บทเรียนโครงการชุมชนน่าอยู่: โมเดล รพ.สต.โค้งไผ่ ม.3 จ.กำแพงเพชร
บทเรียนการดำเนินงานของกลไกการดำเนินงานโครงการชุมชนน่าอยู่โมเดล รพ.สต.โค้งไผ่ จ.กำแพงเพชร
พื้นที่โครงการชุมชนน่าอยู่ บ้านหนองเต็ง หมู่ที่ 3 ตำบลโค้งไผ่ อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร
โดย นางสาวศุภกาญจน์ แจ่มหม้อ
ทีมสนับสนุนวิชาการ หน่วยจัดการชุมชนน่าอยู่ภาคเหนือ
1.บริบทของพื้นที่( คล้ายหลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ที่มาของปัญหาพื้นที่)
หมู่บ้านหนองเต็ง เดิมบริเวณนี้เป็นป่าดงต้นเต็งขึ้นอยู่ในหนอง มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก กลางป่าจะมีหนองน้ำที่สัตว์ใช้เป็นที่ดื่มกินและชำระร่างกาย ระบายความร้อน ต่อมามีชาวบ้านมาหาของป่าและจับสัตว์น้ำ ตัดไม้เผาถ่าน มีชาวบ้านเข้ามาปลูกกระท่อม หลายครอบครัวมาจับจองที่ดินเพื่อประกอบอาชีพและเป็นที่อยู่อาศัยจึงมาก่อตั้งหมู่บ้านขึ้นมา ตั้งชื่อหมู่บ้านหนองเต็ง จึงเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้านในเวลาต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้ โดยมีนายทองคำ เขตกัน เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก ปัจจุบัน นายมานิตย์ วิญญา ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน จากข้อมูล จปฐ. ปี 2564 มีครัวเรือนอาศัยอยู่จริง 129 ครัวเรือน ประชากรจำนวน 364 คน แบ่งออกเป็น ชาย 157 คน หญิง 207 คน แบ่งเป็นกลุ่มเด็กอายุ 1-5 ปีและกลุ่มผู้สูงอายุ และอายุ 6-59 ปี กลุ่มเด็ก 1-5 ปี แยกเป็น ชาย 4 คน หญิง 7 คน กลุ่มอายุ 6-59 ปี แยกเป็น ชาย 124 คน หญิง 142 คน กลุ่มผู้สูงอายุ แยกเป็น ชาย 29 คน หญิง 58 คน
ปัญหาด้านอุบัติเหตุก่อนดำเนินโครงการ พบว่า ในรอบปีที่ผ่านมาสมาชิกในชุมชนประสบอุบัติเหตุทางถนน จำนวน 13 ครั้ง และไม่มีความรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ขั้นบาดเจ็บสาหัสจำนวน 1 ราย ขั้นบาดเจ็บ จำนวน 20 คน ไม่เกิดความพิการต่อตัวผู้ประสบเหตุ ผู้ประสบเหตุส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 69.2 อยู่ในช่วงอายุ 15 – 19 ปี จำนวน 5 คน ช่วงอายุ 20 – 24 ปี จำนวน 3 คน ช่วงอายุ 25 – 29 ปี จำนวน 5 คน ช่วงอายุ 35 – 39 จำนวน 4 คน ช่วงอายุ 40 – 44 ปี จำนวน 2 คน และช่วงอายุ 64 – 69 ปี จำนวน 2 คน เวลาที่เกิดเหตุเป็นช่วงเทศกาลปีใหม่ 2 ครั้ง ช่วงเทศกาลวันสงกรานต์ 3 ครั้ง ช่วงเทศกาลงานประจำปีของตำบล 3 ครั้ง ช่วงงานบุญ งานบวช 3 ครั้ง และช่วงสัญจรปกติ 2 ครั้ง พาหนะส่วนใหญ่ที่เกิดเหตุคือ รถจักรยานยนต์ ประชาชนมีพฤติกรรมเสี่ยงที่สัมพันธ์กับจุดเสี่ยง เช่น ขับรถความเร็วเกินกำหนด เบรกกะทันหัน เมาแล้วขับ ไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร ขับรถย้อนศร ไม่คาดเข็มขัด ไม่สวมหมวกนิรภัย พูด/เล่นโทรศัพท์ขณะขับรถ โดยมีจุดเสี่ยงในชุมชนมีจำนวน 5 จุด คือบริเวณสามแยกเส้นหลัก สามแยกหน้าวัดสิทธิวราราม สามแยกเข้าหนองงูเห่า สามแยกวังหามแห –โค้งไผ่ และถนนผิวทางชำรุด ระยะทางเฉลี่ย 1 กิโลเมตร แยกเป็นจุดเสี่ยงในชุมชนที่สามารถแก้ไขได้โดยชุมชน 3 จุด และจุดเสี่ยงในชุมชนที่ชุมชนไม่สามารถแก้ไขได้เองต้องทำร่วมหรือส่งต่อแขวงการทางกำแพงเพชร จำนวน 2 จุด โดยมีลักษณะถนนยุบตัว ผิวทางชำรุดและขาดไฟสัญญาณเตือนหรือป้ายเตือน และถนนสัญจรภายในชุมชน จำนวน 3 ซอย มีจุดเสี่ยง จำนวน 1 จุด แยกเป็นจุดเสี่ยงในชุมชนที่สามารถแก้ไขได้โดยชุมชน 1 จุด คือบริเวณ ซอยเข้าหนองงูเห่า จุดเสี่ยงในชุมชนที่ชุมชนไม่สามารถแก้ไขได้เองต้องทำร่วมหรือส่งต่อองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งไผ่ จำนวน 1 จุด คือบริเวณทางสายหลัก สามแยกวังหามแห –โค้งไผ่
ชุมชนบ้านหนองเต็งมีทุนศักยภาพของชุมชน คือ มีกรรมการหมู่บ้าน ปราชญ์ชาวบ้าน ความรู้ วัฒนธรรม ภาคีเครือข่าย ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม กองทุนชุมชน แกนนำ ฐานข้อมูลชุมชนต่าง ๆที่สำคัญ ดังนี้
ทุนทางเศรษฐกิจ มีกองทุนหมู่บ้าน 1 กองทุน มีเงินหมุนเวียนในกองทุนหมู่บ้าน จำนวน 6,440,000 บาท เงินกองทุนเศรษฐกิจชุมชน มีเงินหมุนเวียน 114,000 บาท กองทุนฌาปนกิจหมู่บ้าน จำนวน 2 กองทุน กองทุนที่ 1 มีสมาชิก 240 ราย กองทุนที่ 2 มีสมาชิก 208 ราย มีการออกระเบียบของกองทุนฌาปนกิจเพื่อใช้ควบคุมและกำกับดูแล โดยสมาชิกทุกคนจะต้องจ่ายเงินค่าสงเคราะห์ศพ ให้ผู้เสียชีวิต ศพละ 200 บาท ทั้ง 2 กองทุน
2. การก่อตัวของกลไกพี่เลี้ยง รพ.สต.
1) จำนวนพี่เลี้ยงใน รพ.สต. การจัดโครงสร้างทีมพี่เลี้ยง และ การบริหารจัดการภายในทีม
ชุมชนบ้านหนองเต็ง ขับเคลื่อนโครงการภายใต้ประเด็นการจัดการจุดเสี่ยงและพฤติกรรมเสี่ยงเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในชุมชน โดยมีพี่เลี้ยง รพ.สต. จำนวน 5 คน ร่วมเป็นที่ปรึกษาขับเคลื่อนโครงการ ประกอบไปด้วย พี่เลี้ยงพื้นที่ คือ นางสาวศุภกาญจน์ แจ่มหม้อ ตำแหน่งเจ้าพนักงานสาธารณสุข ชำนาญงาน รับผิดชอบเป็นหัวหน้าทีมพี่เลี้ยง และมีพี่เลี้ยงเครือข่ายสาธารณสุข และมีพี่เลี้ยงใหม่ คอยหนุนเสริมการทำงานต่อเนื่อง จำนวน 4 คน นางสาวสุมิตา ภูสูสี ตำแหน่งแพทย์แผนไทย พี่เลี้ยงต่าง รพ.สต. นางสาวนันทลียา โสภณ ตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข ปฏิบัติงาน (รพ.สต.วังน้ำพุ ต.โค้งไผ่) นางสาววิลาวรรณ เขน่วม ตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข ปฏิบัติงาน (รพ.สต.วังหามแห ต.วังหามแห ) นางสาวนุจรี เจริญผล ตำแหน่งแพทย์แผนไทย (รพ.สต.วังชะพลู ต.วังชะพลู ) นับเป็นพี่เลี้ยงในพื้นที่จำนวน 2 ราย และพี่เลี้ยงต่าง รพ.สต.จำนวน 3 ราย ที่เข้ามามีบทบาทในการช่วยหนุนเสริมการทำงานของทีมสภาผู้นำบ้านหนองเต็ง โดยการการจัดโครงสร้างทีมพี่เลี้ยง และ การบริหารจัดการภายในทีม ให้เกิดความคล่องตัว ให้เกิดความคล่องตัว เกิดรูปธรรมในการหนุนเสริมสภาผู้นำชุมชนได้นั้น จำเป็นต้องมีพี่เลี้ยง รพ.สต.ในพื้นที่เป็นพี่เลี้ยงหลัก ในการหนุนเสริมการทำงานที่ต่อเนื่อง ซึ่งบ้านหนองเต็ง หมู่ที่ 3 มีพี่เลี้ยงโมเดล รพ.สต.หลัก คือ นางสาวศุภกาญจน์ แจ่มหม้อ เจ้าพนักงานสาธารณสุข ชำนาญงาน รพ.สต.โค้งไผ่ และมีนางสาววิลาวรรณ เขน่วม นักวิชาการสาธารณสุข ปฏิบัติงาน (รพ.สต.วังหามแห ต.วังหามแห ) รับผิดชอบดูแลเป็นพี่เลี้ยงที่ปรึกษาหลัก แต่ก็พบว่า พี่เลี้ยงที่ปรึกษาหลักไม่ใช่เจ้าหน้าที่ รพ.สต.ในพื้นที่ ทำให้การประสานงาน การลงพื้นที่ติดตามเยี่ยมชุมชน หนุนเสริมการทำงานได้ไม่เต็มที่ ดังนั้นสภาผู้นำชุมชนจึงเป็นผู้ตัดสินใจและดำเนินงานต่าง ๆในชุมชนกันเองเป็นส่วนใหญ่ แต่ยังต้องการพี่เลี้ยงช่วยให้ข้อเสนอแนะในบางประเด็นเท่านั้น
2) สมรรถนะพี่เลี้ยงใน รพ.สต.
พบว่า พี่เลี้ยงหลักคือ เจ้าหน้าที่ รพ.สต.โค้งไผ่ จำนวน 2 ท่าน อยู่ในขั้นที่ 3 สามารถขับเคลื่อนงานร่วมกันระหว่าง รพ.สต. ชุมชน และภาคีได้ สามารถหนุนเสริมให้ทีมสภาผู้นำชุมชนบ้านหนองเต็ง สามารถหนุนเสริมชุมชนในการจัดทำแผนงานโครงการหรือกิจกรรมเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาสุขภาพอย่างน้อย 1 ประเด็น โดยใช้กลไกการมีส่วนร่วมจัดทำแผนงานโครงการ ระหว่างทีมสภาผู้นำชุมชน และรพ.สต. ที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการด้านสาธารณสุขของ รพ.สต. บรรจุอยู่ในแผนชุมชนพึ่งตนเองของหมู่บ้านได้ ครอบคลุมทุกด้าน ทุกประเด็น (ทำเอง ทำร่วม ทำขอ)
พบว่า การสร้างทีมพี่เลี้ยงที่มีสมรรถนะได้นั้น จำเป็นต้องเปิดใจพร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ และต้องมีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องแนวคิดชุมชนน่าอยู่และกลไกสภาผู้นำชุมชน และมีพื้นฐานความรู้ความเข้าใจระบบการบริการด้านสุขภาพและงานสร้างเสริมสุขภาพแบบมีส่วนร่วม และเชื่อมโยงสู่แผนสุขภาพตำบล และที่สำคัญต้องมีใจเป็นหนึ่งเดียวกับชุมชน ยึดชุมชนเป็นศูนย์กลาง และรับรู้อุปสรรค รับประโยชน์ที่ได้รับร่วมกันทั้งสองฝ่าย
3. กลไกพี่เลี้ยง รพ.สต.
1) การกำหนดการกิจของทีมพี่เลี้ยง ทั้งในการเป็นผู้พัฒนาชุมชน และภารกิจของหน่วยงาน
โดยพี่เลี้ยง รพ.สต.และสภาผู้นำชุมชนบ้านหนองเต็ง ร่วมกันกำหนดภารกิจของการดำเนินการประเด็นหลักร่วมกันคือ การแก้ไขปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการจัดการจุดเสี่ยงของประชาชนในพื้นที่ และขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันการบาดเจ็บทางถนนระดับตำบลโค้งไผ่ D- RTI จึงมีการกำหนดภารกิจหลักแก่ทีมพี่เลี้ยงในการหนุนเสริมชุมชน และร่วมพัฒนาชุมชนเพื่อให้สอดคล้องกับผลลัพธ์เชิงประเด็นของชุมชนและตัวชี้วัดของหน่วยงาน คือ ความรุนแรงในการเกิดอุบัติเหตุ (บาดเจ็บ พิการ เสียชีวิต) ณ.จุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขลดลง โดยอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนไม่เกิน 23.2 ต่อประชากรแสนคน ภายใต้การขับเคลื่อนการป้องกันการบาดเจ็บทางถนน RTI โครงการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิและเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ สนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล (พชต.) อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร ทั้งนี้ เงื่อนไขสำคัญที่ทำให้การกำหนดการกิจของทีมพี่เลี้ยง ทั้งในการเป็นผู้พัฒนาชุมชน และภารกิจของหน่วยงาน ได้รับการยอมรับของทุกฝ่าย จำเป็นต้องรับรู้และเข้าใจตัวชี้วัดร่วม หรือเป้าหมายร่วมที่ทั้ง 2 ฝ่ายได้ประโยชน์ ซึ่งภารกิจในครั้งนี้ตอบโจทย์ในภาพรวมของตำบลโค้งไผ่
2) การสื่อสารภายในทีมและหัวหน้าหน่วยงาน
ประเด็นที่จำเป็นต้องสื่อสารต่อเนื่อง ประกอบด้วย ความรู้ความเข้าใจการทำงานชุมชนน่าอยู่ (โมเดล รพ.สต.) อาทิเช่น เรื่องแนวคิดชุมชนน่าอยู่และกลไกสภาผู้นำชุมชน การจัดทำแผนชุมชนพึ่งตนเอง การประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) และระบบการบริการด้านสุขภาพและงานสร้างเสริมสุขภาพแบบมีส่วนร่วม และเชื่อมโยงสู่แผนสุขภาพตำบล และออกแบบและเก็บข้อมูลสถานะสุขภาพของ รพ.สต. และข้อมูลเชิงประเด็นของทีมสภาผู้นำชุมชน รวมถึงการประสานการทำงานระหว่าง รพ.สต. สภาผู้นำชุมชนและหน่วยจัดการชุมชนน่าอยู่ภาคเหนือและภาคีในพื้นที่ตำบลโค้งไผ่
ทั้งนี้ เงื่อนไขสำคัญที่ทำให้การสื่อสารต่อเนื่อง เกิดประสิทธิผล นำไปสู่ความเข้าใจและทักษะได้นั้นจำเป็นต้อง มีการประชุมอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง มีการหารือโครงการ สสส. และประเด็นอื่น ๆ ในชุมชน และมีรายงานการประชุมทุกครั้ง และทุกคนสามารถเสนอความคิดเห็นในที่ประชุม มีช่องทางการสื่อสารที่พี่เลี้ยงเข้าถึงง่าย เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความก้าวหน้าในการทำงานทุกงานที่ชุมชนดำเนินการให้สมาชิกทีมพี่เลี้ยงรับทราบอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อช่วยกันวิเคราะห์จุด่อน จุดแข็งของชุมชน นำไปสู่การหนุนเสริมและแก้ไขปัญหาของชุมชนได้ทันเวลา ไม่มีความเสี่ยงระหว่างดำเนินงาน เช่น การจัดกิจกรรมตามกำหนดการ การเบิกจ่ายเงิน เอกสารการเงิน เอกสารสรุปความก้าวหน้า และการทำงานภายในทีมของสภาผู้นำชุมชน เป็นต้น
4. สภาผู้นำชุมชนเป็นผู้ตัดสินใจ และดำเนินงานต่าง ๆ ในชุมชนได้เอง โดยพึ่งพาพี่เลี้ยงในบางครั้ง
วิธีการสื่อสารกับหัวหน้าหน่วยงานกรณีที่หัวหน้าไม่ได้เป็นพี่เลี้ยง
1) รูปแบบการเรียนรู้ภายในทีม จำเป็นต้องสื่อสารอย่างต่อเนื่องตลอดการทำกิจกรรมในโครงการ เนื่องจากเมื่อหัวหน้าหน่วยงานไม่ได้อยู่ในบทบาทของพี่เลี้ยง รพ.สต. อาจจะไม่เข้าใจในระบบการทำงานของทีมสภาภายใต้กลไกชุมชนน่าอยู่ การสื่อสารระหว่างพี่เลี้ยง รพ.สต. ทีมสภาผู้นำ และหัวหน้าองค์กร ควรมีความต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ให้ทราบความเป็นไป ผลลัพธ์ของโครงการจึงจะส่งผลต่อการเรียนรู้ภายในทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2) การสร้างการมีส่วนร่วมของทีมและการร่วมแก้ไขปัญหา ได้ดำเนินการโดย พี่เลี้ยง ต้องเข้าร่วมเข้าประชุมและร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของกิจกรรมในชุมชน และในการประชุมหรือร่วมกิจกรรม ผู้เข้าร่วมสามารถแสดงความคิดเห็น ร่วมตัดสินใจเรื่องการดำเนินงาน และเสนอแนะ พิจารณาปัญหาใหม่ๆ รวมทั้งมีการร่วมติดตามประเมินผลได้ทุกคน โดยจำเป็นต้องเปิดโอกาสให้พี่เลี้ยงและสมาชิกชุมชนเข้าประชุมและร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 และสมาชิกชุมชนทุกคน สามารถแสดงความคิดเห็นมากขึ้น หรือมีสมาชิกหน้าใหม่ร่วมแสดงความคิดเห็นมากขึ้น สมาชิกชุมชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจมากขึ้น หรือมีสมาชิกหน้าใหม่ร่วมตัดสินใจ และสมาชิกชุมชนมีข้อเสนอแนะ หรือให้ทางเลือกใหม่ๆ ในการแก้ปัญหาชุมชนมากขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพการมีส่วนร่วมของทีมพี่เลี้ยงและสภาผู้นำชุมชน โดยเปิดโอกาสให้สมาชิกชุมชนมีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผล หรือสามารถร่วมประเมินความสำเร็จของชุมชนได้ จึงจะส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของทีมและการร่วมแก้ไขปัญหาทั้งในส่วนของทีมงานและต่อกลไกสภาผู้นำชุมชนในแต่ละหมู่บ้านได้
5. การบริหารจัดการเป้าหมายร่วมของพื้นที่
1) การกำหนดเป้าหมายร่วมกันระหว่าง รพ.สต.โค้งไผ่ องค์การบริหารส่วนตำบลโค้งไผ่ และสภาผู้นำชุมขน ได้มีการกำหนดเป้าหมายร่วมกัน คือ ตัวชี้วัดร่วมในโครงการ การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการจุดเสี่ยงและพฤติกรรมเสี่ยง ลดอุบัติเหตุทางถนนในชุมชน โดยมีตัวชี้วัดร่วมกันคือ 1) จำนวนของการเกิดอุบัติเหตุ ณ.จุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขลดลง อย่างน้อยร้อยละ 80 (11 ครั้งจาก 14 ครั้ง) 2) ความรุนแรงในการเกิดอุบัติเหตุ (บาดเจ็บ พิการ เสียชีวิต) ณ.จุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขลดลง โดยอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนไม่เกิน 23.2 ต่อประชากรแสนคน โดยการกำหนดเป้าหมายร่วมกันให้เกิดการยอมรับ นำไปสู่การบรรลุเป้าหมายได้จริง จำเป็นต้อง ใช้ข้อมูลชุดเดียวกันและมีการกำหนดข้อตกลงร่วมกัน
2) การวางแผนการดำเนินงานร่วมกันระหว่าง รพ.สต.โค้งไผ่ และสภาผู้นำชุมขนจากเป้าหมายร่วมที่กำหนดด้วยการรวบรวมข้อมูลอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในชุมชนในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา โดยขอข้อมูลจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) สถานีตำรวจในพื้นที่ มาประมวลผล จัดเวทีประชาคมทำความเข้าใจโครงการร่วมกับสมาชิกชุมชนรวมถึงการคืนข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนในชุมชนที่เกิดขึ้นให้แก่สมาชิกชุมชน ทั้งนี้ จะต้องร่วมกันวิเคราะห์จุดเสี่ยงค้นหาปัจจัยที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ เพื่อทำแผนการปรับปรุงจุดเสี่ยง โดยร่วมกันออกความคิดเห็น เพื่อทำความเข้าใจร่วมกันถึงลักษณะของอุบัติเหตุบริเวณจุดเสี่ยงอันตราย และร่วมกันคัดเลือกและจัดลำดับจุดเสี่ยงที่ต้องการทำการปรับปรุงแก้ไขก่อน-หลัง และกำหนดข้อตกลงร่วมของชุมชนในการแก้ไขจุดเสี่ยงและพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับจุดเสี่ยงที่ชุมชนจะแก้ไข จึงจะเกิดการยอมรับ จัดแบ่งหน้าที่และนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง
3) การดำเนินงานและการจัดการทรัพยากรร่วมกันระหว่าง รพ.สต.โค้งไผ่ และสภาผู้นำชุมขน จากแผนการดำเนินร่วมที่กำหนด โดยที่ผ่านมาได้จัดการทรัพยากร คือ การแบ่งปันข้อมูลร่วมกัน ด้วยการเก็บ รวบรวมข้อมูลและบันทึกผลในชุดข้อมูลแหล่งเดียวกัน เพื่อป้องกันการซ้ำซ้อนของข้อมูล หรือป้องกันการคลาดเคลื่อนของข้อมูลนั้น ๆ โดยมีสิ่งที่ขาดไม่ได้หรือต้องมีเงื่อนไข คือ การออกแบบการเก็บข้อมูลชุดเดียวกัน หรือ ใช้แบบฟอร์มเดียวกัน
4) การติดตามและประเมินผลร่วมกันระหว่าง รพ.สต.โค้งไผ่ และสภาผู้นำชุมขนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมที่กำหนดร่วมกัน ด้วยการ ร่วมประชุมประจำเดือนของสภาผู้นำชุมชน หรือของหมู่บ้านหรือของ รพ.สต. โดยมีขั้นตอนสำคัญ คือ 1) สรุปข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดในผลลัพธ์ประเด็นนั้น ๆ 2) สะท้อนผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงตามระยะเวลาที่ดำเนินโครงการ 3) เปรียบผลลัพธ์ที่ได้ว่าบรรลุเป้าหมายร่วมที่กำหนดไว้หรือไม่ 4) แลกเปลี่ยนเรียนรู้สิ่งดี ๆที่เกิดขึ้น และร่วมเสนอแนะแนวทางการพัฒนาให้ดีขึ้นหรือแนวทางปรับปรุงให้บรรลุเป้าหมายร่วมที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ ทุกครั้งจำเป็นต้องมีหรือต้องใช้ ข้อมูลจริงที่เก็บรวบรวมได้มาอ้างอิงและใช้จริงเป็น
6. ผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงของชุมชน
1) ผลลัพธ์สมรรถนะสำคัญและการปรับเปลี่ยนวิธีทำงานของพี่เลี้ยง บันไดสมรรถนะ
โดยเกิดผลลัพธ์ในระยะกลางของวิธีทำงานของพี่เลี้ยง คือ พี่เลี้ยง รพ.สต. มีทักษะในการหนุนเสริมการทำงานของสภาผู้นำชุมชนได้อย่างต่อเนื่องและสามารถขับเคลื่อนงานระหว่าง รพ.สต. อปท.และภาคีในชุมชนได้ ผ่านการถ่ายทอดแนวคิดชุมชนน่าอยู่และหนุนเสริมชุมชนให้เกิดกลไกสภาผู้นำชุมชน สนับสนุนกระบวนการจัดทำแผนชุมชนพึ่งตนเอง ร่วมออกแบบระบบการบริการด้านสุขภาพ และงานสร้างเสริมสุขภาพแบบมีส่วนร่วม และเชื่อมโยงสู่แผนสุขภาพตำบล หนุนเสริมทีมสภาผู้นำชุมชนร่วมเป็นคณะอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล หรือคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล (พชต.) มีการจัดทำแผนงานโครงการหรือกิจกรรมเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาสุขภาพอย่างน้อย 1 ประเด็น โดยใช้กลไกการมีส่วนร่วมจัดทำแผนงานโครงการ ระหว่างทีมสภาผู้นำชุมชน และ รพ.สต. ที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการด้านสาธารณสุขของ รพ.สต. บรรจุอยู่ในแผนชุมชนพึ่งตนเอง โดยต้องมีหรือต้องใช้ แนวคิดสาธารณสุขมูลฐานกับการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ (นโยบาย 3 หมอ) มาประยุกต์ร่วมด้วยจึงจะเกิดสมรรถนะได้ตามที่คาดหวัง ให้สอดคล้องกับบันไดผลลัพธ์ของโมเดล รพ.สต.
2) ผลลัพธ์สมรรถนะของกลไกสภาผู้นำชุมชน
โดยเกิดผลลัพธ์ในระยะกลางของวิธีทำงานของสภาผู้นำชุมชน คือ สภาผู้นำชุมชนมีสมรรถนะในการเสริมพลังชุมชนและขับเคลื่อนงานตามแผนชุมชนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชุมชนได้ โดยต้องมีหรือต้องใช้ เป้าหมายและข้อตกลงร่วมกัน ผ่านการประชุมอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง มีการหารือโครงการ สสส. และประเด็นอื่น ๆในชุมชน และมีรายงานการประชุมทุกครั้ง โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนสมาชิกสภาผู้นำชุมชน ทุกคนสามารถเสนอความคิดเห็นในที่ประชุมได้ สภาผู้นำชุมชนเป็นผู้ตัดสินใจ และดำเนินงานต่าง ๆในชุมชนได้เองทั้งหมด โดยไม่ต้องพึ่งพาพี่เลี้ยง สภาผู้นำชุมชนสามารถดำเนินงานได้ตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย มีการติดตามประเมินผลการดำเนินงานและคืนข้อมูลให้แก่ชุมชน และมีการปรับปรุงการดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด สภาผู้นำชุมชนมีการบริหารจัดการงบประมาณโครงการ สสส. และโครงการอื่นของชุมชน ด้วยความโปร่งใส จัดทำบัญชีรับจ่ายและแจ้งข้อมูลให้สมาชิกในชุมชนทราบทุกเดือน สภาผู้นำชุมชนสื่อสารข้อมูลข่าวสารความก้าวหน้าในการทำงานทุกงานที่ชุมชนดำเนินการให้สมาชิกชุมชนรับทราบอย่างน้อยเดือนละครั้ง จึงจะเกิดสภาที่มีสมรรถนะได้ตามที่คาดหวัง ที่สอดคล้องกับบันไดผลลัพธ์และ ความเข้มแข็ง 9 มิติได้
3) ผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงของประเด็นสุขภาพที่ดำเนินการร่วมกัน คือ การจัดการจุดเสี่ยงและพฤติกรรมเสี่ยง เพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในชุมชน
โดยเกิดผลลัพธ์ในระยะกลาง โดยประชาชนกลุ่มเป้าหมายร้อยละ 100 จำนวน 103 ครัวเรือน รับรู้สถานการณ์อุบัติเหตุและมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงที่สัมพันธ์กับจุดเสี่ยงในชุมชนตนเองผ่านการประชุมประจำเดือน เอกสารความรู้ การติดตามเยี่ยมบ้านของทีมสภาผู้นำชุมชน และเกิดข้อตกลงร่วมในการแก้ไขจุดเสี่ยงและพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับจุดเสี่ยงที่ชุมชนจะแก้ไข จำนวน 5 ข้อ ได้แก่
- เมาไม่ขับ
- ขับขี่ยานพาหนะใช้ความเร็วไม่เกินกำหนด
- สวมหมวกนิรภัยทุกครั้งที่ขับขี่
- ตรวจเช็คสภาพรถและอุปกรณ์ส่องสว่างของรถเป็นประจำ
- ร่วมกันปรับปรุงพัฒนาจุดเสี่ยงในวันสำคัญต่าง ๆ นอกจากนี้จุดเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทางถนนที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไข ร้อยละ 100 ของจุดเสี่ยงประเภทที่ชุมชนแก้ไขได้เอง จำนวน 5 จุด และจุดเสี่ยงในชุมชนที่ได้รับการแก้ไขโดยการทำร่วมหรือส่งต่อข้อมูล จำนวน 1 จุด ร้อยละ 100 โดยองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งไผ่ ดำเนินการปรับปรุงแก้ไข คือถนนเส้นหลักของหมู่บ้าน มีการลาดยางใหม่ คนในชุมชนร้อยละ 83.8 จำนวน 274 คน คนในชุมชนมีพฤติกรรมเสี่ยงที่สัมพันธ์กับจุดเสี่ยงลดลง ซึ่งพบผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเมาแล้วขับ 5 คน ขับรถเร็ว ไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร 11 คน ขับรถย้อนศร 2 คน ไม่สวมหมวกนิรภัย 34 คน พูด/เล่นโทรศัพท์ขณะขับรถ 8 คน เกิดการจัดการข้อมูลสุขภาพร่วมกันในการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุ ของ รพสต กับ ทีมสภาผู้นำชุมชน พชต. การบูรณาการแผน ทำเอง ทำร่วม ทำขอ การใช้ทรัพยากรร่วมกัน การประสานเสนอแผนพัฒนาระบบสุขภาพ การจัดระบบบริการสุขภาพ คนในชุมชนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและการจัดสิ่งแวดล้อมปลอดภัย ที่เอื้อต่อสุขภาพคนในชุมชน โดยหน่วยงานภาครัฐประกอบด้วย อบต.โค้งไผ่ รัฐวิสาหกิจ ธกส.โค้งไผ่ ร่วมรณรงค์ การใช้นโยบายสวมหมวกกันน็อค 100 % สร้างพฤติกรรมการใช้รถใช้ถนนที่ปลอดภัย
โดยในการทำงานต้องมีหรือต้อง ใช้ข้อมูลชุดเดียวกันและมีการกำหนดข้อตกลงร่วมกัน จึงจะเกิดผลลัพธ์ได้ตามที่กำหนดไว้ในวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดของโครงการระดับชุมชน
หมายเหตุ***ภาพกิจกรรมการดำเนินงานของสภาผู้นำชุมชนบ้านหนองเต็ง