โครงการชุมชนน่าอยู่ชายแดนใต้: การดูแลผู้สูงอายุ บ้านสาวอ จ.นราธิวาส ปี 2565
ถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบ โครงการชุมชนน่าอยู่ชายแดนใต้
บ้านสาวอ กลไกสภาผู้นำเข้มแข็งสู่ชุมชนเข้มแข็ง : การดูแลผู้สูงอายุ
โดย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสาว ธันวาคม 2565
กลไกสภาผู้นำเข้มแข็งสู่ชุมชนเข้มแข็งผู้สูงอายุสุขภาพดี
รู้จักบ้านสาวอ
บ้านสาวอ ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 6 ตำบลสาวอ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส ห่างจากอำเภอรือเสาะประมาณ 2.5 กม. มีเนื้อที่ 7.151 ตร.กม. หรือ 4,469.37 ไร่ มีประชากร 764 คน (ชาย 366 หญิง 398) แบ่งเป็น 187 ครัวเรือน ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยมุสลิม อาศัยแบบเครือญาติ และมี 3 ชุมชนหลัก ได้แก่ บ้านสือดัน, บ้านสาวอ, และ บ้านสาวอฮีเล ชุมชนค่อนข้างยากจน แต่มีความร่วมมือระหว่างแกนนำและองค์กรในชุมชนอย่างเข้มแข็ง
หมู่ที่ | ชื่อหมู่บ้าน | จำนวนหลังคาเรือน | จำนวนประชากร | รวม | |
ชาย | หญิง | ||||
6 | สาวอ | 187 | 366 | 398 | 764 |
ชาวบ้านส่วนใหญ่มีที่ดินทำกินของตัวเอง แบ่งเป็น 2 ฤดู คือ ฤดูร้อน (มี.ค. – มิ.ย.) และฤดูฝน (ก.ค. – ก.พ. ปีถัดไป) โดยเดือนฝนตกมากที่สุดคือ พ.ย. – ธ.ค. อุณหภูมิเฉลี่ย 27°C ความชื้น 60-80% ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศทำให้ฤดูฝนสั้นลงและฝนตกไม่ตรงฤดูกาล
ชาวบ้านนับถือศาสนาอิสลาม 100% อาชีพหลักคือการเกษตร เช่น ทำสวน ทำนา กรีดยาง แต่ประสบปัญหาราคาพืชผลตกต่ำ ต้องพึ่งพาพ่อค้าคนกลาง และขาดแรงงานในการพัฒนาชุมชน ปัญหาความมั่นคงในพื้นที่ชายแดนใต้ทำให้ชาวบ้านวัยแรงงานย้ายไปทำงานที่อื่น ส่วนใหญ่ในชุมชนจึงเป็นผู้สูงอายุ มีปัญหายาเสพติดและการขาดแคลนกำลังคนที่จำเป็นต่อการพัฒนาชุมชน นอกจากนี้ยังมีปัญหาการลักขโมยเศษยางและมะพร้าวจากชุมชน
ความไม่น่าอยู่ของบ้านสาวอ
จากการวิเคราะห์ประเมินชุมชนของสภาผู้นำชุมชนบ้านสาวอ เมื่อเข้ามาร่วมดำเนินโครงการกับชุดโครงการชุมชนน่าอยู่ ได้ใช้เครื่องมือสามเหลี่ยมปัญหา และต้นไม้ปัญหามาวิเคราะห์ความไม่น่าอยู่ของบ้านสาวอ ซึ่งพบว่า
การวิเคราะห์จุดอ่อน / จุดแข็งและปัญหา / ศักยภาพของหมู่บ้าน
จุดอ่อน / ปัญหา |
จุดแข็ง / ศักยภาพ |
ด้านเศรษฐกิจและสภาพแวดล้อม |
|
– รายจ่ายมากกว่ารายได้ – ภาวะหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ – ต้นทุนในการผลิตสูง/ราคาผลผลิตตกต่ำ – การใช้สารเคมีในการเกษตร – ไม่มีอาชีพเสริม/ว่างงาน – ไม่มีกลุ่มอาชีพที่เป็นรูปธรรม – ไม่มีตลาดรองรับสินค้าในชุมชน – ขยะมูลฝอย/ดินเสื่อม/ไม่มีรถเก็บขยะ – พื้นที่น้ำท่วม |
– มีภูมิปัญญาท้องถิ่น – มีพื้นทีในการผลิตอาหาร – มีกลุ่มปาดีกีตอ – มีกลุ่มทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ |
ด้านสุขภาพอนามัยและยาเสพติด |
|
– โรคเรื้อรังเพิ่มสูงมากขึ้นในทุกวัยของคนในชุมชน – ขาดการออกกำลังกาย/อุปกรณ์การออกกำลังกาย – ขาดความรู้ในการดูแลสุขภาพและบริโภคอาหารที่ปลอดภัย – ยาเสพติด/การลักเล็กขโมยน้อย – ครอบครัวแตกแยก – ไม่มีกองทุน LTC สำหรับดูแลผู้สูงอายุระยะยาว |
– มี อสม.ในหมู่บ้านที่พร้อมทำงาน – มีการรณรงค์ในการควบคุมดูแลรักษาสุขภาพ |
ด้านความรู้และการศึกษา |
|
– ขาดความรู้ในการบริหารจัดการชุมชน – ไม่สนใจข่าวสารและการอ่าน |
– มีแกนนำหมู่บ้านพร้อมจะบริหารจัดการชุมชน – มีแหล่งความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น |
ด้านการมีส่วนร่วมและความเข้มแข็งในชุมชน |
|
– มีส่วนร่วมในทำงานของชุมชนน้อย – ขาดการบริหารจัดการกลุ่มที่ดี |
– กิจกรรมตามประเพณีที่ยังก่อการรวมตัวของคนในชุมชนได้ |
ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติฯ |
|
-การใช้สารเคมีในการเกษตร | – มีกลุ่มทำนาปลอดสารพิษ – มีกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ |
ตารางวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา / แนวทางแก้ไข
จุดอ่อน / ปัญหา |
สาเหตุของปัญหา | แนวทางแก้ไข | ||
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน |
||||
– ถนนภายในหมู่บ้านเป็นลูกรัง | – รถบรรทุกน้ำหนักเกิน | – งดใช้รถบรรทุกขนาดใหญ่ในชุมชน | ||
ด้านเศรษฐกิจ |
||||
– รายจ่ายมากกว่ารายได้ – ค่าครองชีพสูง – ราคาผลผลิตตกต่ำ – หนี้สิน – ว่างงาน |
– ขาดการมีส่วนร่วม – การบริโภคฟุ่มเฟือย – ราคาต้นทุนการผลิตสูง – ไม่มีการรวมกลุ่มกันทำ – ค่าใช้จ่ายสูง/สินค้าราคาแพง – มีรายได้ไม่ต่อเนื่อง – เงินลงทุนมีน้อย |
– สร้างการเรียนรู้ในการบริหารจัดการกลุ่ม – ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น – ผลิตอาหารเอง (ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์) – ผลิตพลังงานทดแทน – จัดหาทุนในการประกอบอาชีพ – สร้างอาชีพเสริม – สร้างงานในหมู่บ้าน – ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพใช้เอง |
||
ด้านสุขภาพและยาเสพติด |
||||
– สุขภาพอนามัย/โรคเรื้อรัง – การบริโภคอาหารปนเปื้อน – ขาดความรู้ในการดูแลสุขภาพ |
– การใช้สารเคมี – กินอาหารไม่ถูกสุขลักษณะ – ขาดการออกกำลังกาย – หน่วยบริการสาธารณสุขไม่ส่งเสริมสุขภาพจริงจัง |
– ลดการใช้สารเคมีในการเกษตร – ส่งเสริมการออกกำลังกาย – ตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือด – ตรวจสุขภาพปี ละ 2 ครั้ง |
||
ด้านความรู้และการศึกษา |
||||
– ขาดความรู้ในการบริหารจัดการชุมชน – ไม่สนใจข่าวสารและการอ่าน – ครอบครัวยากจนขาดโอกาสทางการศึกษา |
– ไม่มีโอกาสในการเรียนรู้ | – จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพทีมผู้นำชุมชน – ทำป้ายประชาสัมพันธ์ สร้างกลุ่มไลน์ชุมชน – ส่งเสริมให้เด็กยากจนได้รับทุนการศึกษา |
||
ด้านการมีส่วนร่วมฯ |
||||
– มีส่วนร่วมในทำงานของชุมชนน้อย – ขาดการบริหารจัดการกลุ่มที่ดี |
– ไม่เห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมในชุมชน – ไม่มีเวลา มุ่งทำงานหารายได้ |
– จัดกิจกรรมส่งเสริมการทำงานแบบมีส่วนร่ว – สร้างกลุ่ม รวมกลุ่มจากอาชีพหลักให้มากขึ้น – ส่งเสริมให้ครัวเรือนมีอาชีพเสริม – อบรมให้ความรู้เรื่องการตั้งกลุ่มอาชีพ |
||
ด้านทรัพยากรธรรมชาติฯ |
||||
– การใช้สารเคมีในการเกษตร | – ขาดความรู้ความเข้าใจในการทำการเกษตรแนวใหม่ | – ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยชีวภาพ – รวมกลุ่มผลิตปุ๋ยชีวภาพ – ส่งเสริมการผลิตอาหารที่ปลอดภัย |
||
– การปลูกพืชเชิงเดี่ยว | – การส่งเสริมจากภาครัฐ | – การคืนพันธุกรรมท้องถิ่น – การทำสวนผสมผสาน – การส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรริมแม่น้ำ |
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ก่อนทำโครงการ ชุมชนบ้านสาวอเป็นชุมชนที่สมาชิกต่างคนต่างอยู่ มีการรวมตัวทำกิจกรรมบ้าง เช่น กิจกรรมที่มัสยิดและตาดีกา รวมถึงกิจกรรมจากอบต. ชุมชนไม่มีกิจกรรมประจำหรือพื้นที่ประชุมเป็นสัดส่วน
หลังทำโครงการ ชุมชนมีการประชุมสภาผู้นำเดือนละครั้ง โดยผู้ใหญ่บ้านสามารถนำการประชุมได้ ในแต่ละโซนจะมีหัวหน้าโซนดูแลกิจกรรมต่างๆ เช่น การสำรวจและดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่ หมู่บ้านแบ่งเป็น 3 โซน: กาปง, สือดัง, และบาตะ-บาโง ซึ่งมีจำนวนผู้สูงอายุรวม 78 คน ชุมชนได้จัดตั้งชมรมผู้สูงอายุ มีการประชุมคณะกรรมการชมรมเดือนละ 2 ครั้ง และมีการเยี่ยมเยียนผู้สูงอายุในชุมชนอย่างสม่ำเสมอ
การก่อตัวสภาผู้นำชุมชนเข้มแข็งบ้านสาวอ
ในปี พ.ศ. 2564 ชุมชนบ้านสาวอ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส เข้าร่วมโครงการชุมชนน่าอยู่ โดยได้รับการสนับสนุนจาก สสส. และหน่วยจัดการชุมชนชายแดนใต้ ภายใต้การนำของนายยะรง วาแม ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 6 ซึ่งร่วมกับทีมผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านและคณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน 16 คน พัฒนาการดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่ จำนวน 78 คน โดยใช้กลไกสภาผู้นำชุมชนในการขับเคลื่อนและแก้ปัญหา พร้อมได้รับการสนับสนุนจากพี่เลี้ยง รพ.สต. บ้านสาวอ ผ่านการเรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์จากหลายชุมชน ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาชุมชน
ตารางที่ 1 บทเรียนการทำงานของบ้านสาวอ
ด้าน/ประเด็น | การปรับและพัฒนา |
1. การดึงเอาคนดีคนเก่งในชุมชนเข้ามาทำงานร่วมกัน | การดึงคนดีคนเก่งเข้ามาทำงานนั้น อาศัยการเชิญชวนมีแบบเจาะจงเป็นหลัก |
2. ใช้ประเด็นเริ่มต้นในการชักชวนคนมาร่วมแก้ปัญหาชุมชน | เนื่องจากผู้สูงอายุในชุมชนเริ่มมีมากขึ้น อยู่กับหลานเป็นส่วนใหญ่ และเริ่มมีปัญหาสุขภาพ จึงเกิดการหารือวิเคราะห์ ปัญหา พบว่า การดูแลผู้สูงอายุ ควรจัดทำเป็นระบบ ภายใต้การนำของผู้นำชุมและผู้เกี่ยวข้อง |
3. การใช้ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการคืนข้อมูลให้กับชุมชนเป็นระยะ | ก่อนหน้าการดำเนินงาน ชุมชนไม่มีตัวเลข จำนวนผู้สูงอายุที่ชัดเจน แต่หลังจากชุมชนได้สำรวจข้อมูลเองพบว่าในชุมชน มีผู้สูงอายุ จำนวนทั้งสิ้น 78 ราย |
4. การพัฒนาคนเพื่อให้มีความสามารถในการแก้ปัญหาได้อย่างเป็นระบบ | ใช้เวทีประชุมสภาผู้นำชุมชนเป็นพื้นที่ในการพัฒนาศักยภาพของทีมงานเป็นระยะ มีพี่เลี้ยงคอยให้คำปรึกษา ละใช้เครื่องมือต่างๆมาแก้ปัญหา และสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาร่วมกันของคนในชุมชน |
5. การสร้างการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายและใช้กฎกติกาชุมชนในการแก้ปัญหา | บ้านสาวอได้จัดทำกติกาชุมชนโดยมีข้อกำหนดหลักคือ: – สภาผู้นำต้องเป็นแบบอย่างที่ดี – ห้ามขาดประชุมโดยไม่มีเหตุจำเป็น – สภาผู้นำต้องร่วมงานทุกคน – สภาผู้นำชุมชนต้องสื่อสารการดำเนินงานโครงการ – ร่วมวางแผนและเสนอความคิดเห็น – ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน – มีกิจกรรมขยับกาย 150 นาที/สัปดาห์ หรือ 10-30 นาที/วัน |
พื้นที่ใกล้ถนนใหญ่มีภูเขาหลังหมู่บ้าน เป็นแหล่งกรีดยางและเพาะปลูกของชาวบ้าน บางคนทำงานในตลาดรือเสาะ ห่างจากตลาดประมาณ 4 กม.
วิธีการชวนคนมาเป็นสภาผู้นำชุมขนบ้านสาวอ มีความน่าสนใจใน 3 ขั้นตอนหลัก:
1. การชักชวนโดยตรง: เริ่มจากการทำความเข้าใจกับแกนนำหรือกลุ่มที่มีโครงสร้างอยู่แล้ว เช่น กรรมการหมู่บ้าน หรือกลุ่มแม่บ้าน และ อสม. โดยเน้นอธิบายปัญหาที่เกิดขึ้นและเป้าหมายที่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงในระดับบุคคลและหมู่บ้าน
2. การชักชวนโดยทางอ้อม: เมื่อเริ่มมีการดำเนินงานและเห็นการเปลี่ยนแปลง แกนนำที่เข้าร่วมจะเริ่มชักชวนกลุ่มอื่นๆ ในหมู่บ้าน โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่สัมผัสได้ถึงประโยชน์จากการทำกิจกรรมร่วมกัน
3. การเชิญชวนจากกลุ่มเป้าหมาย: มุ่งเน้นกลุ่มผู้สูงอายุและครอบครัวของผู้สูงอายุ ที่มีความสนใจในประเด็นการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน
โครงสร้างและการบริหารจัดการด้วยกลไกสภาชุมชน
การก่อตัวสภาผู้นำชุมชนบ้านบือเจาะ ได้พัฒนาการบริหารจัดการชุมชนโดยแบ่งเป็น 3 โซนตามการรับผิดชอบเดิมของ อสม. โดยมีผู้ใหญ่บ้านแต่ละโซนรับผิดชอบ และมีทีมงานอาสาสมัครสาธารณสุข ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และตัวแทนกลุ่มต่างๆ มาช่วยดูแลปัญหาชุมชน โดยเฉพาะการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน
ภาวะการนำ
นายยะรง วาแม ในฐานะผู้ใหญ่บ้าน ได้ขับเคลื่อนการดำเนินงานของสภาอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นการประชุมประจำเดือนและการแก้ไขปัญหาชุมชนตามลำดับ ภาวะการเป็นผู้นำแบบประชาธิปไตยเน้นการตัดสินใจร่วมกัน รับฟังความคิดเห็นทุกฝ่าย และทำงานเป็นทีม โดยมีการสื่อสารสองทาง ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความพึงพอใจในการทำงาน แต่บางครั้งอาจใช้เวลานาน เพราะต้องรอความเห็นจากทุกคนก่อนที่จะดำเนินการได้
กระบวนการและกิจกรรมที่นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงที่บ้านสาวอ
การดูแลผู้สูงอายุในชุมชนสาวอเริ่มจากการเยี่ยมเยียนและกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำให้คนในชุมชนมีความใกล้ชิดกัน การสำรวจข้อมูลผู้สูงอายุโดยทีมสภาผู้นำชุมชน พบว่ามีผู้สูงอายุทั้งหมด 78 คน การเยี่ยมบ้านและการตั้งจุดคัดกรองสุขภาพในแต่ละโซน ช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงการดูแลสุขภาพได้สะดวกขึ้น พร้อมทั้งการสร้างสัมพันธภาพที่ดีและการช่วยเหลือกลุ่มผู้ป่วยและผู้ติดบ้าน
เกิดการสร้างกติกาของสภาผู้นำชุมชน
1. สภาผู้นำต้องเป็นแบบอย่างให้กับคนในชุมชน
2. ห้ามขาดประชุมโดยไม่มีเหตุจำเป็น
3. สภาผู้นำชุมชนต้องมีส่วนร่วมในการทำงานทุกคน
4. สภาผู้นำชุมชนต้องทำหน้าที่สื่อสารประชาสัมพันธ์การดำเนินงาน
5. ร่วมกันวางแผน เสนอความคิดเห็น วิเคราะห์ ประเมินผล
6. ร่วมกันดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน
7. เป็นแบบอย่างและส่งเสริมมกิจกรรมขยับกาย 150 นาที /สัปดาห์ หรือ 10 – 30 นาที ต่อวัน
รูปแบบการผนึกกำลังในการจัดการทรัพยากร และความผูกพันต่อเป้าหมายของสภาผู้นำชุมชนบ้านสาวอ
สภาผู้นำชุมชน ได้มีการสร้างความสัมพันธ์กับคณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน ทำให้คณะกรรมการรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสภาผู้นำ สภาผู้นำให้ความสำคัญเอาใจใส่ ดูแลเป็นอย่างดี จนทุกคนสนิทกันมากขึ้นมีความสุขในการดำเนินงาน อยากร่วมงานในระยะยาว การนัดหมายจะแจ้งผ่านกลุ่มไลน์ของสภาผู้นำ
กิจกรรมประชุม -หลังประชุมจะเยี่ยมบ้านตรวจคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ
ความเข้มแข็งของสภาผู้นำชุมชนและโอกาสความยั่งยืนในการทำงานของสภาผู้นำชุมชนบ้านสาวอ
ชุมชนบ้านสาวอสูญเสียผู้ใหญ่ในช่วงเริ่มโครงการ งวดที่ 1 ทำให้โครงการหยุดชั่วคราว เนื่องจากกระทบสัญญากับผู้ใหญ่บ้าน แต่ได้ปรึกษาธนาคารและผู้เกี่ยวข้องเพื่อหาทางแก้ไข ปัจจุบันมีผู้ใหญ่ใหม่เข้ามาดำรงตำแหน่ง ทำให้ทีมงานกลับมาเข้มแข็งอีกครั้ง นับเป็นบทเรียนสำคัญในการบริหารโครงการ
มิติที่ 1 การมีส่วนร่วม ผลการประเมินครั้งที่ 2 พบว่าอยู่ในระดับ 5 เนื่องจากการมีส่วนร่วมของสมาชิกน้อยกว่าร้อยละ 50 และมีสมาชิกเข้าร่วมกิจกรรมช่วงแรกน้อย แต่การประชาสัมพันธ์เพิ่มขึ้น และมีผู้ร่วมแสดงความคิดเห็นมากขึ้น หลังจาก 5 เดือน สภาผู้นำได้ประเมินความเข้มแข็งของชุมชน
มิติที่ 2 ผู้นำชุมชน ผลการประเมินทั้ง 2 ครั้ง โดยครั้งที่ 2 พัฒนาที่ระดับ 3 พบว่าผู้นำชุมชนมาจากทุกกลุ่ม ทุกองค์กรในชุมชนสามารถทำงานได้ดี มีการพัฒนาทักษะการทำงานร่วมกันได้ทั้งในและนอกชุมชนได้ดี
มิติที่ 3 โครงสร้างองค์กร ผลการประเมินครั้งที่ 1 ระบุว่าอยู่ในระดับ 3 เนื่องจากสภาผู้นำชุมชนประชุมสม่ำเสมอและทำงานโครงการได้ดี รวมทั้งสามารถร่วมงานกับกลุ่มและองค์กรอื่นๆ ในชุมชนได้ดี แม้จะขาดผู้นำจากการเสียชีวิตของผู้ใหญ่บ้าน แต่สภาผู้นำยังคงดำเนินการประชุมต่อไปได้
มิติที่ 4 การประเมินปัญหา ผลการประเมินปัญหาพบว่าอยู่ในระดับ 4 ชุมชนมีการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบ สามารถวิเคราะห์และประเมินปัญหาได้ดี รพ.สต.คืนข้อมูลให้ชุมชน ทำให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลและกิจกรรมร่วมกันระหว่างชุมชนและ รพ.สต.
มิติที่ 5 การระดมทรัพยากร ผลการประเมินครั้งที่ 1 ระดับ 3 พบว่า สภาผู้นำชุมชนมีแผนพึ่งตนเองที่สามารถระดมทุนและทรัพยากรจากภายในชุมชนได้ ส่วนผลการประเมินครั้งที่ 2 หลังดำเนินการ 5 เดือน พบว่าแผนพึ่งตนเองมีการจัดทำเวทีประชาคมในหมู่บ้านและกำหนดการใช้ทรัพยากร แต่ยังไม่ได้เริ่มดำเนินการตามแผนที่วางไว้
มิติที่ 6 การเชื่อมโยงกับบุคคลและองค์กรภายนอก ผลการประเมินพบว่าในครั้งที่ 1 สภาผู้นำชุมชนสามารถติดต่อขอความร่วมมือจากบุคคลหรือองค์กรภายนอกได้บางส่วนตามแผนชุมชนพึ่งตนเอง ส่วนในครั้งที่ 2 หลังจากดำเนินการไป 5 เดือน พบว่า สภาผู้นำชุมชนมีความร่วมมือที่ชัดเจนกับองค์กรภายนอก โดยสามารถประสานงานและขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากหลายหน่วยงานในการสร้างเสริมอาชีพให้กับชุมชนได้สำเร็จ
มิติที่ 7 ความสามารถในการ “ถามว่าทำไม” ผลการประเมินพบว่า ในครั้งที่ 1 ระดับ 2 การประชุมสภาผู้นำชุมชนมีการปรึกษาหารือ แต่ยังไม่มีการถามเหตุผลหรือ “ทำไมต้องทำ” ขณะที่การประเมินครั้งที่ 2 ระดับ 3 พบว่า ชุมชนเริ่มตั้งคำถามเกี่ยวกับปัญหาที่ไม่เข้าใจ เพื่อหาสาเหตุและเหตุผล สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและวิจารณ์ได้มากขึ้น รวมถึงถามถึงผลประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินการนั้นๆ ซึ่งทำให้การพิจารณามีความรอบคอบมากขึ้น
มิติที่ 8 ความสัมพันธ์กับพี่เลี้ยง ผลการประเมินโครงการครั้งที่ 1 และ 2 อยู่ในระดับ 4 โดยสภาผู้นำชุมชนเป็นผู้ตัดสินใจหลัก ส่วนพี่เลี้ยงช่วยอำนวยความสะดวก ดูแลการฝึกอบรม และสนับสนุนอื่นๆ รวมถึงการติดต่อพูดคุยและลงพื้นที่ติดตามงานตามแผนที่กำหนด
มิติที่ 9 การบริหารจัดการโครงการ ผลการประเมินทั้ง 2 ครั้ง พบว่า ครั้งที่ 1 อยู่ในระดับ 2 เนื่องจากคณะกรรมการสภาผู้นำชุมชนยังไม่คุ้นเคยกับเครื่องมือการประเมินตาม 9 มิติ ทำให้ไม่สามารถใช้เครื่องมือได้เต็มที่ แต่หลังการประเมินครั้งที่ 1 จึงได้ปรับปรุงและเข้าใจเกณฑ์การประเมินมากขึ้น ในการประเมินครั้งที่ 2 อยู่ในระดับ 3 ถึงแม้ประธานสภาผู้นำชุมชนเสียชีวิต ทำให้การบริหารจัดการชะงัก แต่ยังสามารถดำเนินกิจกรรมต่างๆ เช่น การประชุมสภาและกิจกรรมผู้สูงอายุได้ตามแผน และชุมชนบ้านสาวอได้ปิดโครงการในงวดที่ 1 ตามเงื่อนไขของสัญญา