ยกระดับคุณภาพชีวิต กลุ่มชาติพันธุ์ ‘มานิ’
แนวคิดพลิกชุมชน วันนี้จะเป็นแนวคิดดีๆ ยกระดับคุณภาพชีวิต เพื่อเพื่อนมนุษย์ อย่างกลุ่มชาติพันธุ์มานิ
‘มานิ’ เป็นชื่อเรียกตัวเองของคนกลุ่มเล็กๆ ที่ดำรงชีวิตอยู่ในผืนป่าเทือกเขาบรรทัดของภาคใต้มานานหลายร้อยปี ที่บางครั้งคนส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับคำว่า ‘เงาะป่า’ หรือ ‘ซาไก’ ซึ่งปัจจุบันมีถิ่นฐานอาศัยอยู่ในผืนป่าเทือกเขาบรรทัดในพื้นที่ของจังหวัดสงขลา พัทลุง สตูล และตรัง ซึ่งในอดีตเป็นป่าดงดิบที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง แต่จากสถานการณ์และความเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ล้วนส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้วิถีชีวิตของมานิเปลี่ยนแปลงไปทั้งแหล่งอาหาร ที่อยู่อาศัย และการที่ต้องปรับตัวเข้ากับชุมชนมากขึ้น โดยกลุ่มชาติพันธุ์มานิในปัจจุบันจึงมีลักษณะการดำรงชีวิตที่แตกต่างกันออกไป 3 ลักษณะคือ
1.กลุ่มที่ยังดำรงชีวิตแบบดั้งเดิมเคลื่อนย้ายที่อยู่หาของป่าล่าสัตว์
2.กลุ่มที่ปรับตัวเริ่มตั้งถิ่นฐาน
3.กลุ่มที่ตั้งถิ่นฐานถาวร
โดยจุดเริ่มต้นของโครงการนั้น นางธัญจิรา ชูบาล พี่เลี้ยงโครงการส่งเสริมสุขภาวะกลุ่มชาติพันธุ์มานิภูมินิเวศน์เทือกเขาบรรทัด ได้เล่าให้แอดฟังว่า ‘กลุ่มชาติพันธุ์มานิในพื้นที่มีประชากรทั้งหมด 33 คนแบ่งออกเป็น 13 ครัวเรือน แบ่งเป็นผู้ใหญ่ 12 คน วัยรุ่น 12 คน เด็กอายุ 1-10 ปี จำนวน 9 คน โดยยังเป็นกลุ่มที่มีการเคลื่อนย้ายที่อยู่ตามแหล่งอาหาร ซึ่งปัญหาของมานิกลุ่มนี้คือการไม่มีบัตรประชาชนทำให้ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิ์ต่างๆ ตามสวัสดิการของรัฐได้ เช่นการเข้าถึงสิทธิการรักษาพยาบาล สิทธิผู้สูงอายุ สิทธ์เด็กแรกเกิด และสิทธิบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งก็ทำให้เด็กๆ ได้รับวัคซีน หรือสมาชิกในชุมชนสามารถไปหาหมอเมื่อเจ็บป่วยได้ ซึ่งก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการที่จะทำให้มานิกลุ่มนี้ได้รับการพัฒนาตัวเองขึ้นไปตามลำดับ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ต้องพัฒนาก็คือเรื่องของการศึกษา โดยเฉพาะเด็กๆ เพื่อที่จะได้มีความรู้เท่าทันกับโลกข้างนอก รวมไปถึงองค์ความรู้ในการดำรงชีวิตด้วยการเพาะปลูกพืชอาหาร หรือเลี้ยงสัตว์ เนื่องจากทุกวันนี้อาหารจากป่านับวันจะน้อยลงไปทุกที
หากพื้นที่ใดมีกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ สามารถนำแนวคิดดีๆ แบบนี้ไปปรับใช้กันได้นะคะโครงการดีๆ ยังมีอีกมากมาย สามารถดูโครงการอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ >> https://bit.ly/3jO1lrv