โครงการชุมชนน่าอยู่ชายแดนใต้: การดูแลผู้สูงอายุ บ้านจือแร ม.3 จ.นราธิวาส ปี 2565 

ถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบ โครงการชุมชนน่าอยู่ชายแดนใต้
บ้านจือแร กลไกสภาผู้นำเข้มแข็งสู่ชุมชนเข้มแข็ง : การดูแลผู้สูงอายุ
โดย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสาวอ ธันวาคม 2565

รู้จักบ้านจือแร

ชุมชนบ้านจือแร ตั้งอยู่ในตำบลสาวอ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส ห่างจากอำเภอรือเสาะ 7 กิโลเมตร และจากจังหวัดนราธิวาส 57 กิโลเมตร ภูมิประเทศเป็นเนินเขาและที่ราบ ชาวบ้านส่วนใหญ่มีที่ดินทำกินส่วนตัว มี 2 ฤดู คือ ฤดูร้อน (มี.ค. – มิ.ย.) และฤดูฝน (ก.ค. – ก.พ.) โดยฝนตกชุกสุดในช่วง พ.ย. – ม.ค. อุณหภูมิเฉลี่ย 27°C และความชื้นสูง 60 – 80% อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ทำให้ฝนตกไม่ตรงฤดูกาล และฤดูฝนสั้นกว่าฤดูร้อน

หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน จำนวนหลังคาเรือน จำนวนประชากร รวม
ชาย หญิง
3 จือแร 196 347 334 681

ชุมชนจือแรมีประชากร 681 คน แบ่งเป็นชาย 347 คน หญิง 334 คน มี 196 ครัวเรือน อาชีพหลักคือการเกษตรกรรม เช่น ทำสวน ทำนา และกรีดยาง ประชาชนในชุมชนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 100) นับถือศาสนาอิสลาม มีศาสนสถานประกอบพิธีกรรมคือ มัสยิด 1 แห่ง และสุเหร่า 3 แห่ง รวมถึงโรงเรียนตาดีกา 1 แห่ง ชุมชนนี้มีลักษณะเป็นชนบทและใช้ภาษายาวีในการสื่อสาร โดยมี 3 ชุมชนย่อยในพื้นที่

การคมนาคมเข้าสู่หมู่บ้าน ดังนี้ พื้นที่ชุมชนบางส่วนอยู่ติดแม่น้ำสายบุรี โดยเฉพาะเขตตะโละกลูบี มักประสบปัญหาน้ำท่วมทุกปีในช่วงตุลาคม-กุมภาพันธ์ มีผลกระทบต่อ 20 ครัวเรือน อาชีพหลักคือเกษตรกรรม (80%) รองลงมาคือรับจ้าง (17%) และข้าราชการ (3%)

ชุมชนบ้านจือแร มีมัสยิด 1 แห่ง, สุเหรอ 2 แห่ง, โรงเรียนประถม 1 แห่ง และโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา 1 แห่ง ใช้เป็นศูนย์รวมกิจกรรมของชุมชน รวมทั้งสนามหน้ามัสยิดที่เป็นลานกีฬาและอาคารอเนกประสงค์ ส่วนชุมชนบ้านบือเจาะ มีสนามกีฬากลางที่ใช้เป็นลานบินของกองทัพในการเยี่ยมประชาชน

ความไม่น่าอยู่ของบ้านจือแร

จากการวิเคราะห์ประเมินชุมชนของสภาผู้นำชุมชนบ้านจือแร เมื่อเข้ามาร่วมดำเนินโครงการกับชุดโครงการชุมชนน่าอยู่ ได้ใช้เครื่องมือสามเหลี่ยมปัญหา และต้นไม้ปัญหามาวิเคราะห์ความไม่น่าอยู่ของบ้านจือแร ซึ่งพบว่า

การวิเคราะห์จุดอ่อน / จุดแข็งและปัญหา / ศักยภาพของหมู่บ้าน

จุดอ่อน / ปัญหา

จุดแข็ง / ศักยภาพ

ด้านเศรษฐกิจและสภาพแวดล้อม

– ขยะจรริมถนนใหญ่
– ภาวะหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
– ต้นทุนในการผลิตสูง/ราคาผลผลิตตกต่ำ
– การใช้สารเคมีในการเกษตร
– ไม่มีอาชีพเสริม/ว่างงาน
– ไม่มีกลุ่มอาชีพที่เป็นรูปธรรม
– ไม่มีตลาดรองรับสินค้าในชุมชน
– ขยะมูลฝอย/ดินเสื่อม
– พื้นที่น้ำท่วม
– แหล่งโบราณคดี แหล่งประวัติศาสตร์ ของชุมชน
– มีภูมิปัญญาท้องถิ่น ผลิตด้ามกริชโบราณ
– มีกลุ่มแม่บ้าน
– มีกลุ่มทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ

ด้านสุขภาพอนามัยและยาเสพติด

– โรคเรื้อรังเพิ่มสูงมากขึ้นในทุกวัยของคนในชุมชน
– ขาดการออกกำลังกาย/อุปกรณ์การออกกำลังกาย
– ขาดความรู้ในการดูแลสุขภาพและบริโภคอาหารที่ปลอดภัย
– ยาเสพติด/การลักเล็กขโมยน้อย
– ครอบครัวแตกแยก
– อยู่ห่างไกล รพ.สต. 7 กิโลเมตร
มี อสม.ในหมู่บ้านที่พร้อมทำงาน
– มีการรณรงค์ในการควบคุม การดูแลรักษาสุขภาพ

ด้านความรู้และการศึกษา

– ขาดความรู้ในการบริหารจัดการชุมชน
– ไม่สนใจข่าวสารและการอ่าน
มีแกนนำหมู่บ้านพร้อมจะบริหารจัดการชุมชน
– มีแหล่งความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น

ด้านการมีส่วนร่วมและความเข้มแข็งในชุมชน

– มีส่วนร่วมในทำงานของชุมชนน้อย
– ขาดการบริหารจัดการกลุ่มที่ดี
กิจกรรมตามประเพณีที่ยังก่อการรวมตัวของคนในชุมชนได้

ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติฯ

– การใช้สารเคมีในการเกษตร มีกลุ่มทำนาปลอดสารพิษ
– มีกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ

ตารางวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา / แนวทางแก้ไข

จุดอ่อน / ปัญหา สาเหตุของปัญหา แนวทางแก้ไข
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
– ไม่มีประปาหมู่บ้าน – น้ำเป็นตะกอนบริโภคไม่ได้
– น้ำท่วมทุกปี
– ส่วนหนึ่งซื้อน้ำขวดดื่ม
– ที่มีรายได้ซื้อเครื่องกรองน้ำ

ด้านเศรษฐกิจ

– รายจ่ายมากกว่ารายได้
– ค่าครองชีพสูง
– ราคาผลผลิตตกต่ำ
– หนี้สิน
– ว่างงาน
ขาดการมีส่วนร่วม
– การบริโภคฟุ่มเฟือย
– ราคาต้นทุนการผลิตสูง
– ไม่มีการรวมกลุ่มกันทำ
– ค่าใช้จ่ายสูง/สินค้าราคาแพง
– มีรายได้ไม่ต่อเนื่อง
– เงินลงทุนมีน้อย
สร้างการเรียนรู้ในการบริหารจัดการกลุ่ม
– ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น
– สร้างฐานการผลิตอาหารเอง (ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์)
– ผลิตพลังงานทดแทน
– จัดหาทุนในการประกอบอาชีพ
– สร้างอาชีพเสริม
– สร้างงานในหมู่บ้าน
– ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพใช้เอง
– ส่งเสริมการต่อยอดงานฝีมือช่างผลิตด้ามกริชโบราณที่มีความสวยงาม

ด้านสุขภาพและยาเสพติด

– สุขภาพอนามัย/โรคเรื้อรัง
– การบริโภคอาหารปนเปื้อน
– ขาดความรู้ในการดูแลสุขภาพ
การใช้สารเคมี
– กินอาหารไม่ถูกสุขลักษณะ
– ขาดการออกกำลังกาย
– หน่วยบริการสาธารณสุขส่งเสริมสุขภาพไม่จริงจัง
ลดการใช้สารเคมีในการเกษตร
– ส่งเสริมการออกกำลังกาย
– ตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือด
– ตรวจสุขภาพปี ละ 2 ครั้ง

ด้านความรู้และการศึกษา

– ขาดความรู้ในการบริหารจัดการชุมชน
– ไม่สนใจข่าวสารและการอ่าน
– ครอบครัวยากจนขาดโอกาสทางการศึกษา
ไม่มีโอกาสในการเรียนรู้ จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพทีมผู้นำชุมชน
– ทำป้ายประชาสัมพันธ์ สร้างกลุ่มไลน์ชุมชน
– ส่งเสริมให้เด็กยากจนได้รับทุนการศึกษา

ด้านการมีส่วนร่วมฯ

– มีส่วนร่วมในทำงานของชุมชนน้อย
– ขาดการบริหารจัดการกลุ่มที่ดี
ไม่เห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมในชุมชน
– ไม่มีเวลา มุ่งทำงานหารายได้
จัดกิจกรรมส่งเสริมการทำงานแบบมีส่วนร่วม
– สร้างกลุ่ม รวมกลุ่มจากอาชีพหลักให้มากขึ้น
– ส่งเสริมให้ครัวเรือนมีอาชีพเสริม
– อบรมให้ความรู้เรื่องการตั้งกลุ่มอาชีพ

ด้านทรัพยากรธรรมชาติฯ

– การใช้สารเคมีในการเกษตร

 

– ขาดความรู้ความเข้าใจการทำการเกษตรแนวใหม่ – ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยชีวภาพ
– รวมกลุ่มผลิตปุ๋ยชีวภาพ
– ส่งเสริมการผลิตอาหารที่ปลอดภัย
– การปลูกพืชเชิงเดี่ยว การส่งเสริมจากภาครัฐ – การคืนพันธุกรรมท้องถิ่น
– การทำสวนผสมผสาน
– การส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรริมแม่น้ำสายบุรี

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

                  ก่อนทำโครงการชุมชนอยู่แบบต่างคนต่างอยู่ โดยรวมตัวกันบ้างในกิจกรรมมัสยิดและตาดีกา และมีความช่วยเหลือจากภาครัฐในช่วงน้ำท่วมเท่านั้น

   หลังทำโครงการ ชุมชนเริ่มมีการประชุมสภาผู้นำเดือนละ 1 ครั้ง โดยผู้ใหญ่บ้านสามารถนำประเด็นเข้าสู่การประชุมเพื่อขยายผลได้ การดูแลผู้สูงอายุเริ่มมีการแบ่งเขตเป็น 4 โซน ครอบคลุม 86 ราย โดยมีหัวหน้าโซนจากสภาผู้นำช่วยดูแล ในแต่ละโซนมีการจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุที่มีคณะกรรมการ 27 คน ซึ่งจะลงเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุทุกเดือน และส่งเสริมกิจกรรมออกกำลังกายให้ผู้สูงอายุทำอย่างต่อเนื่องทุกวัน

การก่อตัวสภาผู้นำชุมชนเข้มแข็งบ้านจือแร

ในปี 2564 ชุมชนบ้านจือแรเข้าร่วมโครงการ “ชุมชนน่าอยู่” ของ สสส. โดยมีผู้ใหญ่บ้านเดร์เลาะ นิยาแม นำทีมผู้ช่วยเข้าร่วมเรียนรู้กลไกสภาผู้นำชุมชนจากหน่วยจัดการชุมชนชายแดนใต้ เพื่อพัฒนาศักยภาพและแก้ไขปัญหาชุมชน โดยเริ่มต้นจากการดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่ ซึ่งมีผู้สูงอายุ 86 คน การสร้างสภาผู้นำช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากชุมชนอื่นๆ ทีมพี่เลี้ยงจาก รพ.สต. บ้านสาวอ ก็มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการดำเนินงาน

การประชุมสภาผู้นำจะจัดขึ้นหลังละหมาดอีซา (19.30 น.) ที่บ้านผู้ใหญ่บ้าน หรือบางครั้งจะปรับเวลาเป็นกลางวันเพื่อความปลอดภัยจากเหตุร้ายในพื้นที่ มัสยิดบ้านจือแรเป็นศูนย์กลางกิจกรรมของชุมชน ชมรมผู้สูงอายุใช้มัสยิดในการจัดกิจกรรมเรียนรู้ และมีบริการรถรับส่งเพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ เช่น การไปละหมาดวันศุกร์ได้สะดวกยิ่งขึ้นฃ

ตารางที่ 1 บทเรียนการทำงานของบ้านจือแร

ด้าน/ประเด็น การปรับและพัฒนา
1. การดึงเอาคนดีคนเก่งในชุมชนเข้ามาทำงานร่วมกัน บ้านจือแรอยู่ใกล้อำเภอรามัน ประชาชนโดยเฉพาะเยาวชนที่จบการศึกษามักไปทำงานนอกพื้นที่ การดึงเยาวชนที่มีทักษะกลับมาทำงานในพื้นที่ค่อนข้างยาก ต้องใช้การเชิญชวนและกลยุทธ์เฉพาะเจาะจง
2. ใช้ประเด็นเริ่มต้นในการชักชวนคนมาร่วมแก้ปัญหาชุมชน เนื่องจากผู้สูงอายุในชุมชนเริ่มมีมากขึ้น อยู่กับหลานเป็นส่วนใหญ่ และเริ่มมีปัญหาสุขภาพ จึงเกิดการหารือวิเคราะห์ ปัญหา พบว่า การดูแลผู้สูงอายุ ควรจัดทำเป็นระบบ ภายใต้การนำของผู้นำชุมและผู้เกี่ยวข้อง
3. การใช้ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการคืนข้อมูลให้กับชุมชนเป็นระยะ ก่อนหน้าการดำเนินงาน ชุมชนไม่มีตัวเลข จำนวนผู้สูงอายุที่ชัดเจน แต่หลังจากชุมชนได้สำรวจข้อมูลเองพบว่าในชุมชน มีผู้สูงอายุ จำนวนทั้งสิ้น 86 ราย
4. การพัฒนาคนเพื่อให้มีความสามารถในการแก้ปัญหาได้อย่างเป็นระบบ บ้านจือแร ได้ใช้เวทีประชุมสภาผู้นำชุมชนเป็นพื้นที่ในการพัฒนาศักยภาพของทีมงานเป็นระยะ มีพี่เลี้ยงคอยให้คำปรึกษา ละใช้เครื่องมือต่างๆมาแก้ปัญหา และสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาร่วมกันของคนในชุมชน
5. การสร้างการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย และใช้กฎกติกาชุมชนในการแก้ปัญหา บ้านจือแร ได้มีการจัดประชาคมและวางกติกาในชุมชนร่วมกัน

พื้นที่ใกล้กับอำเภอรามัน จังหวัดยะลา ประชากรบางส่วนอาศัยในชุมชนบ้านจือแร ซึ่งอยู่ในเขตตำบลตะโละหะลอ โดยมีความเชื่อว่า โรงพยาบาลรามันใกล้และสะดวกในการไปรับบริการทางการแพทย์ อีกทั้งยังมีเครือญาติกับตำบลบาลอและตะโละหะลอ เกิดการเชื่อมโยงในด้านสังคมและบริการสุขภาพ

วิธีการชวนคนมาเป็นสภาผู้นำชุมขนบ้านจือแร สามารถทำได้ 3 วิธีหลัก:
                 1. การชักชวนโดยตรง: เชิญชวนแกนนำชุมชน เช่น กรรมการหมู่บ้าน หรือกลุ่มต่างๆ เช่น กลุ่มแม่บ้าน หรือ อสม. เพื่อทำความเข้าใจปัญหาและเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงในระดับบุคคลและหมู่บ้านร่วมกัน
                 2. การชักชวนโดยทางอ้อม: เมื่อแกนนำที่ถูกชักชวนเข้าร่วมเห็นการเปลี่ยนแปลงในชุมชน พวกเขาจะช่วยเชิญชวนกลุ่มอื่นๆ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่สัมผัสการเปลี่ยนแปลงและรอยยิ้มจากกิจกรรมร่วม
                 3. เชิญชวนตามกลุ่มเป้าหมาย: ชักชวนกลุ่มผู้สูงอายุและครอบครัวผู้สูงอายุ เพื่อร่วมขับเคลื่อนการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน

โครงสร้างและการบริหารจัดการด้วยกลไกสภาชุมชน

การก่อตัวของสภาผู้นำชุมชนบ้านบือเจาะได้พัฒนาเป็นระบบบริหารจัดการชุมชนแบ่งออกเป็น 7 โซน ตามการรับผิดชอบเดิมของ อสม. โดยมอบหมายให้ผู้ใหญ่บ้านแต่ละโซนรับผิดชอบดูแล พร้อมทีมงานประกอบด้วยอาสาสมัครสาธารณสุข, ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และแกนนำจากกลุ่มต่างๆ เพื่อดูแลและแก้ไขปัญหาผู้สูงอายุในชุมชนอย่างใกล้ชิด

ภาวะการนำ 

นายเดร์เลาะ นิยาแม ในฐานะผู้ใหญ่บ้านได้ขับเคลื่อนการดำเนินงานของสภา โดยจัดกิจกรรมและการประชุมประจำเดือนอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมแก้ไขปัญหาชุมชนได้ดี โดยใช้แนวทางการนำแบบประชาธิปไตย (Democratic Leadership) ที่เปิดโอกาสให้สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ฟังความคิดเห็นและทำงานเป็นทีม ส่งผลให้ผลงานและความพึงพอใจในการทำงานเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจแบบกลุ่มบางครั้งอาจใช้เวลานาน เนื่องจากต้องรอให้ทุกคนเห็นด้วยหรือมีเสียงข้างมากก่อนการดำเนินการ

กระบวนการและกิจกรรมที่นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงที่บ้านจือแร

สภาผู้นำชุมชนบ้านจือแรได้พัฒนาความสัมพันธ์ในชุมชนผ่านการจัดกิจกรรมและเยี่ยมเยียนของทีมผู้นำและคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ ทำให้เกิดการพบปะและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในชุมชน โดยมีการประชุมสภาผู้นำทุกเดือน และพัฒนาการดูแลสุขภาพ เช่น การสำรวจข้อมูลผู้สูงอายุ การคัดกรองสุขภาพ และการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่ดี โดยการร่วมมือกันของชุมชน ทำให้ความสัมพันธ์ในพื้นที่แข็งแกร่งและดูแลสุขภาพได้ดียิ่งขึ้น

เกิดการสร้างกติกาของสภาผู้นำชุมชน
                  1. สภาผู้นำต้องเป็นแบบอย่างให้กับคนในชุมชน
2. ห้ามขาดประชุมโดยไม่มีเหตุจำเป็น
3. สภาผู้นำชุมชนต้องมีส่วนร่วมในการทำงานทุกคน
4. สภาผู้นำชุมชนต้องทำหน้าที่สื่อสารประชาสัมพันธ์การดำเนินงาน
5. ร่วมกันวางแผน เสนอความคิดเห็น วิเคราะห์ ประเมินผล
6. ร่วมกันดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน
7. เป็นแบบอย่างและส่งเสริมมกิจกรรมขยับกาย 150 นาที /สัปดาห์ หรือ 10 – 30 นาที ต่อวัน
8. กิจกรรมเยี่ยมบ้านโดยทีมสภาผู้นำชุมชน เดือนละ 1 ครั้ง หลังจากประชุม

รูปแบบการผนึกกำลังในการจัดการทรัพยากร และความผูกพันต่อเป้าหมายของสภาผู้นำชุมชนบ้านจือแร

เป้าหมายและวิสัยทัศน์ของสภาผู้นำชุมชนบ้านบือเจาะมุ่งเน้นการสร้าง Employee Engagement ที่มีประสิทธิภาพ ผ่านการส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดี การมีส่วนร่วม และความสุขในการทำงาน ทำให้เกิดความภาคภูมิใจในการพัฒนาชุมชนร่วมกัน โดยยึดถืออุดมการณ์และเป้าหมายร่วมกันในการพัฒนาชุมชนบ้านจือแรให้เจริญก้าวหน้าและยั่งยืน

ความเข้มแข็งของสภาผู้นำชุมชนและโอกาสความยั่งยืนในการทำงานของสภาผู้นำชุมชนบ้านจือแร

                มิติที่ 1 การมีส่วนร่วม ผลการประเมินครั้งที่ 1 พบว่า สภาผู้นำชุมชนมีระดับการทำงานที่ 3 เนื่องจากยังไม่เข้าใจระบบการทำงาน แต่สามารถขับเคลื่อนงานได้เองตามข้อตกลง โดยการมีส่วนร่วมในช่วง 4 เดือนแรกต่ำกว่า 50% หลังจากนั้นการประชาสัมพันธ์และการพัฒนาตนเองทำให้การเข้าร่วมประชุมเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 50% และมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมมากกว่า 200 คน ถึงแม้จะมีการแสดงความคิดเห็นบ้าง แต่ยังไม่มากพอในการตัดสินใจร่วมกัน ส่วนผลการประเมินครั้งที่ 2 พบว่าชุมชนมีการมีส่วนร่วมเพิ่มขึ้น กล้าตัดสินใจ แสดงความคิดเห็น และหาทางออกในการแก้ปัญหาร่วมกันมากขึ้น

                มิติที่ 2 ผู้นำชุมชน ผลการประเมินครั้งที่ 1 ระดับ 3 และ ครั้งที่ 2 ระดับ 4 พบว่าผู้นำชุมชนมาจากทุกกลุ่ม ทุกองค์กรในชุมชน สามารถทำงานได้ดี มีการพัฒนาทักษะการทำงานร่วมกันได้ทั้งในและนอกชุมชนได้ดี

                มิติที่ 3 โครงสร้างองค์กร ผลการประเมินครั้งที่ 1 สภาผู้นำชุมชนอยู่ในระดับ 2 โดยมีการประชุมสม่ำเสมอและทำงานโครงการร่วมกับองค์กรในชุมชนได้ดี หลังจาก 5 เดือน สภาผู้นำประเมินใหม่เป็นระดับ 4 พบว่ามีการประชุมทุกเดือน ดำเนินกิจกรรมตามแผน สามารถทำงานร่วมกับทั้งในและนอกชุมชนได้ดี มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับองค์กรอื่น แม้จะมีบางกลุ่มที่ไม่เข้าร่วมกิจกรรมเพราะการแข่งขันทางการเมือง แต่สภาสามารถหาคณะกรรมการที่มีความคิดเชิงบวกและพร้อมพัฒนาชุมชนไปด้วยกันได้

                มิติที่ 4 การประเมินปัญหา ผลการประเมินทั้ง 2 ครั้งพบว่า ชุมชนมีการจัดเก็บและรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบ สามารถวิเคราะห์ปัญหาได้ดี แต่ควรสร้างทีมงานคนรุ่นใหม่เพื่อเสริมทักษะทางวิชาการและการใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดการข้อมูลรายงาน

                มิติที่ 5 การระดมทรัพยากร ผลการประเมินครั้งที่ 1 และ 2 พบว่าอยู่ในระดับ 3 สภาผู้นำชุมชนสามารถจัดทำแผนชุมชนพึ่งตนเองที่มีการระดมทุนและทรัพยากรจากภายในชุมชนได้ โดยในระยะเวลา 5 เดือนที่ผ่านมา ได้มีการประเมินความเข้มแข็งในการระดมทรัพยากร และได้จัดทำแผนที่ใช้ทรัพยากรทั้งภายในและภายนอกชุมชนผ่านเวทีประชาคมในหมู่บ้าน

                มิติที่ 6 การเชื่อมโยงกับบุคคลและองค์กรภายนอก ผลการประเมินครั้งที่ 1 พบว่า สภาผู้นำชุมชนสามารถเริ่มติดต่อขอความร่วมมือจากภายนอกได้บ้าง ส่วนการประเมินครั้งที่ 2 พบว่า สภาผู้นำชุมชนมีการลงนามข้อตกลงความร่วมมือกับภายนอกและสามารถประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ เช่น สำนักงานพัฒนาชุมชนและสำนักงานเกษตรอำเภอ เพื่อขอรับงบประมาณสนับสนุนโครงการสร้างเสริมอาชีพให้กับชุมชน

                มิติที่ 7 ความสามารถในการ “ถามว่าทำไม” ผลการประเมินพบว่าในการประชุมสภาผู้นำชุมชนในรอบแรก (ระดับ 2) มีการปรึกษาหารือ แต่ยังขาดการถามคำถามที่มาที่ไปของปัญหา ในการประเมินรอบที่ 2 (ระดับ 3) ชุมชนเริ่มถามคำถามมากขึ้นเกี่ยวกับเหตุผล สาเหตุ และผลกระทบที่ชุมชนจะได้รับจากการดำเนินการ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสามารถพิจารณาข้อมูลอย่างมีวิจารณญาณมากขึ้น

                มิติที่ 8 ความสัมพันธ์กับพี่เลี้ยง ผลการประเมินพบว่า ครั้งที่ 1 อยู่ในระดับ 3 และครั้งที่ 2 อยู่ในระดับ 5 ในการดำเนินโครงการ สภาผู้นำชุมชนเป็นผู้ตัดสินใจหลัก โดยพี่เลี้ยงทำหน้าที่อำนวยความสะดวกและสนับสนุนการฝึกอบรม รวมถึงการติดตามผลการดำเนินงานตามแผนงาน ทั้งนี้มีการสื่อสารและประสานงานระหว่างทีมงานและพี่เลี้ยงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการลงพื้นที่เพื่อพบปะและติดตามการดำเนินงานตามแผน

                มิติที่ 9 การบริหารจัดการโครงการ ผลการประเมินครั้งที่ 2 ได้คะแนน 4 โดยคณะกรรมการสภาผู้นำชุมชนได้ดำเนินงานตามแผนอย่างมีประสิทธิภาพ และได้รับการช่วยเหลือจากพี่เลี้ยงในขอบเขตจำกัด สภาผู้นำชุมชนได้พัฒนาทักษะการบริหารจัดการ สามารถดำเนินงานตามแผนได้ทันเวลา มีการสรุปผลและร่วมกันแก้ปัญหาชุมชนได้ดี ทำให้ชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่ควรพัฒนาเพิ่มเติมในด้านทักษะการใช้โปรแกรมสรุปผล การใช้คอมพิวเตอร์ และการจัดเก็บข้อมูลให้เป็นระบบ

       

Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

ระบุข้อความ