทีพัฒนาแผนการจัดการเศรษฐกิจชุมชน)
ปัญหา/อุปสรรคที่เจอ
การจัดกิจกรรมในระยะแรกที่ชุมชนบ้านทุ่งเหรียง พบปัญหาหลักคือ สภาผู้นำชุมชนขาดความรู้ในกระบวนการทำงานและการบันทึกข้อมูลในระบบ สสส. อีกทั้งไม่สามารถทำงานร่วมกันได้ดีเนื่องจากภารกิจเยอะ และการปลูกผักประสบปัญหาน้ำท่วมทำให้เก็บผลผลิตไม่ได้ แนะนำให้สภาผู้นำได้รับการอบรมเพิ่มเติมและพัฒนาศักยภาพ พร้อมปรับเปลี่ยนคณะกรรมการที่มีความรับผิดชอบและมีเวลาในการดำเนินกิจกรรมมากขึ้น
ความสำเร็จของการทำโครงการร่วมกับชุมชน
ชุมชนบ้านทุ่งเหรียง หมู่ 2 ประสบความสำเร็จจากโครงการพัฒนาชุมชนอย่างมาก โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่พึงพอใจและร่วมกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ได้ดี ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ได้แก่
1. การปลูกผักปลอดพิษ: – ผักมีคุณภาพ ปลอดสารพิษ
– สุขภาพดีขึ้นจากการไม่ใช้สารเคมี
– ลดต้นทุนการผลิตและลดมลพิษ
2. การจัดทำบัญชีครัวเรือน:
– ชาวบ้านทราบสถานะการเงินและสามารถบริหารการเงินได้ดีขึ้น
3. การส่งเสริมอาชีพ:
– ประชาชนมีอาชีพเสริม เพิ่มรายได้และลดอัตราการว่างงาน
ผลลัพธ์โดยรวม: ลดรายจ่าย 20% และเพิ่มรายได้ 30% ส่งเสริมคุณภาพชีวิตประชาชนอย่างยั่งยืนและประสบความสำเร็จสูง