โครงการชุมชนจักรยานเพื่อสุขภาวะตำบลโคกเพชร อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษโครงการชุมชนจักรยานเพื่อสุขภาวะตำบลหายโศก อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์

สรุปสาระสำคัญ

โครงการนี้มีเป้าหมายต้องการส่งเสริมให้คนในชุมชนหันมาใช้จักรยานในชีวิตประจำวันเพิ่มมากขึ้น จึงได้ร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ ในชุมชน จัดกิจกรรมรณรงค์ปั่นจักรยาน และการสื่อสารประชาสัมพันธ์กิจกรรมโครงการผ่านช่องทางต่างๆ ในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ทำให้คนได้รับรู้ เห็นความสำคัญของการใช้จักรยาน  และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมาใช้จักรยานในชีวิตประจำวันมากขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีการเปลี่ยนแปลงชัดเจน โดยใช้จักรยานสามล้อ หรือ “ซาเล้งสร้างสุข” ในการเดินทางไปทำกิจกรรมต่างๆ และยังใช้ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

 

บทเรียนที่น่าเรียนรู้จากโครงการเพื่อการนำไปขยายผล

1. การเลือกพื้นที่ดำเนินงาน มีคุณลักษณะสำคัญที่เอื้อต่อการดำเนินงานโครงการ ได้แก่ (1) มีลักษณะทางกายภาพพื้นที่ที่เหมาะสม คือ เป็นที่ราบ ไม่มีเนินเขาหรือทางลาดชัน ถนนในชุมชนเป็นถนนคอนกรีต หรือทางไปไร่นาเป็นเป็นดินลุกรังที่มีสภาพดี ไม่เป็นโคลนเวลาฝนตก ทำให้การใช้จักรยานทำได้สะดวก (2) มีเส้นทางปั่นจักรยานหลายเส้นทาง ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวัน (3) คนในพื้นที่มีประสบการณ์ใช้จักรยานในงานรณรณรงค์ ทำให้มีความคุ้นเคยในการใช้ประโยชน์ จนถึงชื่นชอบในการใช้จักรยาน รวมถึงคุ้นเคยกับการทำงานรณณรงค์ด้วยจักรยานร่วมกับหน่วยงาน (4) มีกลุ่มปั่นจักรยานที่รวมกลุ่มปั่นเป็นประจำ และในกลุ่มปั่นประจำมีคนสำคัญในชุมชนเป็นสมาชิกด้วย เช่น ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต. ครู เป็นต้น  อย่างไรก็ตาม พื้นที่ ๆ การเดินทางด้วยจักรยานมีความปลอดภัยอยู่แล้ว มีรถชนิดอื่นวิ่งผ่านน้อย ไม่เคยมีอุบัติเหตุกับผู้ขี่จักรยานมาก่อน ก็อาจไม่เหมาะสมที่จะเลือกเป็นพื้นที่ดำเนินงาน เพราะบางกิจกรรมที่ชุดโครงการออกแบบไว้ จะมีประโยชน์น้อย เช่น การติดตั้งป้ายเตือน หรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ เพื่อความปลอดภัยในการใช้จักรยาน เป็นต้น

2. คุณภาพแบบสอบถาม แบบสำรวจข้อมูลจากส่วนกลาง ขาดคำถามสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนการทำงาน คือคำถามที่ช่วยสร้างความตื่นตัวของประชาชนหลังได้รับข้อมูล เช่น คำถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้จักรยาน สุขภาพของผู้ใช้จักรยานก่อนและหลังโครงการ เป็นต้น ที่น่าจะช่วยกระตุ้นการใช้จักรยานหลังการคืนข้อมูลผลการสำรวจได้  ขณะที่มีคำถามหลายส่วนที่ใช้ประโยชน์ได้น้อยหรือตอบคำถามยาก เช่น คำถามว่ามีหรือไม่มีจักรยาน หรือค่าใช้จ่ายในการเดินทางของครัวเรือน เป็นต้น และไม่ได้ใช้ประโยชน์จริงในพื้นที่ แบบสอบถาม จึงน่าจะถูกออกแบบบนฐานความต้องการใช้ประโยชน์ของแต่ละชุมชนที่แตกต่างกันไป  แต่ส่วนกลางอาจมีแนวคำถาม ที่ให้แต่ละพื้นที่เลือกใช้และออกแบบเพิ่มเติมได้

3. การสร้างเจ้าภาพดำเนินงาน ทั้งการประสานงานและจัดการในพื้นที่ดำเนินงาน ช่วยสนับสนุนให้เกิดการดำเนินกิจกรรมที่ต่อเนื่องทั้งการปั่นในชีวิตประจำวันและการปั่นรณณรงค์หรือบำเพ็ญประโยชน์ในวันสำคัญหรือวันหยุด ที่ส่งผลต่อการรับรู้และพฤติกรรมการใช้จักรยานให้มีความต่อเนื่องไปด้วย ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดกลไกใหม่ๆ ดำเนินการต่อเนื่อง และทำให้เกิดการปั่นในวิถีชีวิตมากขึ้นได้

4. เป้าหมายหลักการปั่นในชีวิตประจำวัน อาจมีขอบเขตคือการปั่นเพื่อทำภารกิจหลักของแต่ละคนในชุมชนหรือขอบเขตพื้นที่ ๆ ไม่ไกลมาก ซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามอายุ อาชีพ หรือภารกิจทางสังคม ดังที่ ผู้สูงอายุ ผู้ใหญ่วัยทำงาน เด็กนักเรียน หรือ อสม. ที่มีภารกิจหลักในแต่ละวันแตกต่างกันไป

5. สร้างการปั่นให้เป็นวิถี ควรต้องเชื่อมโยงการปั่นในชีวิตประจำวันกับการปั่นรณณรงค์หรือบำเพ็ญประโยชน์ในวันสำคัญหรือวันหยุดให้ได้ โดยจะเริ่มจากจุดใดก็ได้ แต่ต้องมีความต่อเนื่องและมีนัดหมายที่แน่นอน เพื่อเพิ่มความคุ้นเคยการใช้จักรยานในการเดินทาง และสร้างเพื่อนร่วมใช้จักรยานในวิถีให้มากขึ้นเรื่อย ๆ

Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

ระบุข้อความ