“ภูมิเวทเดอะไดมอนด์แบรนด์” เปลี่ยนเด็กด้อยโอกาสด้วยพลังดนตรี

“ภูมิเวทเดอะไดมอนด์แบรนด์”  เปลี่ยนเด็กด้อยโอกาสด้วยพลังดนตรี

พลังดนตรีและเสียงเพลง เชื่อกันว่ามีความมหัศจรรย์และสามารถเปลี่ยนบางสิ่งบางอย่างให้เกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะกับตัวผู้เล่น ผู้ร้อง หรือผู้ฟัง  เสียงดนตรี คือ สิ่งที่หล่อหลอมบันเทิงจิตของเรามาช้านาน

พลังดนตรียังสามารถช่วยสร้างคุณค่าให้กับตัวเองและสังคม โดยเฉพาะกับกลุ่มเด็กด้อยโอกาส ซึ่งพลังทางดนตรีและเสียงเพลงจะช่วยขัดเกลาจิตใจให้เข้มแข็ง อ่อนโยน และเป็นคนดีของสังคม

“เราเชื่อว่าถ้าเราเปิดโอกาสให้เขาได้เล่น ได้ทำในสิ่งที่ชอบ จะช่วยให้เขาพัฒนาตนเองไปทางที่ถูกที่ควรได้” ธนยศ  ศรีโชติ นักดนตรีเพื่อสังคม เชื่อมั่นในพลังทางดนตรีแ         อปปปปกกอ    อย่างนั้น

ธนยศ เป็นหนึ่งในครูอาสาโครงการ Music Sharing ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) เพื่อให้เด็กที่ขาดโอกาสในชุมชนได้เปลี่ยนแปลงชีวิตผ่านเสียงดนตรี เมื่อปี 2557

ธนยศ เล่าถึงความตั้งใจว่า หลังจากเราสอนดนตรีให้กับเด็กในชุมชนต่างๆ มาก่อน เราเลยอยากทำโครงการกับเด็กในสถานสงเคราะห์บ้าง จึงขอรับทุนสนับสนุนจาก สสส. เพื่อทำโครงการศิลป์-ประสาน  สอนดนตรีให้กับน้องๆ ภายในสถานแรกรับเด็กชายปากเกร็ด(บ้านภูมิเวท)

เด็กที่นี่จะเป็นกลุ่มเด็กที่มีปัญหา ต่างคนต่างที่มาไม่เหมือนกัน เช่นปัญหาครอบครัว ปัญหาความรุนแรง ค้าแรงงาน เป็นต้น ซึ่งบ้านภูมิเวทจะเป็นสถานแรกรับก่อนจะส่งต่อไปอีกที่หนึ่ง หรือหากมีความพร้อมก็จะส่งเด็กกลับไปครอบครัว ดังนั้นเด็กที่นี่จึงเป็นเด็กด้อยโอกาส และมีสภาพจิตใจที่ย่ำแย่

นายธนยศ ในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการ เล่าถึงกระบวนการ ว่า เราแบ่งเด็กออกเป็น 3 กลุ่ม  คือ กลุ่ม A มีพื้นฐานในการเล่นดนตรีที่แข็งแรง เล่นเป็นวงได้ เรานำมาฝึกให้เพิ่มเติมอย่างเข้มข้น แยกหน้าที่กันเล่นชัดเจน ใครจะเป็นมือกลอง มือเบส มือกีตาร์ หรือร้องนำรูปแบบ เน้นฝึกเล่นเพลงให้ดนตรียากทุกชิ้น ในวงก็จะต้องช่วยกัน  เน้นการทำงานเป็นทีม  กลุ่ม B คือกลุ่มที่มีพื้นฐานทางดนตรี เล่นเครื่องดนตรีได้ พร้อมพัฒนาไปสู่กลุ่ม A  และสุดท้าย คือ กลุ่ม C เป็นกลุ่มเด็กเล็ก เราก็จะใช้ดนตรีและเพลงไปทำกิจกรรมสันทนาการ หรือกิจกรรมเข้าจังหวะต่างๆ โดยกิจกรรมจะมีทุกวันศูกร์ตั้งแต่บ่ายโมงจนถึงสี่โมงเย็น และผู้นำกระบวนการทั้งหมดก็เป็นผลผลิตของโครงการมิวสิคแชริ่งทั้งหมด

ดนตรีสามารถดึงเขาออกมาจากมุมมืดมาสู่ความสว่างได้ ธนยศ ในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการ หล่นความเห็นที่มาจากการได้สัมผัส และบอกอีกว่า เราสังเกตุเพลงที่น้องเลือกเองจะเป็นแนวค่อนข้างรุนแรง กระแทกหน่อยๆ เน้นเอามันส์ อย่างเช่น ร็อค แต่เราเลือกใช้ทิศทางเพลง เนื้อหา และความหมายของเพลงดีๆ ให้เขาเล่น ให้เขามีมุมมอง ทัศนคติใหม่ในโทนสว่างๆ เขาก็จะเย็นลง

“เราอยากให้เขาเห็นคุณค่าของตัวเอง เพราะเด็กวัยรุ่นจะมีจุดยืนอยากเท่แต่จะเป็นไปในทางไม่ถูกไม่ควร เสี่ยงต่ออบายมุข ยาเสพติด และความรุนแรง แต่ฉะนั้นเรามาเปลี่ยนให้เขาเท่ในแบบมาเล่นดนตรี มีเวทีให้แสดงออก ดูดีในสายตาผ้ใหญ่และเด็กด้วยกัน” นายธนยศ กล่าว

ขณะที่นายณัฐวุฒิ แก้วมณี ครูดนตรีประจำสถานแรกรับเด็กชายปากเกร็ด บ้านภูมิเวท เล่าถึงบริบทของบ้านภูมิเวท ว่า ส่วนใหญ่เด็กมีพื้นฐานมาจากขอทาน ทำผิดกฎหมาย พ่อแม่เลี้ยงดูไม่ได้ เร่ร่อน เราจะพยายามสืบหาและส่งตัวกลับทุกราย พยายายามให้อยู่ไม่นาน หากหาครอบครัวหรือกลับไปไม่ได้ ก้ต้องส่งไปสถานที่รับอื่นๆ

เด็กในส่วนที่เรียนก็ต้องไปโรงเรียน กลุ่มที่ไม่ได้เรียนก็จะมาทำกิจกรรมต่างเช่น ศิลปะ วาดรูป ปั้นดิน เล่นดนตรี อ่านหนังสือ อย่างเช่น กิจกรรมดนตรีเขามีความสุขที่ได้มาฟังเพื่อนเล่น เขาก็จะอารมณ์ดี ไม่แสดงความก้าวร้าว

เด็กที่มาอยู่ที่นี่เขาไม่รู้จักตัวเอง ว่าต้องทำอะไร อนาคตจะไปทางไหน แต่เราจะพัฒนาทำให้เขามีความพร้อม รู้ตัวตน และมีเป้าหมายในชีวิต ว่าออกไปแล้วจะทำอะไร ซึ่งบางคนตั้งเป้าจะไปเป็นนักดนตรีก็มี

เริ่มต้นจากศูนย์ ฝึกฝนจนชำนาญ สู่ “บ้านภูมิเวทเดอะไดมอนด์แบรนด์” วงดนตรีที่มีสมาชิกด้วยกัน 7 คน สามารถขึ้นเวทีโชว์ได้อย่างไม่เคอะเขิน

ด.ช.พงศธร เอี่ยมลาภะ หรือ น้องพีท มือกีตาร์ประจำวง บอกถึงคามรู้สึกที่ได้เล่นดนตรี ว่า เวลาเครียด มาเล่นดนตรี แล้วมีความสุข จากที่ไม่เป็นเลย หัดเล่นมาปีกว่าๆ แล้ว คนที่จะเล่นดนตรีต้องมีใจรักจริงๆ ถึงจะหัดได้ เพราะเครื่องดนตรียากทุกชิ้นขึ้นอยู่กับแนวเพลง ตอนนี้รวมกลุ่มตั้งวงโดยใช้ชื่อวงว่า “บ้านภูมิเวทเดอะไดมอนด์แบรนด์” ซึ่งเคยออกงานมาบ้างแล้ว ในอนาคตก็อยากจะทำเป็นอาชีพเลี้ยงตัวเองด้วย

ดนตรีและเสียงเพลงถือเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการส่งเสริมและพัฒนาเด็กด้อยโอกาส ทำให้เขารู้จักคุณค่าให้ตัวเอง และสร้างจุดยืนอยู่ในสังคมได้อย่างปกติ เฉกเช่น “บ้านภูมิเวทเดอะไดมอนด์แบรนด์”

Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

ระบุข้อความ