โครงการชุมชนน่าอยบ้านบาโงมูลง: เยาวชน ลด ละ เลิกบุหรี่ บ้านบาโงมูลง ปี 2564

ถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบ โครงการชุมชนน่าอยบ้านบาโงมูลง ตำบลเตราะบอน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
กลไกสภาผู้นำเข้มแข็งสู่เยาวชน ลด ละ เลิกบุหรี่ ชุมชนบ้านบาโงมูลง
โดย หน่วยจัดการพัฒนาศักยภาพภาคีพื้นที่ภาคใต้ ตุลาคม 2564

รู้จักบ้านบาโงมูลง

ประวัติศาสตร์ชุมชน หมู่บ้านบาโงมูลง ตั้งอยู่ในตำบลเตราะบอน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี มีพื้นที่ 1,578 ไร่ ชื่อ “บาโงมูลง” มาจากเนินสูงทางทิศเหนือของหมู่บ้านที่เรียกว่า “บาโง” และต้นลานต้นหนึ่งที่ขึ้นอยู่บนเนินเรียกว่า “มูลง” หมู่บ้านอยู่ห่างจากอำเภอสายบุรี 7 กม. และห่างจากจังหวัดปัตตานี 36 กม.

ประชากร ทั้งหมด 849 คน โดยแยกชายจำนวน 432 คน หญิง จำนวน 417 คน
– มีครัวเรือนทั้งสิ้น 170 ครัวเรือน
– กลุ่มเปราะบาง คือ จำนวนผู้สูงอายุ 87 คน ผู้พิการ 7 คน

การประกอบอาชีพ ประกอบด้วย
– ภาคเกษตร ทำนา 12 คน และทำสวน 158 คน
– นอกภาคเกษตร ค้าขาย 35 คน คือ อาชีพรับจ้าง 196 คน รับราชการ 26 คน ธุรกิจส่วนตัว 42 คน

ศิลปวัฒนธรรม / ประเพณีที่สำคัญ / ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่มีอยู่ในพื้นที่ได้แก่ วันฮารีรายอ เดือน เซาวัล , ซูลฮีญะห์ ,วันอาซูรอ เดือนมูฮัรรัม วันเมาลิด เดือนรอบีอุลอัลวัล, การเข้าสุนัต

ข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้านตาม จปฐ. และ กฃฃ.๒ค. เช่น ข้อมูลประขากรตามช่วงอายุ ข้อมูลผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง ข้อมูลด้านสุขภาพ ข้อมูลด้านการศึกษา การประกอบอาชีพ การว่างงาน เป็นต้น ข้อมูลประชากรพื้นที่ หมู่ที่ ๖ ตำบลเตราะบอน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

การมีส่วนร่วมและความเข้มแข็งของชุมชน คนในชุมชนมีความรักความสามัคคี ร่วมคิดร่วมทำและแก้ปัญหาโดยมีกระบวนที่นำมาแก้ไข ดังนี้
– เวทีประชุมคณะกรรมการหมู่บ้าน / สภาหมู่บ้าน
– เวทีประชุมประจำเดือนหมู่บ้านทุกเดือน
– เวทีประชาคมหมู่บ้าน

ความไม่น่าอยู่ของบ้านบาโงมูลง
              จากการวิเคราะห์ประเมินชุมชนของสภาผู้นำชุมชนบ้านบาโงมูลงเมื่อเข้ามาร่วมดำเนินโครงการกับชุดโครงการชุมชนน่าอยู่ ได้ใช้เครื่องมือสามเหลี่ยมปัญหา และต้นไม้ปัญหามาวิเคราะห์ความไม่น่าอยู่ของบ้านบาโงมูลง

การวิเคราะห์จุดอ่อน / จุดแข็งและปัญหา / ศักยภาพของหมู่บ้าน

จุดอ่อน / ปัญหา

จุดแข็ง / ศักยภาพ

ด้านเศรษฐกิจและสภาพแวดล้อม

– สินค้าราคาแพง
– ประชาชนมีรายได้น้อย
– ไม่มีงบประมาณสนับสนุนการฝึกอบรมอาชีพ
– ศัตรูพืช
– ค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำดื่มและวัตถุดิบในการซื้ออาหาร
– เงินกู้ กองทุนเงินล้านและปัญหาหนี้สินต่างๆ รวมทั้งค่าเล่าเรียนบุตร
– มีอาชีพที่ไม่แน่นอน
– มีการขโมยผลผลิตทางการเกษตร เช่น ยางพารา ต้นกล้ายางพารา
– ยาเสพติด
– วัยรุ่นก่อกวน สร้างความเดือดร้อน
– ประชาชนว่างงาน
– บางช่วงสภาพอากาศไม่อำนวยทำให้มีอุปสรรคในการทำงาน
– พื้นที่ป่าต้นน้ำแห้งแล้ง
– ขาดแคลนน้ำช่วงฤดูแล้ง
– มีแหล่งเงินทุนของชุมชน เช่น กลุ่มออมทรัพย์ กองทุนหมู่บ้านฯ
– มีภูมิปัญญาท้องถิ่น
– มีผลผลิตทางการเกษตรในพื้นที่
– สามารถประกอบอาชีพในหมู่บ้านได้
– มีอาชีพที่หลากหลายด้านสังคม– การมีส่วนร่วมในชุมชน ประโยชน์ส่วนรวม
– สืบทอดจารีตประเพณี ขนบธรรมเนียม
– ยืดมั่นในหลักคำสอนของศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัด
– การรวมกลุ่มของประชาชนเข้มแข็ง
– ผู้นำท้องถิ่น/ผู้องค์กร เข้มแข็ง
– ภายในหมู่บ้านมีระดับความปลอดภัยสูง

ด้านสุขภาพอนามัยและยาเสพติด

– โรคเรื้อรังเพิ่มสูงมากขึ้นในทุกวัยของคนในชุมชน
– ขาดการออกกำลังกาย/อุปกรณ์การออกกำลังกาย
– ขาดความรู้ในการดูแลสุขภาพและบริโภคอาหารที่ปลอดภัย
– คนในชุมชนไม่ผลิตอาหารกินเอง
– ติดยาเสพติด
– ครอบครัวแตกแยก
มี อสม.ในหมู่บ้านที่พร้อมทำงาน
– มีการรณรงค์ในการควบคุมดูแลรักษาสุขภาพ

ด้านความรู้และการศึกษา

– ขาดความรู้ในการบริหารจัดการชุมชน
– ไม่สนใจข่าวสารและการอ่าน
– ไม่มีหลักสูตรการเรียนรู้ท้องถิ่น
มีแกนนำหมู่บ้านพร้อมจะบริหารจัดการชุมชน
– มีแหล่งความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น

ด้านการมีส่วนร่วมและความเข้มแข็งในชุมชน

– มีส่วนร่วมในทำงานของชุมชนน้อย
– ขาดการบริหารจัดการกลุ่มที่ดี
กิจกรรมตามประเพณีที่ยังก่อการรวมตัวของคนในชุมชนได้

ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติฯ

– การใช้สารเคมีในการเกษตร มีกลุ่มทำนาปลอดสารพิษ
– มีกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ

ตารางวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา / แนวทางแก้ไข

จุดอ่อน / ปัญหา

สาเหตุของปัญหา แนวทางแก้ไข

ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

– ไม่มีประปาหมู่บ้าน
– ถนนชำรุด
รถบรรทุกเกินน้ำหนัก
– งบประมาณหนุนเสริมมีน้อย
– การเพิ่มขึ้นของครัวเรือน
– น้ำเป็นตะกอนบริโภคไม่ได้
– น้ำท่วมขัง
ปรับปรุงซ่อมแซมถนน
– ติดตั้งเครื่องกรองน้ำ
– ขุดเจาะน้ำประปาหมู่บ้าน

ด้านเศรษฐกิจ

– ต้นทุนการผลิตสูง
– รายจ่ายมากกว่ารายได้
– ค่าครองชีพสูง
– ราคาผลผลิตตกต่ำ
– หนี้สิน
ขาดการมีส่วนร่วม
– การบริโภคฟุ่มเฟือย
– ราคาต้นทุนการผลิตสูง
– ไม่มีการรวมกลุ่มกันทำ
– ค่าใช้จ่ายสูง/สินค้าราคาแพง
– มีรายได้ไม่ต่อเนื่อง
– เงินลงทุนมีน้อย
สร้างการเรียนรู้ในการบริหารจัดการกลุ่ม
– ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น
– สร้างฐานการผลิตอาหารเอง (ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์)
– ผลิตพลังงานทดแทน
– จัดหาทุนในการประกอบอาชีพ
– สร้างอาชีพเสริม
– สร้างงานในหมู่บ้าน
– จัดตั้งร้านค้าประชารัฐ
– ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพใช้เอง

ด้านสุขภาพและยาเสพติด

– สุขภาพอนามัย/โรคเรื้อรัง
– การบริโภคอาหารปนเปื้อน
– ขาดความรู้ในการดูแลสุขภาพ
– วัยร่นติดยาเสพติด
การใช้สารเคมี
– กินอาหารไม่ถูกสุขลักษณะ
– ขาดการออกกำลังกาย
– หน่วยบริการสาธารณสุขส่งเสริมอย่างไม่จริงจัง
– ว่างงาน อยู่ในกลุ่มที่ติดยาเสพติด
ลดการใช้สารเคมี
– ส่งเสริมการออกกำลังกาย
– ตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือดให้คนในชุมชน
– ตรวจสุขภาพปี ละ 2 ครั้ง
– ลดการบริโภคอาหารปนเปื้อน ผลิตอาหารกินเอง
– จัดบริการด้านการรักษา ส่งเสริมสุขภาพอย่างจริงจัง
– ก่อสร้างหลังคาคลุมลานกีฬา
– การอบรมโทษภัยยาเสพติดแก่เยาวชน
– การจัดค่ายอบรมเยาวชน

ด้านความรู้และการศึกษา

– ขาดความรู้ในการบริหารจัดการชุมชน
– ไม่สนใจข่าวสารและการอ่าน
– ไม่มีหลักสูตรการเรียนรู้ท้องถิ่น
ไม่มีโอกาสในการเรียนรู้ ยกระดับเศรษฐกิจครัวเรือนให้มีรายได้ พึ่งตนเองได้
– ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ให้กับตัวแทนครัวเรือนในเรื่องการผลิตและบริโภคอาหารที่ปลอดภัย
– อบรมให้ความรู้เรื่องการบริหารจัดการชุมชน

ด้านการมีส่วนร่วมฯ

– มีส่วนร่วมในทำงานของชุมชนน้อย
– ขาดการบริหารจัดการกลุ่มที่ดี
ไม่เห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมในชุมชน
– ไม่มีเวลา มุ่งทำงานหารายได้
จัดกิจกรรมส่งเสริมการทำงานแบบมีส่วนร่วมในชุมชน
– สร้างกลุ่ม รวมกลุ่มจากอาชีพหลักให้มากขึ้น
– ส่งเสริมให้ครัวเรือนมีอาชีพเสริม
– อบรมให้ความรู้เรื่องการตั้งกลุ่มอาชีพ

ด้านทรัพยากรธรรมชาติฯ

– การใช้สารเคมีในการเกษตร โฆษณาชวนเชื่อ
– ใช้แล้วเห็นผลทันที
– การเห็นแก่ตัว
– ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยชีวภาพ
– รวมกลุ่มผลิตปุ๋ยชีวภาพ
– ส่งเสริมการผลิตอาหารที่ปลอดภัย
– การปลูกพืชเชิงเดี่ยว การส่งเสริมจากภาครัฐ – การคืนพันธุกรรมท้องถิ่น
– การทำสวนผสมผสาน
– การเพิ่มพันธุกรรมในพื้นที่สวนยาง

ในปี 2564 ชุมชนบ้านบาโงมูลงได้เข้าร่วมโครงการชุมชนน่าอยู่ โดยมีการก่อตัวของสภาผู้นำชุมชนเพื่อแก้ปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน ภายใต้การนำของโต๊ะอีหม่ามและผู้ใหญ่บ้าน ผ่านกระบวนการพัฒนาศักยภาพและการวิเคราะห์ปัญหาโดยใช้เครื่องมือ “ต้นไม้ปัญหา” พบว่า ปัญหาหลักในชุมชนคือการสูบบุหรี่ในกลุ่มเยาวชน โดยมี 119 คนจาก 170 คน (อายุ 12-25 ปี) สูบบุหรี่ตั้งแต่อายุ 12-14 ปี ผลสำรวจยังพบว่าในชุมชนมีร้านขายบุหรี่ 2 ร้านที่มีราคาถูกและขายตลอด ทำให้มีการสูบบุหรี่มากในทุกครัวเรือนถึง 85% ของครัวเรือนทั้งหมด ขาดการควบคุมและการสร้างเขตปลอดบุหรี่ จึงเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ

ดังนั้น ปัญหาเรื่องแก้ไขปัญหาการลด ละ เลิก พฤติกรรมการสูบบุหรี่และยาสูบในกลุ่มเยาวชนในพื้นที่จึงเป็นประเด็นสำคัญที่คณะทำงานร่วมกันคิดว่าจะต้องแก้ไข เพื่อให้คนในชุมชนมีสุขภาพดีขึ้น สร้างฟื้นที่กิจกรรมร่วมของคนในชุมชนบนฐานทรัพยากรที่ชุมชนมีอยู่ โดยมีการวิเคราะห์ดังนี้

1) สาเหตุของสภาพปัญหา (ข้อมูลสาเหตุของปัญหาจากต้นไม้ปัญหา)
                    ด้านพฤติกรรม
                     – เยาวชนเริ่มสูบบุหรี่ตั้งแต่อายุยังน้อย
– การชอบรวมกลุ่มพบปะ
– ขาดความรู้ความเข้าใจในพิษ ภัย จากการสูบบุหรี่และยาสูบ
– เยาวชนติดบุหรี่ ลดไม่ได้
– หาซื้อง่าย ราคาถูก
– ประชาชนป่วยด้วยโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ 20คน

                   สิ่งแวดล้อมด้านสังคม
                    – ร้านค้าในชุมชนมีทั้งขายบุหรี่ราคาถูก
– ประชาชนนิยมสูบบุหรี่เป็นว่าเล่น
– ไม่มีพื้นที่ปลอดบุหรี่

                   สิ่งแวดล้อมด้านกายภาพ
                    – ขาดแหล่งเรียนรู้พื้นที่ปลอดบุหรี่ในชุมชน
– ไม่มีตนแบบคนลด ละ เลิก บุหรี่ในกลุ่มเยาวชน

2) แนวทางในการดำเนินโครงการ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
การจัดการพัฒนาศักยภาพกลไกสภาผู้นำชุมชนเน้นการเสริมสร้างความเข้มแข็งผ่านการจัดเก็บข้อมูลครัวเรือนเป้าหมาย และการสร้างกติกาข้อตกลงร่วมของชุมชน รวมถึงการวางแผนพัฒนาชุมชนระยะยาว โดยเปิดโอกาสให้สมาชิกในชุมชนแลกเปลี่ยนความรู้ในการลดพฤติกรรมการสูบบุหรี่ พร้อมสนับสนุนแกนนำและเครือข่ายในการจัดการปัญหาภายในชุมชน

3) การเปลี่ยนแปลงหรือผลลัพธ์ที่ชุมชนต้องการเห็น
                     โครงการชุมชนน่าอยู่หมู่บ้านบ้านบาโงมูลง หมู่ที่ 6 ตำบลเตราะบอน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี เน้นการลด ละ เลิก พฤติกรรมการสูบบุหรี่ในกลุ่มเยาวชน เพื่อสร้างพื้นที่ปลอดบุหรี่และส่งเสริมสุขภาพชุมชน โดยดำเนินการตามขั้นตอนหลักดังนี้:
                    – การจัดตั้งสภาผู้นำชุมชน เพื่อวางแผนและดำเนินงานร่วมกันจากผู้นำและแกนนำในชุมชน
                    – การสำรวจข้อมูลชุมชน เพื่อเข้าใจสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชน และนำมาวิเคราะห์ร่วมกับเจ้าหน้าที่
                    – การจัดทำแผนชุมชน โดยใช้ข้อมูลที่ได้ในการส่งเสริมเยาวชนต้นแบบ และวางแนวทางการลดพฤติกรรมการสูบบุหรี่
                    – การกำหนดกติกาชุมชน ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและสร้างข้อตกลงร่วม
                    – การให้ความรู้ เกี่ยวกับอันตรายจากการสูบบุหรี่และการสนับสนุนการลด ละ เลิก สูบบุหรี่
                    – การจัดมหกรรมการลด ละ เลิกบุหรี่ เพื่อสร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ไขปัญหานี้

4) การดำเนินงานของสภาผู้นำชุมชนร่วมกับหน่วยงานหรือภาคีในพื้นที่ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในประเด็นที่เลือกดำเนินการ โดยชุมชนเน้น
1.มีโครงสร้างที่มาจากแกนนำ เครือข่ายที่หลากหลายในชุมชนและบทบาทของสภาผู้นำชุมชนที่เข้มแข็งและชัดเจน
1.1 มีการประชุมสม่ำเสมอและมีรายงานการประชุมทุกครั้ง
1.2 มีการทบทวนโครงสร้างสภาและการแบ่งบทบาทหน้าที่
1.3 สภาเป็นที่ยอมรับของคนในชุมชนและเป็นต้นแบบในการสร้างเสริมสุขภาพ
1.4 มีบทบาทหน้าที่ในการเก็บข้อมูลเพื่อทำแผนชุมชน และติดตามประเมินผลลัพธ์ความสำเร็จ การขับเคลื่อนงานตามแผนชุมชน
1.5 สามารถวิเคราะห์ปัญหาชุมชนและนำมาหารรือหรืออกแบบการแก้ปัญหาแบบมีส่วนร่วมกับสภาผู้นำชุมชนและคนในชุมชน
1.6 สภาผู้นำชุมชนมีการติดตามประเมินผล การดำเนินงานและออกแบบกิจกรรมเพื่อความเข้มแข็งได้อย่างต่อเนื่อง

หน่วยงานหรือภาคีในพื้นที่ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในประเด็นที่เลือกดำเนินการ
             1. เจ้าหน้าที่รพสต.เตราะบอนสนับสนุนเป็นพี่เลี้ยง วิทยากรในการให้ความรู้เกี่ยวกับข้อมูลสุขภาพ
2. เทศบาลตำบลเตราะบอนสนับสนุนบุคคลากรในการวิเคราะห์ข้อมูล
3. ปราชญ์ชุมชน โต๊ะครู ให้ความรู้เกี่ยวกับการหลักการศาสนาว่าด้วยการสูบบุหรี่

กระบวนการนี้ทำให้เกิดการขยายสมาชิกสภาผู้นำชุมชนจาก 18 คน เป็น 21 คน โดยมีตัวแทนจากหลายกลุ่ม เช่น คณะกรรมการหมู่บ้าน, มัสยิด, กลุ่มสตรี, อสม., เยาวชน, ข้าราชการ, และปราชญ์ชุมชน การชักชวนทั้งทางตรงและอ้อมช่วยให้มีคนเข้าร่วมมากขึ้น โดยแกนนำสภาผู้นำได้นำความรู้จากการศึกษาเรียนรู้ที่บ้านม่วงเงินมาปรับใช้เพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง

ตารางที่ 1 บทเรียนการทำงานของบ้านม่วงเงินที่บ้านบาโงมูลงนำมาประยุกต์ใช้

บทเรียนของบ้านม่วงเงิน สิ่งที่บ้านบาโงมูลงนำมาปรับใช้
1. การดึงเอาคนดีคนเก่งในชุมชนเข้ามาทำงานร่วมกัน บ้านบาโงมูลงใช้วิธีเชิญชวนทั้งส่วนตัวและผ่านเวทีประชาคมหมู่บ้านเพื่อดึงคนดีคนเก่งเข้ามาทำงาน แต่ยังขาดโครงการที่ชัดเจนในหมู่บ้าน ทำให้ได้กลุ่มเป้าหมายบางกลุ่มเท่านั้น
2. ใช้ประเด็นปากท้องเป็นประเด็นเริ่มต้นในการชักชวนคนมาร่วมแก้ปัญหา บ้านบาโงมูลงได้ใช้ข้อมูลเกี่ยวกับการประกอบอาชีพเกษตรซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนในชุมชน มาเป็นประเด็นชวนคนมาเป็นแกนนำสภาผู้นำ และชวนกันแก้ปัญหาชุมชน ซึ่งได้ผลดี เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคนส่วนใหญ่ในชุมชน
3. การใช้ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการคืนข้อมูลให้กับชุมชนเป็นระยะ บ้านบาโงมูลให้ความสำคัญกับข้อมูลเศรษฐกิจ โดยใช้เครื่องมือ “หม้อรูรั่ว” ร่วมกับพี่เลี้ยง เพื่อช่วยชุมชนและครัวเรือนวิเคราะห์แหล่งรายได้และรายจ่ายที่รั่วออกไป และหาวิธีอุดรูรั่วเหล่านั้นให้ได้ผลดีที่สุด
4. การพัฒนาคนเพื่อให้มีความสามารถในการแก้ปัญหาได้อย่างเป็นระบบ บ้านบาโงมูลงได้ใช้เวทีประชุมสภาผู้นำชุมชนเป็นพื้นที่ในการพัฒนาศักยภาพของทีมงานเป็นระยะ มีพี่เลี้ยงคอยให้คำปรึกษา ละใช้เครื่องมือต่างๆมาแก้ปัญหา และสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาร่วมกันของคนในชุมชน
5. การสร้างการมีส่วนร่วมของคนทุกฝ่าย และใช้กฎกติกาชุมชนแก้ปัญหา บ้านบาโงมูลงได้มีการจัดประชาคมและวางกติกาต่างๆในการลด ละ เลิก การสูบบุหรี่ของกลุ่มเยาวชน โดยอาศัยหลักการทางศาสนาเป็นแนวปฏิบัติ

วิธีการชวนคนมาเป็นสภาผู้นำชุมขนบ้านบาโงมูลง
               ความน่าสนใจในการชวนคนเข้าร่วมเป็นสภาผู้นำชุมชนบ้านบาโงมูลง ซึ่งแม้ว่าเดิมบ้านบาโงมูลงจะมีการทำงานร่วมกันอยู่บ้าง แต่ก็ยังไม่เข้มแข็งเท่าที่ควรนั้น แกนนำบ้านบาโงมูลงใช้ 2 วิธีหลักในการชักชวนคนเข้าร่วม คือ

1. การเชิญชวนโดยตรงคือการชักชวนผู้ที่มีบทบาทในชุมชน เช่น กรรมการหมู่บ้านหรือแกนนำกลุ่มต่างๆ เพื่อให้เข้าใจปัญหาและเป้าหมายที่ต้องการเปลี่ยนแปลง โดยเน้นการพูดถึงปัญหาชุมชนและผลกระทบในอนาคต เพื่อดึงดูดให้ผู้คนเข้าร่วมกิจกรรมมากขึ้น
2. การชักชวนโดยทางอ้อมเกิดขึ้นหลังจากการชักชวนโดยตรง เมื่อผู้เข้าร่วมเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงจากการทำงานของสภาผู้นำ พวกเขาจะเริ่มชักชวนคนอื่นๆ โดยเฉพาะเยาวชนและกลุ่มที่เคยเห็นต่าง เพื่อให้เข้ามาร่วมเป็นแกนนำต่อไป ด้วยข้อมูลและประสบการณ์ที่ตนเองได้รับจากการดำเนินงานจริง

โครงสร้างและการบริหารจัดการด้วยกลไกสภาชุมชน

สภาผู้นำชุมชนบ้านบาโงมูลงได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อเสริมสร้างกลไกการบริหารจัดการชุมชนให้มีประสิทธิภาพ โดยมีการเรียนรู้จากหน่วยจัดการชุมชนน่าอยู่ในการสร้างโครงสร้างสภาผู้นำที่เข้มแข็ง ประกอบด้วยคณะทำงาน 21 คนจากกลุ่มต่างๆ เช่น คณะกรรมการหมู่บ้าน, คณะกรรมการมัสยิด, กลุ่มสตรี, อสม., เยาวชน, ข้าราชการ, และปราชญ์ชุมชน โดยมีการประชุมเดือนละ 1 ครั้งเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและตัดสินใจในประเด็นต่างๆ

สภาผู้นำมีการแบ่งบทบาทหน้าที่อย่างชัดเจนและติดตามผลการดำเนินงานผ่านเครื่องมือ 9 มิติ พร้อมทั้งจัดทำแผนชุมชนและเก็บข้อมูลครัวเรือนเพื่อลำดับปัญหาของชุมชนและแก้ไขปัญหาผ่านโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจาก สสส. นอกจากนี้ยังมีการบริหารจัดการงบประมาณและรายงานผลการดำเนินงานอย่างโปร่งใส รวมทั้งสื่อสารความก้าวหน้าผ่านการประชุมและเครื่องมือหอกระจายข่าวในมัสยิด

การประเมินความเข้มแข็งของชุมชน 9 มิติ สภาผู้นำชุมชนร่วมดำเนินการกับชุมชน

กลไกสภาผู้นำชุมชน

 1. การมีส่วนร่วม  สมาชิกสภาผู้นำ 21 คนและคนในชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมแต่ยังไม่ค่อยแสดงความคิดเห็น เพราะกลัวผิดในช่วงแรก เมื่อเริ่มเจอปัญหาต้องแก้ไข จึงเริ่มตั้งคำถามและแสดงความคิดเห็นมากขึ้น
              2. ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำชุมชน แกนนำชุมชนรวมตัวกันดำเนินงานในชุมชนและได้รับการพัฒนาทักษะการเป็นผู้นำจากหน่วยจัดการชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ปัตตานี – ยะลา
              3. โครงสร้างองค์กร สภาผู้นำชุมชนจัดตั้งสภาตามโครงสร้างจำนวน 21 คน ที่ขาดองค์ประกอบของคณะกรรมการหมูบ้านแต่สามารถดำเนินงานตามแผนงานร่วมกันสำเร็จและเชื่อมประสานองค์ทั้งภายในและภายนอกชุมชนได้ มีการประชุมเดือนละ 1 ครั้ง มีการตั้งกฏกติการของชุมชนขึ้น

แผนชุมชนพึ่งตนเอง

              1. การประเมินปัญหา สภามีหน้าที่เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามครัวเรือน เพื่อนำมาวิเคราะห์ปัญหาและจัดทำแผนชุมชน โดยมีทีมจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลช่วยเป็นที่ปรึกษา เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณและโครงการจาก สสส. และหน่วยงานต่าง ๆ เช่น รัฐและท้องถิ่น
              2. การระดมทรัพยากร สภาสามารถนำแผนชุมชนในการขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงาน สสส.  หน่วยงานความมั่นคงได้
              3. การเชื่อมโยงภายนอก สภาใช้แผนชุมชนในการขอรับการสนับสนุนโครงการในแผนชุมชนจากองค์กร หน่วยงาน ทั้งในชุมชนและนอก

กลไกพี่เลี้ยง

              1. การถามว่าทำไม การประชุมประจำเดือนสภามีการรายงานผลการดำเนินงาน นำมาซึ่งการปรับแผนงาน  แก้ปัญหาหาทางออกแต่ยังมีการตั้งข้อสงสัยหรือคำถามน้อย เนื่องจากไม่กล้าที่จะพูดคุยและตั้งคำถาม จะมีการตั้งคำถามผ่านผู้นำที่มีความกล้าและมีมีความมั่นใจในการพูดๆแทน
    2. บทบาทตัวแทนฯ การดำเนินงานของสภาเริ่มต้นจากการประชุม การวางแผนปฏิบัติการ การวิเคราะห์ตัวชี้วัด การปรับโครงสร้างคณะกรรมการ การกำหนดกติกา สภาดำเนินการเอง เมื่อมีปัญหาที่ไม่แน่ใจว่าจะดำเนินการได้ หรือ ไม่ได้จึงโทรประสานซุปเปอร์พี่เลี้ยงและพี่เลี้ยงในการขอคำปรึกษา
3. การบริหารจัดการ สภาบริหารจัดการรูปแบบโครงสร้างมีการแบ่งบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ สามารถจัดการได้เองทั้งหมด เนื่องจากก่อนดำเนินการหน่วยจัดการมีการปฐมนิเทศ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการโครงการ

ความเข้มแข็งของสภาผู้นำชุมชนและโอกาสความยั่งยืนในการทำงานของสภาผู้นำบ้านบาโงมูลง

การขับเคลื่อนงานของชุมชนบ้านบาโงมูลงเกิดจากการทำงานของสภาผู้นำชุมชน ซึ่งมีพัฒนาการที่เข้มแข็งขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่การรวมกลุ่มและขยายการมีส่วนร่วมของคนในหมู่บ้าน เพื่อร่วมกันจัดการปัญหาและพัฒนาหมู่บ้าน โดยเริ่มจากการพัฒนาข้อมูลเพื่อสร้างแผนพัฒนาชุมชนพึ่งตนเอง

             มิติที่ 1 การมีส่วนร่วม สภาผู้นำชุมชนประกอบด้วยสมาชิก 21 คน จากคณะกรรมการหมู่บ้าน, มัสยิด, กลุ่มสตรี, อสม., เยาวชน, ตัวแทนข้าราชการ และปราชญ์ชุมชน โดยมีการแบ่งบทบาทหน้าที่ชัดเจนตามโครงสร้างที่กำหนด โดยประธานสภาฯ (อิหม่าม) เป็นผู้แต่งตั้ง สมาชิกประชุมเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อออกแบบแผนชุมชนและดำเนินการตามแผน รวมถึงการออกแบบสำรวจข้อมูลพฤติกรรมการสูบบุหรี่และยาสูบ ซึ่งมีการเก็บข้อมูล 3 ครั้ง ได้แก่ ก่อนเริ่มโครงการ, ระหว่างโครงการ และหลังโครงการ พร้อมติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง และมีการจัดทำกติกา มาตรการ และข้อมูลเฝ้าระวังเพื่อพัฒนาและขับเคลื่อนชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ

             มิติที่ 2 ผู้นำชุมชน ผลการประเมินทั้ง 3 ครั้ง พบว่าผู้นำชุมชนมาจากทุกกลุ่ม ทุกองค์กรในชุมชนสามารถทำงานได้ดี มีการพัฒนาทักษะการทำงานร่วมกันได้ทั้งในและนอกชุมชนได้ดี

             มิติที่ 3 โครงสร้างองค์กร ผลการประเมินครั้งที่ 1 พบว่า สภาผู้นำชุมชนอยู่ในระดับ 4 เนื่องจากมีการประชุมสม่ำเสมอและสามารถทำงานร่วมกับกลุ่มและองค์กรอื่นๆ ได้ดี ส่วนผลการประเมินครั้งที่ 2 พบว่า สภาผู้นำยังคงดำเนินการตามแผนงานได้ดี มีการประชุมทุกเดือนและร่วมกิจกรรมกับชุมชนและองค์กรภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับองค์กรอื่นๆ ด้วย

             มิติที่ 4 การประเมินปัญหา ผลการประเมินทั้ง 2 ครั้งพบว่าอยู่ในระดับ 3 ชุมชนมีการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ สามารถนำมาวิเคราะห์ปัญหาได้ดี

             มิติที่ 5  การระดมทรัพยากร ผลการประเมินครั้งที่ 1 พบว่า สภาผู้นำชุมชนมีแผนชุมชนพึ่งตนเองที่สามารถระดมทุนและทรัพยากรจากภายในชุมชนได้ ในระยะเวลา 5 เดือนหลังจากนั้น สภาผู้นำได้ประเมินความเข้มแข็งการระดมทรัพยากรครั้งที่ 2 พบว่า มีแผนชุมชนพึ่งตนเองจากการจัดทำเวทีประชาคมในหมู่บ้านและกำหนดการใช้ทรัพยากร แต่ยังไม่ได้เริ่มดำเนินการตามแผนที่วางไว้

               มิติที่ 6 การเชื่อมโยงกับบุคคลและองค์กรภายนอก ผลการประเมินครั้งที่ 1 พบว่าผู้นำชุมชนสามารถเริ่มติดต่อขอความร่วมมือจากบุคคลหรือองค์กรภายนอกได้บ้างตามแผนพึ่งตนเองของชุมชน ส่วนผลการประเมินครั้งที่ 2 พบว่าผู้นำชุมชนมีข้อตกลงความร่วมมือกับองค์กรภายนอกในการดำเนินโครงการ โดยสามารถประสานงานขอรับงบประมาณจากหลายหน่วยงาน เช่น สำนักงานพัฒนาชุมชนและสำนักงานเกษตรอำเภอ เพื่อส่งเสริมอาชีพได้สำเร็จ

               มิติที่ 7  ความสามารถในการ “ถามว่าทำไม” ผลการประเมินพบว่าในการประชุมสภาผู้นำชุมชนครั้งแรก ชุมชนยังไม่มีการตั้งคำถามเชิงวิจารณ์ แต่ในการประเมินครั้งที่ 2 ชุมชนเริ่มถามมากขึ้นเกี่ยวกับเหตุผลและผลกระทบของการดำเนินการ เพื่อพิจารณาสาเหตุและผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น ทำให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและตรวจสอบความเหมาะสมของการตัดสินใจมากขึ้น

               มิติที่ 8  ความสัมพันธ์กับพี่เลี้ยง ผลการประเมินทั้ง 2 ครั้งอยู่ในระดับ 4 โดยสภาผู้นำชุมชนเป็นผู้ตัดสินใจหลัก ส่วนพี่เลี้ยงช่วยอำนวยความสะดวก ดูแลการฝึกอบรม และสนับสนุนด้านการเงิน การรายงานผล และการเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน

               มิติที่ 9  การบริหารจัดการโครงการ ผลการประเมินทั้ง 2 ครั้ง สภาผู้นำชุมชนสามารถบริหารจัดการได้ดี โดยได้รับการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงในขอบเขตจำกัด สภาผู้นำชุมชนพัฒนาทักษะการบริหารจัดการกิจกรรมตามแผนได้ทันเวลา มีการสรุปผลและร่วมกันแก้ปัญหา ช่วยพัฒนาความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น

กิจกรรมกลไกสภาผู้นำเข้มแข็งสู่เยาวชน ลด ละ เลิก บุหรี่ ชุมชนบ้านบาโงมูลง

   

   

          

   

 

Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

ระบุข้อความ