โครงการชุมชนน่าอยู่ชายแดนใต้ บ้านบือเจาะ ม.5 จ.นราธิวาส ปี 2565
ถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบ โครงการชุมชนน่าอยู่ชายแดนใต้
บ้านบือเจาะ กลไกสภาผู้นำเข้มแข็งสู่ชุมชนเข้มแข็ง : การดูแลผู้สูงอายุ
โดย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสาวอ ธันวาคม 2565
รู้จักบ้านบือเจาะ ชุมชนบ้านบือเจาะ อยู่ในตำบลสาวอ อำเภอรือเสาะ จ.นราธิวาส ห่างจากอำเภอ 7 กม. และจากตัวเมือง 57 กม. พื้นที่ 4,123.12 ไร่ เป็นเนินเขาและที่ราบ ชาวบ้านส่วนใหญ่มีที่ดินทำกินเอง มี 2 ฤดู คือ ฤดูร้อน (มี.ค.-มิ.ย.) และฤดูฝน (ก.ค.-ก.พ.) ฝนตกมากสุดในพ.ย.-ธ.ค. อุณหภูมิเฉลี่ย 27°C แต่สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ฝนตกไม่ตรงฤดูกาลและฤดูฝนสั้นกว่าฤดูร้อน
มีประชากรทั้งหมด 469 คน แบ่งเป็นชาย 251 คน และหญิง 218 คน โดยมีจำนวนครัวเรือน 127 ครัวเรือน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำสวน ทำนา และกรีดยาง ซึ่งต้องพึ่งพาอาศัยธรรมชาติ ชาวบ้านนับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 100 และใช้ภาษายาวีเป็นภาษาพูดประจำถิ่น ในหมู่บ้านมีมัสยิด 1 แห่ง, สุเหร่า 1 แห่ง และโรงเรียนสอนตาดีกา 1 แห่ง สำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนา มีผู้สูงอายุ 48 คนในชุมชนและมีลักษณะสังคมชนบททั่วไป
พื้นที่ติดแม่น้ำสายบุรีประสบปัญหาน้ำท่วมทุกปีระหว่างตุลาคมถึงกุมภาพันธ์ โดยได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม 70 หลังคาเรือน ชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม 80% อาชีพรับจ้าง 15% และข้าราชการ 3% ชุมชนมีมัสยิด 1 แห่งเป็นศูนย์รวมกิจกรรม และมีสนามกีฬาหน้ามัสยิดและอาคารอเนกประสงค์สำหรับจัดกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน
ลานกีฬาชุมชนและสนามกีฬากลาง 1 แห่ง ใช้จัดกิจกรรมและเป็นลานบินชั่วคราวของกองทัพในการเยี่ยมปชช.และปฏิบัติภารกิจในพื้นที่ใกล้เคียง
ความไม่น่าอยู่ของบ้านบือเจาะ
เกิดจาก 3 ปัญหาหลัก: 1. สภาพแวดล้อมไม่สะอาด
2. ขาดรายได้และโอกาสทางเศรษฐกิจ
3. ขาดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน
การวิเคราะห์จุดอ่อน / จุดแข็งและปัญหา / ศักยภาพของหมู่บ้าน
จุดอ่อน / ปัญหา | จุดแข็ง / ศักยภาพ |
ด้านเศรษฐกิจและสภาพแวดล้อม | |
– รายจ่ายมากกว่ารายได้ – ภาวะหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ – ต้นทุนในการผลิตสูง/ราคาผลผลิตตกต่ำ – การใช้สารเคมีในการเกษตร – ไม่มีอาชีพเสริม/ว่างงาน – ไม่มีกลุ่มอาชีพที่เป็นรูปธรรม – ไม่มีตลาดรองรับสินค้าในชุมชน – ขยะมูลฝอย/ดินเสื่อม – พื้นที่น้ำท่วม |
– มีภูมิปัญญาท้องถิ่น – มีพื้นทีในการผลิตอาหาร – มีกลุ่มปาดีกีตอ – มีกลุ่มทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ |
ด้านสุขภาพอนามัยและยาเสพติด |
|
– โรคเรื้อรังเพิ่มสูงมากขึ้นในทุกวัยของคนในชุมชน – ขาดการออกกำลังกาย/อุปกรณ์การออกกำลังกาย – ขาดความรู้ในการดูแลสุขภาพและบริโภคอาหารที่ปลอดภัย – ยาเสพติด/การลักเล็กขโมยน้อย – ครอบครัวแตกแยก – อยู่ห่างไกล รพ.สต. 7 กิโลเมตร |
– มี อสม.ในหมู่บ้านที่พร้อมทำงาน – มีการรณรงค์ในการควบคุมดูแลรักษาสุขภาพ |
ด้านความรู้และการศึกษา |
|
– ขาดความรู้ในการบริหารจัดการชุมชน – ไม่สนใจข่าวสารและการอ่าน |
– มีแกนนำหมู่บ้านพร้อมจะบริหารจัดการชุมชน – มีแหล่งความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น |
ด้านการมีส่วนร่วมและความเข้มแข็งในชุมชน |
|
– มีส่วนร่วมในทำงานของชุมชนน้อย – ขาดการบริหารจัดการกลุ่มที่ดี |
– กิจกรรมตามประเพณีที่ยังก่อการรวมตัวของคนในชุมชนได้ |
ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติฯ |
|
– การใช้สารเคมีในการเกษตร | – มีกลุ่มทำนาปลอดสารพิษ – มีกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ |
ตารางวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา / แนวทางแก้ไข
จุดอ่อน / ปัญหา | สาเหตุของปัญหา | แนวทางแก้ไข | ||
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน | ||||
– ไม่มีประปาหมู่บ้าน | – น้ำเป็นตะกอนบริโภคไม่ได้ – น้ำท่วมทุกปี |
– ส่วนหนึ่งซื้อน้ำขวดดื่ม – ที่มีรายได้ซื้อเครื่องกรองน้ำ |
||
ด้านเศรษฐกิจ |
||||
– รายจ่ายมากกว่ารายได้ – ค่าครองชีพสูง – ราคาผลผลิตตกต่ำ – หนี้สิน – ว่างงาน |
– ขาดการมีส่วนร่วม – การบริโภคฟุ่มเฟือย – ราคาต้นทุนการผลิตสูง – ไม่มีการรวมกลุ่มกันทำ – ค่าใช้จ่ายสูง/สินค้าราคาแพง – มีรายได้ไม่ต่อเนื่อง – เงินลงทุนมีน้อย |
– สร้างการเรียนรู้ในการบริหารจัดการกลุ่ม – ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น – สร้างฐานการผลิตอาหารเอง เช่น ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ ทำนา กินเอง – ผลิตพลังงานทดแทน – จัดหาทุนในการประกอบอาชีพ – สร้างอาชีพเสริม – สร้างงานในหมู่บ้าน – ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพใช้เอง |
||
ด้านสุขภาพและยาเสพติด |
||||
– สุขภาพอนามัย/โรคเรื้อรัง – การบริโภคอาหารปนเปื้อน – ขาดความรู้ในการดูแลสุขภาพ |
– การใช้สารเคมี – กินอาหารไม่ถูกสุขลักษณะ – ขาดการออกกำลังกาย – หน่วยบริการสาธารณสุขไม่จริงจังในการส่งเสริมด้านสุขภาพ |
– ลดการใช้สารเคมีในการเกษตร – ส่งเสริมการออกกำลังกาย – ตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือด – ตรวจสุขภาพปีละ 2 ครั้ง |
||
ด้านความรู้และการศึกษา |
||||
– ขาดความรู้ในการบริหารจัดการชุมชน – ไม่สนใจข่าวสารและการอ่าน – ครอบครัวยากจนขาดโอกาสทางการศึกษา |
– ไม่มีโอกาสในการเรียนรู้ | – จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพทีมผู้นำชุมชน – ทำป้ายประชาสัมพันธ์ สร้างกลุ่มไลน์ชุมชน – ส่งเสริมให้เด็กยากจนได้รับทุนการศึกษา |
||
ด้านการมีส่วนร่วมฯ |
||||
– มีส่วนร่วมในทำงานของชุมชนน้อย – ขาดการบริหารจัดการกลุ่มที่ดี |
– ไม่เห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมในชุมชน – ไม่มีเวลา มุ่งทำงานหารายได้ |
– จัดกิจกรรมส่งเสริมการทำงานแบบมีส่วนร่วม – สร้างกลุ่ม รวมกลุ่มจากอาชีพหลักให้มากขึ้น – ส่งเสริมให้ครัวเรือนมีอาชีพเสริม – อบรมให้ความรู้เรื่องการตั้งกลุ่มอาชีพ |
||
ด้านทรัพยากรธรรมชาติฯ |
||||
– การใช้สารเคมีในการเกษตร | – ขาดความรู้ความเข้าใจการทำการเกษตรแนวใหม่ | – ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยชีวภาพ – รวมกลุ่มผลิตปุ๋ยชีวภาพ – ส่งเสริมการผลิตอาหารที่ปลอดภัย |
||
– การปลูกพืชเชิงเดี่ยว | – การส่งเสริมจากภาครัฐ | – การคืนพันธุกรรมท้องถิ่น – การทำสวนผสมผสาน – ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรริมแม่น้ำสายบุรี |
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ก่อนทำโครงการ ชุมชนบ้านบือเจาะมีการดำเนินชีวิตแบบแยกส่วน แต่มีการรวมตัวทำกิจกรรมบางอย่าง เช่น กิจกรรมมัสยิดและตาดีกา และการช่วยเหลือจากภาครัฐในช่วงน้ำท่วม
หลังทำโครงการ ชุมชนมีการประชุมสภาผู้นำเดือนละ 1 ครั้ง ผู้ใหญ่บ้านสามารถนำประเด็นสำคัญเข้าสู่การประชุมและติดตามการดูแลผู้สูงอายุ โดยแบ่งชุมชนเป็น 7 โซนดูแลผู้สูงอายุทั้งหมด 48 คน มีการจัดตั้งคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ 27 คน เพื่อเยี่ยมเยียนผู้สูงอายุทุกบ้านในชุมชนอย่างต่อเนื่อง
การก่อตัวสภาผู้นำชุมชนเข้มแข็งบ้านบือเจาะ
ในปี พ.ศ. 2564 ชุมชนบ้านบือเจาะเข้าร่วมโครงการชุมชนน่าอยู่ของ สสส. โดยมีผู้ใหญ่บ้านซากีย๊ะ สะแม เป็นผู้นำทีมร่วมเรียนรู้กลไกสภาผู้นำชุมชนเข้มแข็งจากหน่วยจัดการชุมชนชายแดนใต้ เพื่อพัฒนาศักยภาพและแก้ปัญหาผู้สูงอายุในพื้นที่ โดยการก่อตั้งสภาผู้นำชุมชนที่มีผู้สูงอายุ 48 คนเป็นสมาชิก พร้อมการสนับสนุนจากทีมพี่เลี้ยง รพ.สต. ผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการทำงานร่วมกัน เพื่อสร้างความเข้มแข็งและประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาชุมชน
ประเด็นร่วมของชุมชน คือ การดูแลผู้สูงอายุ
ในการประชุมของสภา ได้มีการวางแผนการดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 48 คน แบ่งพื้นที่เป็น 7 โซน (ชุมชนย่อย) ในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนดังนี้
1. ชุมชนกาปง จำนวน 23 คน
2. ชุมชนตันหยง จำนวน 5 คน
3. ชุมชนบาโระ จำนวน 2 คน
4. ชุมชนตะวันออก จำนวน 5 คน
5. ชุมชนจือนือเระ จำนวน 3 ราย
6. ชุมชนมะลา จำนวน 9 ราย
7. ชุมชนตาหลง จำนวน 1 คน
ตารางที่ 1 บทเรียนการทำงานของบ้านบือเจาะ
ด้าน/ประเด็น | การปรับและพัฒนา |
1. การดึงเอาคนดีคนเก่งในชุมชนเข้ามาทำงานร่วมกัน | บ้านบือเจาะใกล้รามัน เยาวชนจบการศึกษามักไปทำงานต่างถิ่น การดึงคนมีทักษะกลับมาทำงานต้องใช้การเชิญชวนเฉพาะเจาะจง |
2. ใช้ประเด็นเริ่มต้นในการชักชวนคนมาร่วมแก้ปัญหาชุมชน | ผู้สูงอายุในชุมชนเพิ่มขึ้นและมีปัญหาสุขภาพ จึงต้องการการดูแลเป็นระบบ โดยมีผู้นำชุมชนและผู้เกี่ยวข้องร่วมกันจัดการ |
3. การใช้ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการคืนข้อมูลให้กับชุมชนเป็นระยะ | ก่อนหน้าการดำเนินงาน ชุมชนไม่มีตัวเลขจำนวนผู้สูงอายุชัดเจน แต่หลังจากชุมชนได้สำรวจข้อมูลเองพบว่าในชุมชน มีผู้สูงอายุ จำนวนทั้งสิ้น 48 ราย |
4. การพัฒนาคนเพื่อให้มีความสามารถในการแก้ปัญหาได้อย่างเป็นระบบ | บ้านบือเจาะใช้เวทีประชุมสภาผู้นำชุมชนเพื่อพัฒนาศักยภาพทีมงานอย่างต่อเนื่อง โดยมีพี่เลี้ยงคอยให้คำปรึกษา พร้อมใช้เครื่องมือในการแก้ปัญหาและสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาของคนในชุมชนร่วมกัน |
5. การสร้างการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายและใช้กฎกติกาชุมชนในการแก้ปัญหา | บ้านบือเจาะได้มีการจัดประชาคมและวางกติกาที่เรียกว่า “หูกมปากัต” |
พื้นที่ใกล้กับอ.รามัน จ.ยะลา ประชากรบางส่วนอาศัยในชุมชนบ้านบือเจาะ ซึ่งอยู่ในต.บาลอ แม้ว่าจะมีแม่น้ำสายบุรีคั่นกลาง แต่ก็มีสะพานบือเจาะ–บาลอเชื่อมโยงให้สามารถไปหาสู่กันได้ ประชากรส่วนหนึ่งเลือกใช้บริการโรงพยาบาลรามัน เนื่องจากใกล้กว่าและมีความเชื่อมโยงกับเครือญาติกันในตำบลบาลอ
วิธีการชวนคนมาเป็นสภาผู้นำชุมขนบ้านบือเจาะ มี 3 วิธีหลัก:
1. การชักชวนโดยตรง: เชิญแกนนำในชุมชน เช่น กรรมการหมู่บ้าน และกลุ่มต่างๆ ให้เข้าใจปัญหาและเป้าหมายร่วมกันในการพัฒนาหมู่บ้าน
2. การชักชวนโดยทางอ้อม: เมื่อแกนนำเห็นผลจากการทำงาน จะเริ่มชักชวนกลุ่มอื่นๆ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่สัมผัสถึงประโยชน์
3. การเชิญชวนจากกลุ่มเป้าหมาย: เชิญผู้สูงอายุและครอบครัวผู้สูงอายุมาร่วมขับเคลื่อนการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน
โครงสร้างและการบริหารจัดการด้วยกลไกสภาชุมชน
การก่อตัวสภาผู้นำชุมชนบ้านบือเจาะได้พัฒนาระบบการบริหารจัดการชุมชนโดยแบ่งเป็น 7 โซนตามการรับผิดชอบของ อสม. ในแต่ละหมู่บ้าน โดยมอบหมายให้ผู้ใหญ่บ้านดูแลแต่ละโซน โซนละ 1 คน พร้อมทีมงานย่อยที่ประกอบด้วยอาสาสมัครสาธารณสุข ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และตัวแทนกลุ่มต่างๆ เพื่อติดตามและดูแลผู้สูงอายุในชุมชนอย่างใกล้ชิดและมีประสิทธิภาพ
ภาวะการนำ
นางซากีย๊ะ สะแม ในฐานะผู้ใหญ่บ้าน ใช้ผู้นำแบบประชาธิปไตยในการขับเคลื่อนกิจกรรมและแก้ปัญหาชุมชน โดยเน้นการตัดสินใจร่วมกัน ฟังความคิดเห็น และทำงานเป็นทีม ทำให้ผลงานดีและเพิ่มความพึงพอใจ แม้บางครั้งต้องใช้เวลานานในการตัดสินใจร่วม
กระบวนการและกิจกรรมที่นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงที่บ้านบือเจาะ
ความโดดเดี่ยวของผู้สูงอายุในชุมชนบ้านสาวอได้รับการแก้ไขผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้น เช่น การเยี่ยมจากสภาผู้นำชุมชนและคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ ทำให้เกิดการพบปะและสร้างสัมพันธ์ที่ดีในชุมชน ผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยหรือติดบ้านได้รับการดูแล และเริ่มมีการเชื่อมต่อกับสังคมมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการสำรวจข้อมูลผู้สูงอายุในชุมชน ซึ่งพบว่ามีทั้งหมด 48 คนในพื้นที่แต่ละโซน
เกิดการสร้างกติกาของสภาผู้นำชุมชน
1. สภาผู้นำต้องเป็นแบบอย่างให้กับคนในชุมชน
2. ห้ามขาดประชุมโดยไม่มีเหตุจำเป็น
3. สภาผู้นำชุมชนต้องมีส่วนร่วมในการทำงานทุกคน
4. สภาผู้นำชุมชนต้องทำหน้าที่สื่อสารประชาสัมพันธ์การดำเนินงาน
5. ร่วมกันวางแผน เสนอความคิดเห็น วิเคราะห์ ประเมินผล
6. ร่วมกันดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน
7. เป็นแบบอย่างและส่งเสริมมกิจกรรมขยับกาย 150 นาที /สัปดาห์ หรือ 10 – 30 นาที ต่อวัน
รูปแบบการผนึกกำลังในการจัดการทรัพยากรและความผูกพันต่อเป้าหมายของสภาผู้นำชุมชนบ้านบือเจาะ
สภาผู้นำชุมชนได้สร้าง Employee Engagement ที่มีประสิทธิภาพให้กับทีมงานคณะกรรมการ ทำให้คณะกรรมการรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสภาและมีความสุขในการทำงาน ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและการดูแลเอาใจใส่ทำให้การสื่อสารและการแก้ไขปัญหาทำได้เร็วและมีประสิทธิภาพ เป้าหมายและวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนช่วยเสริมสร้างความร่วมมือ ความภาคภูมิใจ และความผูกพันระยะยาวในการพัฒนาชุมชนบ้านบือเจาะให้เจริญก้าวหน้าและไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
ความเข้มแข็งของสภาผู้นำชุมชนและโอกาสความยั่งยืนในการทำงานของสภาผู้นำชุมชนบ้านบือเจาะ
มิติที่ 1 การมีส่วนร่วม ผลการประเมินครั้งที่ 1 พบว่า สภาผู้นำชุมชนบ้านบือเจาะอยู่ในระดับ 2 เนื่องจากสมาชิกยังไม่เข้าระบบการทำงานและการปฏิบัติตามข้อตกลง มีการเข้าร่วมประชุมและกิจกรรมน้อยกว่า 50% ในช่วง 4 เดือนแรก แต่หลังจากนั้นการประชาสัมพันธ์และการพัฒนาตนเองทำให้การมีส่วนร่วมเพิ่มขึ้น ในช่วงเดือนที่ 5 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มขึ้นถึง 256 คน ซึ่งมีการแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจมากขึ้น ในการประเมินครั้งที่ 2 พบว่าการมีส่วนร่วมและการตัดสินใจของสมาชิกชุมชนดีขึ้น มีการแสดงความคิดเห็นและร่วมกันหาทางออกในที่ประชุมมากขึ้น
มิติที่ 2 ผู้นำชุมชน ผลการประเมินทั้ง 2 ครั้ง พบว่าผู้นำชุมชนมาจากทุกกลุ่ม ทุกองค์กรในชุมชนสามารถทำงานได้ดี มีการพัฒนาทักษะการทำงานร่วมกันได้ทั้งในและนอกชุมชนได้ดี
มิติที่ 3 โครงสร้างองค์กร ผลการประเมินครั้งที่ 1 ระบุว่า สภาผู้นำชุมชนมีการประชุมสม่ำเสมอและทำงานโครงการได้ดี ระดับความเข้มแข็งอยู่ที่ 4 สามารถทำงานร่วมกับกลุ่มและองค์กรอื่นๆ ได้ดีมาก หลังจาก 5 เดือน สภาผู้นำได้ประเมินครั้งที่ 2 พบว่า ยังประชุมทุกเดือน ดำเนินกิจกรรมตามแผน มีความร่วมมือทั้งในและนอกชุมชน รวมถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับองค์กรอื่นได้ดี
มิติที่ 4 การประเมินปัญหา ผลการประเมินทั้ง 2 ครั้ง พบว่าอยู่ในระดับ 3 มีการจัดเก็บข้อมูลเป็นระบบ สามารถวิเคราะห์และประเมินปัญหาได้ดี
มิติที่ 5 การระดมทรัพยากร ผลการประเมินครั้งที่ 1 พบว่า สภาผู้นำชุมชนมีแผนพึ่งตนเองที่สามารถระดมทุนและทรัพยากรจากภายในชุมชนได้ในระดับ 4 โดยผ่านการจัดทำแผนและเวทีประชาคมในหมู่บ้าน ในการประเมินครั้งที่ 2 พบว่าแผนชุมชนพึ่งตนเองมีการกำหนดการใช้ทรัพยากรทั้งภายในและภายนอกชุมชน แต่ยังไม่ได้ดำเนินการตามแผนที่วางไว้
มิติที่ 6 การเชื่อมโยงกับบุคคลและองค์กรภายนอก ผลการประเมินครั้งที่ 1 พบว่าสภาผู้นำชุมชนสามารถติดต่อขอความร่วมมือจากบุคคลหรือองค์กรภายนอกได้บ้าง ส่วนการประเมินครั้งที่ 2 พบว่ามีการพัฒนาขึ้น โดยสภาผู้นำชุมชนสามารถทำข้อตกลงความร่วมมือกับหลายองค์กร เช่น สำนักงานพัฒนาชุมชน และสำนักงานเกษตรอำเภอ เพื่อขอรับงบประมาณสนับสนุนโครงการเสริมอาชีพให้กับชุมชนได้สำเร็จ
มิติที่ 7 ความสามารถในการ “ถามว่าทำไม” ผลการประเมินพบว่าในการประชุมครั้งแรก ชุมชนยังไม่ค่อยตั้งคำถาม “ทำไมต้องทำ” แต่ในการประเมินครั้งที่ 2 ชุมชนเริ่มถามมากขึ้นเกี่ยวกับเหตุผลและผลกระทบ เพื่อพิจารณาประโยชน์ที่ชุมชนจะได้รับ
มิติที่ 8 ความสัมพันธ์กับพี่เลี้ยง ผลการประเมินทั้ง 2 ครั้งพบว่าอยู่ในระดับ 4 โดยสภาผู้นำชุมชนเป็นผู้ตัดสินใจหลัก ส่วนพี่เลี้ยงทำหน้าที่อำนวยความสะดวก ดูแลการฝึกอบรมและสนับสนุนอื่นๆ มีการพูดคุยและหารือผ่านโทรศัพท์ รวมถึงลงพื้นที่พบปะทีมงานตามแผนงานที่กำหนดและติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
มิติที่ 9 การบริหารจัดการโครงการ ผลการประเมินพบว่า ครั้งแรกอยู่ในระดับ 2 เพราะคณะกรรมการไม่คุ้นเคยกับเครื่องมือประเมิน แต่ครั้งที่ 2 ปรับตัวได้ดีขึ้น จนได้ระดับ 4 สามารถบริหารจัดการตามแผนได้ทันเวลา แก้ปัญหาชุมชนได้ดี แต่ยังต้องพัฒนาทักษะการใช้โปรแกรม คอมพิวเตอร์ และปรับปรุงสัญญาณอินเทอร์เน็ต