โครงการชุมชนน่าชายแดนใต้ บ้านมือและห์ ม.1 จ.นราธิวาส
ถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบ โครงการชุมชนน่าชายแดนใต้
บ้านมือและห์ ประเด็นการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
รู้จักบ้านมือและห์
ประวัติศาสตร์ชุมชน ชุมชนบ้านมือและห์ เป็น 1 ใน 7 หมู่บ้านของตำบลสาวอ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 1 ตำบลสาวอ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส ห่างจากอำเภอรือเสาะ 8 กิโลเมตร และจากจังหวัดนราธิวาส 53 กิโลเมตร ชื่อของมือและห์” เพี้ยนมาจากคำว่า “บอมอและ” ซึ่งในภาษาไทย หมายถึง พอดี
ประชากร หมู่บ้านมือและห์ มีประชากรที่อาศัยอยู่จริงทั้งหมด 942 คน แบ่งเป็นเพศชาย 433 คน เพศหญิง 509 คน มีจำวนหลังคาเรือน 190 หลัง มีครอบครัว 226 ครอบครัว มีจำนวนผู้สูงอายุ 86 คนจำแนกประเภทผู้สูงอายุ ติดสังคม 78 คน ติดบ้าน 7 คน และติดเตียง 1 คน
การมีที่ดินทำกิน ครัวเรือนมีที่ดินทำกินเป็นของตนเองโดยไม่ต้องเช่า จำนวน 190 ครัวเรือน
การมีส่วนร่วมและความเข้มแข็งของชุมชน คนในชุมชนมีความรักความสามัคคี ร่วมคิดร่วมทำและร่วมแก้ปัญหา
– เวทีประชุมคณะกรรมการหมู่บ้าน / สภาหมู่บ้าน
– เวทีประชุมประจำเดือนหมู่บ้านทุกเดือน
– เวทีประชาคมหมู่บ้าน
– เวทีประชาธิปไตยตำบลสาวอ
ความไม่น่าอยู่ของบ้านมือและห์
จากการวิเคราะห์ประเมินชุมชนของสภาผู้นำชุมชนบ้านมือและห์เมื่อเข้ามาร่วมดำเนินโครงการชุมชนน่าอยู่ ได้ใช้เครื่องมือต้นไม้ปัญหามาวิเคราะห์ความไม่น่าอยู่ของบ้านมือและห์
การวิเคราะห์จุดอ่อน / จุดแข็งและปัญหา / ศักยภาพของหมู่บ้าน
จุดอ่อน / ปัญหา |
จุดแข็ง / ศักยภาพ |
ด้านเศรษฐกิจและสภาพแวดล้อม |
|
– รายจ่ายมากกว่ารายได้ – สินค้าราคาแพง/ค่าครองชีพสูง – ไม่มีอาชีพเสริม/ว่างงาน – ภาวะหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ – คนในชุมชนยังขาดจิตสาธารณะ/ขาดการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน – ต้นทุนในการผลิตสูง/ราคาผลผลิตตกต่ำ – ไม่มีตลาดรองรับผลผลิตทางการเกษตร – การใช้สารเคมีในการเกษตร – ขยะมูลฝอย/ดินเสื่อม |
– มีภูมิปัญญาท้องถิ่น – มีพื้นทีในการเพาะปลูก/ทำนา/ทำสวนยาง/สวนผลไม้ |
ด้านสุขภาพอนามัยและยาเสพติด |
|
– โรคเรื้อรังเพิ่มสูงมากขึ้นในทุกวัยของคนในชุมชน – ขาดการออกกำลังกาย/อุปกรณ์การออกกำลังกาย – ขาดความรู้ในการดูแลสุขภาพและบริโภคอาหารที่ปลอดภัย – ครอบครัวไม่มีคนดูแล – ครอบครัวแตกแยก – คนในชุมชนไม่ผลิตอาหารกินเอง – ยาเสพติด/การลักเล็กขโมยน้อย |
– มี อสม.ในหมู่บ้านที่พร้อมทำงาน – มีการรณรงค์ในการควบคุมดูแลรักษาสุขภาพ |
ด้านความรู้และการศึกษา |
|
– ไม่มีหลักสูตรการเรียนรู้ท้องถิ่น – ขาดความรู้ในการบริหารจัดการชุมชน – ไม่สนใจข่าวสารและการอ่าน |
– มีแกนนำหมู่บ้านพร้อมจะบริหารจัดการชุมชน – มีแหล่งความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น – มีหน่วยงาน กศน. ในตำบลสาวอ |
ด้านการมีส่วนร่วมและความเข้มแข็งในชุมชน |
|
– มีส่วนร่วมในทำงานของชุมชนน้อย – ขาดการบริหารจัดการกลุ่มที่ดี |
– กิจกรรมตามประเพณีที่ยังก่อการรวมตัวของคนในชุมชนได้ |
ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติฯ |
|
– การใช้สารเคมีในการเกษตร | – มีกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษกินเอง |
ตารางวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา / แนวทางแก้ไข
จุดอ่อน / ปัญหา | สาเหตุของปัญหา | แนวทางแก้ไข | ||
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน | ||||
– การคมนาคมไม่สะดวกถนนเป็นหลุมเป็นบ่อ | – งบประมาณหนุนเสริมมีน้อย – การเพิ่มขึ้นของครัวเรือน – น้ำท่วมขัง |
– ปรับปรุงซ่อมแซมถนน – ส่งเสริมอาชีพ |
||
ด้านเศรษฐกิจ |
||||
– ต้นทุนการผลิตสูง – รายจ่ายมากกว่ารายได้ – ค่าครองชีพสูง – ราคาผลผลิตตกต่ำ – ครัวเรือนมีหนี้สิน |
– ขาดการมีส่วนร่วม – การบริโภคฟุ่มเฟือย – ไม่มีการรวมกลุ่มกันทำ – ค่าใช้จ่ายสูง/สินค้าราคาแพง – มีรายได้ไม่ต่อเนื่อง – เงินลงทุนมีน้อย |
– สร้างการเรียนรู้ในการบริหารจัดการกลุ่ม – ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น – สร้างฐานการผลิตอาหารเอง เช่น ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ ทำนา กินเอง – ผลิตพลังงานทดแทน – จัดหาทุนในการประกอบอาชีพ – สร้างอาชีพเสริม – สร้างงานในหมู่บ้าน – จัดตั้งร้านค้าประชารัฐ – ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพใช้เอง |
||
ด้านสุขภาพและยาเสพติด |
||||
– สุขภาพอนามัย/โรคเรื้อรัง – การบริโภคอาหารปนเปื้อน – ขาดความรู้ในการดูแลสุขภาพ – ขาดความตระหนักในการดูแลตัวเอง |
– การใช้สารเคมี – กินอาหารไม่ถูกสุขลักษณะ – ขาดการออกกำลังกาย |
– ลดการใช้สารเคมี – ส่งเสริมการออกกำลังกาย – ตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือด – ตรวจสุขภาพปี ละ 2 ครั้ง – ลดการบริโภคอาหารปนเปื้อน ผลิตอาหารกินเอง – จัดบริการด้านการรักษา ส่งเสริมด้านสุขภาพอย่างจริงจัง |
||
ด้านความรู้และการศึกษา |
||||
– ขาดความรู้ในการบริหารจัดการชุมชน – ไม่สนใจข่าวสารและการอ่าน – ไม่มีหลักสูตรการเรียนรู้ท้องถิ่น |
– ไม่มีโอกาสในการเรียนรู้
|
– ยกระดับเศรษฐกิจครัวเรือนให้มีรายได้และสามารถพึ่งตนเองได้ – ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ให้กับตัวแทนครัวเรือนในเรื่องการผลิตและบริโภคอาหารที่ปลอดภัย – อบรมให้ความรู้เรื่องการบริหารจัดการชุมชน |
||
ด้านการมีส่วนร่วมฯ |
||||
– มีส่วนร่วมในทำงานของชุมชนน้อย – ขาดการบริหารจัดการกลุ่มที่ดี |
– ไม่เห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมในชุมชน – ไม่มีเวลา มุ่งทำงานหารายได้ – ขาดการรวมกลุ่มเพื่อทำงานกลุ่ม |
– จัดกิจกรรมส่งเสริมการทำงานแบบมีส่วนร่วม – สร้างกลุ่ม รวมกลุ่มจากอาชีพหลักให้มากขึ้น – ส่งเสริมให้ครัวเรือนมีอาชีพเสริม – อบรมให้ความรู้เรื่องการตั้งกลุ่มอาชีพ |
||
ด้านทรัพยากรธรรมชาติฯ |
||||
– การใช้สารเคมีในการเกษตร
|
– โฆษณาชวนเชื่อ – ใช้แล้วเห็นผลทันที – การเห็นแก่ตัว |
– ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยชีวภาพ – รวมกลุ่มผลิตปุ๋ยชีวภาพ – ส่งเสริมการผลิตอาหารที่ปลอดภัย |
||
– การปลูกพืชเชิงเดี่ยว | – การส่งเสริมจากภาครัฐ | – การคืนพันธุกรรมท้องถิ่น – การทำสวนผสมผสาน – การเพิ่มพันธุกรรมในพื้นที่สวนยาง |
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
การก่อตัวสภาผู้นำชุมชนเข้มแข็งบ้านมือและห์
ในปี พ.ศ. 2564 ชุมชนบ้านมือและห์เข้าร่วมโครงการชุมชนน่าอยู่ของ สสส. โดยมีนายธีระสรรค์ เจะเลาะ ผู้ใหญ่บ้านนำทีมพัฒนาศักยภาพสภาผู้นำชุมชน เน้นการแก้ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ โดยใช้กลไกสภาผู้นำชุมชนเริ่มจาก 5 คน ที่เข้าร่วมประชุมออนไลน์กับหน่วยจัดการชุมชนน่าอยู่ชายแดนใต้ และได้รับการฝึกอบรมเรื่องการวิเคราะห์ปัญหาและจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ หลังจากนั้นข้อมูลนี้ถูกขยายผลในการประชุมคณะกรรมการหมู่บ้าน จนทำให้สมาชิกเพิ่มขึ้นเป็น 15 คน ซึ่งประกอบด้วยหลายกลุ่ม เช่น คณะกรรมการหมู่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุข กลุ่มสตรี ผู้สูงอายุ และเยาวชน
โครงสร้างและการบริหารจัดการด้วยกลไกสภาชุมชน
การก่อตั้งสภาผู้นำชุมชนบ้านมือและห์มีเป้าหมายเพื่อให้การดำเนินงานของสภามีประสิทธิภาพ โดยการประชุมหารือร่วมกันเพื่อกำหนดโครงสร้างและคัดเลือกบุคคลในการดำเนินงาน ดังนี้:
ประธาน: ผู้ใหญ่บ้าน นายธีระสรรค์ เจะเลาะ
รองประธาน: นายมะยา บือซา (ผรส.)
ประชาสัมพันธ์: นางสาวมาซีเตาะห์ ดือราแม (ผรส.)
เลขานุการ: นางรอซือนะ ดือเร๊ะ
ที่ปรึกษา: นายลอเย็ง วาหลง (อีหม่าม)
บันทึกกิจกรรม: นางสาววิภา กามาสะ (บัณฑิตอาสามาตุภูมิ)
การคัดเลือกตำแหน่งเหล่านี้ช่วยให้การบริหารงานของสภาผู้นำชุมชนมีความชัดเจนและมีประสิทธิภาพในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ต่อไป
ภาวะการนำ
ผู้ใหญ่บ้านบ้านมือและห์เป็นผู้นำที่ได้รับตำแหน่งจากการคัดเลือกไม่ใช่การเลือกตั้ง และได้รับการยอมรับจากชาวบ้านในเรื่องการบริหารจัดการโดยไม่มีปัญหาความขัดแย้งด้านการเมือง เมื่อได้รับตำแหน่งประธานสภาผู้นำชุมชน เขาจะเข้าร่วมประชุมกับหน่วยงานต่างๆ และแจ้งวาระการประชุมให้ชาวบ้านทราบผ่านช่องทางต่างๆ เช่น โทรศัพท์และไลน์ ทำให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ เช่น การรณรงค์ฉีดวัคซีนโควิด และตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ
กระบวนการและกิจกรรมที่นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงที่บ้านมือและห์
กิจกรรมประชุมสภาผู้นำชุมชนบ้านมือและห์จัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง 12 ครั้ง โดยมีสมาชิก 15 คนร่วมประชุมทุกเดือน การประชุมทำให้สมาชิกสามารถรับทราบปัญหาและข้อหารือจากเวทีต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งกำหนดกติกาชุมชน 3 ข้อ ได้แก่ การมาประชุมทุกเดือน, ห้ามสูบบุหรี่ขณะประชุม, และการมีส่วนร่วมในการทำงานทุกคน
ในช่วงเริ่มต้น การประชุมเน้นที่การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ โดยมีการแบ่งการดูแลผู้สูงอายุ 96 คนใน 7 โซนตามการรับผิดชอบของสมาชิกสภาผู้นำชุมชน ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขและทีมปกครอง เพื่อดำเนินงานติดตามการออกกำลังกาย, เยี่ยมบ้าน, และตรวจวัดความดันโลหิตสูง รวมทั้งสำรวจข้อมูลสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชน
ชมรมผู้สูงอายุบ้านมือและห์ถูกจัดตั้งขึ้นโดยการสำรวจข้อมูลและเปิดรับสมัครผู้สูงอายุอายุ 55 ปีขึ้นไปเข้าร่วม ซึ่งมีสมาชิกปัจจุบัน 60 คน โดยมีนายมาหะมะ อับแดเสาะ เป็นประธานชมรม มีคณะทำงาน 25 คน กิจกรรมในชมรมประกอบด้วย การตรวจสุขภาพ การออกกำลังกาย การให้ความรู้ด้านโภชนาการ และการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุที่ติดบ้านหรือติดเตียง รวมถึงการติดตามการรับประทานยาและการพบแพทย์ตามนัด ผลลัพธ์ที่ได้คือผู้สูงอายุมีสุขภาพดีขึ้นทั้งร่างกายและจิตใจ
นอกจากนี้ ชมรมยังมีแผนจะเรียนกีรออาตีทุกวันพุธที่มัสยิด และส่งเสริมให้เดินเท้าไปมัสยิดเพื่อการออกกำลังกาย ผู้สูงอายุได้เสนอให้มีกิจกรรมต่อเนื่อง เช่น การใช้สมุนไพรและการทำลูกประคบ และการสร้างชมรมได้ช่วยให้ผู้สูงอายุรวมกลุ่มกันทำกิจกรรม ส่งเสริมการดูแลสุขภาพ และช่วยเหลือในเรื่องการเดินทางไปโรงพยาบาล ทำให้ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจและสุขภาพดีขึ้น
ความเข้มแข็งของสภาผู้นำชุมชนและโอกาสความยั่งยืนในการทำงานของสภาผู้นำบ้านมือและห์
การขับเคลื่อนงานของชุมชนบ้านมือและห์ผ่านสภาผู้นำชุมชนเริ่มต้นจากการรวมกลุ่มของ 5 คน ก่อนขยายไปยังสมาชิกในชุมชนมากขึ้น โดยมีเป้าหมายให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของหมู่บ้าน ผ่านการวิเคราะห์ปัญหาด้วยเครื่องมือ เช่น ต้นไม้ปัญหา และการพัฒนาแผนชุมชนพึ่งตนเอง ซึ่งจะมีการติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
สภาผู้นำชุมชนมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างพลังชุมชนและขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง โดยใช้กลไกต่าง ๆ เช่น บันไดผลลัพธ์เชิงประเด็น ซึ่งช่วยให้สภาผู้นำมีสมรรถนะในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การสนับสนุนจากทีมหน่วยจัดการชายแดนใต้เป็นปัจจัยสำคัญในการเสริมสร้างความเข้มแข็งและความสำเร็จให้กับชุมชนบ้านมือและห์
ผลการประเมินความเข้มแข็งของชุมชน 9 มิติบ้านมือและห์
มิติที่ 1 การมีส่วนร่วม ผลการประเมินชุมชนครั้งที่ 1 พบว่าอยู่ในระดับที่ 1 เนื่องจากมีสมาชิกเข้าร่วมประชุมและกิจกรรมน้อยกว่า 50% จากจำนวน 190 ครัวเรือน โดยมีผู้เข้าร่วม 60 คน และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจไม่มากนัก แต่เมื่อประเมินผลการดำเนินงานในระยะเวลา 1 ปี พบว่าเพิ่มขึ้นเป็นระดับที่ 3 โดยมีสมาชิกเข้าร่วมประชุมและกิจกรรม 120 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 63.15 สมาชิกกล้าแสดงความคิดเห็นและร่วมตัดสินใจในการแก้ปัญหาในชุมชนมากขึ้น โดยมีการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ เช่น งานเมาลิดสัมพันธ์ และงานประเพณีปีใหม่อิสลาม
มิติที่ 2 ผู้นำชุมชน ผลการประเมินครั้งที่ 1 อยู่ในระดับที่ 2 โดยผู้นำทุกกลุ่มเข้าร่วมเป็นสภาผู้นำชุมชนบ้านมือและห์ ซึ่งสามารถขับเคลื่อนงานตามแผนได้ดีในครั้งล่าสุด แต่ยังต้องการการกระตุ้นจากทีมสนับสนุนวิชาการเป็นบางครั้ง เพื่อพัฒนาทักษะการทำงานร่วมกันทั้งในและนอกชุมชนให้ดียิ่งขึ้น
มิติที่ 3 โครงสร้างองค์กร ผลการประเมินครั้งที่ 1 พบว่าสภาผู้นำชุมชนบ้านมือและห์อยู่ในระดับ 2 โดยมีโครงสร้างที่ชัดเจน ครอบคลุมทุกกลุ่มในชุมชน มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ในการทำงานโครงการและประชุมทุกเดือน สภาผู้นำดำเนินกิจกรรมโครงการตามแผนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถทำงานร่วมกันทั้งในชุมชนและกับองค์กรอื่น รวมถึงมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และได้รับการสนับสนุนจากทีมวิชาการบางครั้ง
มิติที่ 4 การประเมินปัญหา ผลการประเมินครั้งที่ 1 อยู่ในระดับ 2 เนื่องจากชุมชนบ้านมือและห์ยังขาดข้อมูลเชิงสถานการณ์ในการประเมินปัญหา แต่หลังจากที่สภาผู้นำชุมชนได้รับการพัฒนาทักษะและความรู้จากหน่วยจัดการ ชุมชนจึงสามารถจัดเก็บและรวบรวมข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ ทำให้ผลการประเมินครั้งล่าสุดอยู่ในระดับ 3 โดยสามารถวิเคราะห์และประเมินปัญหาได้ดีขึ้น
มิติที่ 5 การระดมทรัพยากร ผลการประเมินพบว่าครั้งที่ 1 สภาผู้นำชุมชนอยู่ในระดับ 1 คือยังไม่มีการดำเนินการระดมทรัพยากรใดๆ ภายในชุมชน แต่เมื่อใกล้สิ้นสุดโครงการ สภาผู้นำได้ปรับปรุงและอยู่ในระดับ 2 ซึ่งมีแผนชุมชนพึ่งตนเอง พร้อมกำหนดการใช้ทรัพยากรทั้งภายในและนอกชุมชนในแผนที่วางไว้
มิติที่ 6 การเชื่อมโยงกับบุคคลและองค์กรภายนอก ผลการประเมินครั้งที่ 1 พบว่า สภาผู้นำชุมชนอยู่ในระดับ 1 สามารถติดต่อขอความร่วมมือจากบุคคลหรือองค์กรภายนอกได้บางส่วนตามแผนพึ่งตนเอง ต่อมาหลังดำเนินโครงการ สภาผู้นำชุมชนได้ประเมินอีกครั้งและพบว่าอยู่ในระดับ 2 ซึ่งสามารถสร้างข้อตกลงและประสานงานขอรับงบประมาณจากองค์กรภายนอก เช่น อบต. ในการแก้ไขปัญหาชุมชนได้แล้ว
มิติที่ 7 การตั้งคำถามเพื่อการเรียนรู้ “ถามว่าทำไม” ผลการประเมินพบว่าในช่วงแรก สภาผู้นำชุมชนยังไม่ตั้งคำถามเชิงวิจารณญาณเกี่ยวกับปัญหาชุมชน แต่หลังดำเนินโครงการเสร็จ ชุมชนเริ่มถามเหตุผลและประโยชน์ที่ได้จากการทำโครงการ ทำให้การตัดสินใจมีความรอบคอบและเป็นประโยชน์มากขึ้น
มิติที่ 8 ความสัมพันธ์กับองค์กรภายนอก ผลการประเมินการดำเนินโครงการครั้งที่ 1 และครั้งล่าสุดอยู่ในระดับที่ 2 ซึ่งหมายถึงพี่เลี้ยงต้องดูแลและควบคุมการดำเนินงานอย่างใกล้ชิด โดยสภาผู้นำชุมชนเป็นผู้ตัดสินใจหลัก ส่วนพี่เลี้ยงทำหน้าที่อำนวยความสะดวกและให้คำปรึกษาในเรื่องต่างๆ เช่น การฝึกอบรม การจัดทำบัญชีการเงิน การรายงานผล และการเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน ทีมสนับสนุนวิชาการยังคงให้คำปรึกษาเพิ่มเติมเมื่อจำเป็น
มิติที่ 9 การบริหารจัดการโครงการ ผลการประเมินสภาผู้นำชุมชน พบว่าในการประเมินครั้งที่ 1 อยู่ในระดับที่ 2 ซึ่งบริหารจัดการภายใต้การดูแลของพี่เลี้ยง โดยมีการตัดสินใจร่วมกันและมีเอกสารข้อตกลง ส่วนในการประเมินครั้งล่าสุดอยู่ในระดับที่ 3 สภาผู้นำชุมชนสามารถบริหารจัดการได้เอง โดยพี่เลี้ยงทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาเฉพาะในบางด้าน สภาผู้นำสามารถเก็บข้อมูลได้ แต่ยังต้องพึ่งพาพี่เลี้ยงในการวิเคราะห์และปรับแผนงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์
สรุปผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงเมื่อมีการขับเคลื่อนของสภาผู้นำ