โครงการชุมชนน่าอยู่พื้นที่ภาคใต้: การจัดการขยะที่ถูกวิธี บ้านกะลูแปเหนือ ม.9 ปี 2564

ถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบ โครงการชุมชนน่าอยู่พื้นที่ภาคใต้
บ้านกะลูแปเหนือ กลไกสภาผู้นำเข้มแข็งสู่ชุมชนจัดการขยะที่ถูกวิธี
โดย หน่วยจัดการพัฒนาศักยภาพภาคีพื้นที่ภาคใต้ ตุลาคม 2564

รู้จักบ้านกะลูแปเหนือ

ประวัติศาสตร์ชุมชน หมู่บ้านกะลูแปเหนือ หมู่ที่ 9 แยกออกจากหมู่ที่ 2 เนื่องจากประชากรเยอะ แยกตามแนวถนน หมู่บ้านตั้งชื่อจาก “กะลูแป” ซึ่งเป็นต้นไม้ใหญ่ที่สุดในหมู่บ้าน อยู่ทางทิศใต้ของหมู่ที่ 9 ฝั่งเหนือของเส้นทางหมู่บ้าน

ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่นี้เป็นที่ราบหรือลุ่มน้ำ ท่วมขังเป็นประจำทุกปี ใช้ทำการเกษตร เช่น ทำนา ทำสวน ยางพารา และปลูกผัก ชาวบ้านส่วนใหญ่ทำสวนและรับจ้าง อาศัยในหมู่บ้านที่นับถือศาสนาอิสลาม

จำนวนครัวเรือน 247 ครัวเรือน

การประกอบอาชีพ เกษตร (ทำไร่/ทำนา/ทำสวน/เลี้ยงสัตว์)

จำนวนกลุ่มกิจกรรม/อาชีพ มีจำนวน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเลี้ยงโคและกลุ่มปลูกผัก

การมีส่วนร่วมและความเข้มแข็งของชุมชน คือ การที่คนในหมู่บ้านร่วมกันคิด ร่วมทำ และร่วมแก้ปัญหาต่างๆ ผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น
– การประชุมคณะกรรมการหมู่บ้าน หรือสภาหมู่บ้าน
– การประชุมประจำเดือนหมู่บ้าน
– เวทีประชาคมหมู่บ้าน
โดยมีสมาชิกในหมู่บ้านเข้าร่วมกลุ่มต่างๆ เช่น กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการเกษตร, กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต, กองทุนหมู่บ้าน หรือกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ เพื่อร่วมแก้ไขปัญหาความยากจนและส่งเสริมเศรษฐกิจในชุมชน

ความไม่น่าอยู่ของบ้านกะลูแปเหนือ

จากการวิเคราะห์ประเมินชุมชนของสภาผู้นำชุมชนบ้านกะลูแปเหนือเมื่อเข้ามาร่วมดำเนินโครงการกับชุดโครงการชุมชนน่าอยู่ ได้ใช้เครื่องมือสามเหลี่ยมปัญหา และต้นไม้ปัญหามาวิเคราะห์ความไม่น่าอยู่ของบ้านกะลูแปเหนือ

การวิเคราะห์จุดอ่อน / จุดแข็งและปัญหา / ศักยภาพของหมู่บ้าน

จุดอ่อน / ปัญหา

จุดแข็ง / ศักยภาพ

ด้านเศรษฐกิจและสภาพแวดล้อม

– ผลผลิตทางการเกษตรราคาตกต่ำ
– ไม่มีตลาดรองรับผลผลิตทางการเกษตร
– ขาดการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากภาครัฐ
– คนในชุมชนยังขาดจิตสาธารณะ/ขาดการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
– ไม่มีอาชีพเสริม/ว่างงาน
– สินค้าราคาแพง/ค่าครองชีพสูง
– การจัดการขยะมูลฝอยยังไม่มีประสิทธภาพ
– มีการทิ้งขยะไม่เป็นที่เป็นทางเป็นสะสมของเชื้อโรค
– มีแหล่งเงินทุนของชุมชน เช่น กลุ่มออมทรัพย์ กองทุนหมู่บ้านฯ
– มีภูมิปัญญาท้องถิ่น
– มีพื้นทีทำนาของตนเองในการผลิตอาหาร
– มีกลุ่มสตรีที่มีบทบาทในการพัฒนาหมู่บ้าน

ด้านสุขภาพอนามัยและยาเสพติด

– โรคเรื้อรังเพิ่มสูงมากขึ้นในทุกวัยของคนในชุมชน
– ขาดการออกกำลังกาย/อุปกรณ์การออกกำลังกาย
– ขาดความรู้ในการดูแลสุขภาพและบริโภคอาหารที่ปลอดภัย
– คนในชุมชนไม่ผลิตอาหารกินเอง
– ยาเสพติด/การลักเล็กขโมยน้อย
มี อสม.ในหมู่บ้านที่พร้อมทำงาน
– มีการรณรงค์ในการควบคุมดูแลรักษาสุขภาพ

ด้านความรู้และการศึกษา

– ขาดความรู้ในการบริหารจัดการชุมชน
– ไม่สนใจข่าวสารและการอ่าน
– ไม่มีหลักสูตรการเรียนรู้ท้องถิ่น
มีแกนนำหมู่บ้านพร้อมจะบริหารจัดการชุมชน
– มีแหล่งความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น

ด้านการมีส่วนร่วมและความเข้มแข็งในชุมชน

– มีส่วนร่วมในทำงานของชุมชนน้อย
– ขาดการบริหารจัดการกลุ่มที่ดี
กิจกรรมตามประเพณีที่ยังก่อการรวมตัวของคนในชุมชนได้

ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติฯ

– การใช้สารเคมีในการเกษตร – จัดอบรมการปลูกพืชผสม เพื่อรักษาดินไม่ให้เสื่อมโทรม นำปุ๋ยชีวภาพมาใช้

ตารางวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา / แนวทางแก้ไข

จุดอ่อน / ปัญหา

สาเหตุของปัญหา แนวทางแก้ไข

ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

– เครื่องมือที่สนับสนุนการปฏิบัติงานไม่เพียงพอ ทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทันเวลา

 

รถบรรทุกเกินน้ำหนักทำให้พื้นผิวถนนชำรุด
– งบประมาณหนุนเสริมมีน้อย
– การเพิ่มขึ้นของครัวเรือน
– น้ำท่วมขัง
ปรับปรุงซ่อมแซมถนน
– ขยายเขตไฟฟ้าให้ทั่วถึง
– ติดตั้งไฟฟ้าสาธารณะในที่ชุมชนหนาแน่น
– ติดตั้งเครื่องกรองน้ำ

ด้านเศรษฐกิจ

– ต้นทุนการผลิตสูง
– รายจ่ายมากกว่ารายได้
– ค่าครองชีพสูง
– ราคาผลผลิตตกต่ำ
– หนี้สิน
ขาดการมีส่วนร่วม
– การบริโภคฟุ่มเฟือย
– ราคาต้นทุนการผลิตสูง
– ไม่มีการรวมกลุ่มกันทำ
– ค่าใช้จ่ายสูง/สินค้าราคาแพง
– มีรายได้ไม่ต่อเนื่อง
– เงินลงทุนมีน้อย
สร้างการเรียนรู้ในการบริหารจัดการกลุ่ม
– ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น
– สร้างฐานการผลิตอาหารเอง (ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์)
– ผลิตพลังงานทดแทน
– จัดหาทุนในการประกอบอาชีพ
– สร้างอาชีพเสริม
– สร้างงานในหมู่บ้าน
– จัดตั้งร้านค้าประชารัฐ
– ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพใช้เอง

ด้านสุขภาพและยาเสพติด

– สุขภาพอนามัย/โรคเรื้อรัง
– การบริโภคอาหารปนเปื้อน
– ขาดความรู้ในการดูแลสุขภาพ
การใช้สารเคมี
– กินอาหารไม่ถูกสุขลักษณะ
– ขาดการออกกำลังกาย
– หน่วยบริการสาธารณสุขส่งเสริมไม่จริงจัง
ลดการใช้สารเคมี
– ส่งเสริมการออกกำลังกาย
– ตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือด
– ตรวจสุขภาพปี ละ 2 ครั้ง
– ลดการบริโภคอาหารปนเปื้อน ผลิตอาหารกินเอง
– ส่งเสริมด้านสุขภาพอย่างจริงจัง

ด้านความรู้และการศึกษา

– ขาดความรู้ในการบริหารจัดการชุมชน
– ไม่สนใจข่าวสารและการอ่าน
– ไม่มีหลักสูตรการเรียนรู้ท้องถิ่น
ไม่มีโอกาสในการเรียนรู้ ยกระดับเศรษฐกิจครัวเรือนให้มีรายได้ พึ่งตนเอง
– ส่งเสริมกการเรียนรู้ให้ตัวแทนครัวเรือน เรื่องการผลิตและบริโภคอาหารที่ปลอดภัย
– อบรมให้ความรู้เรื่องการบริหารจัดการชุมชน

ด้านการมีส่วนร่วมฯ

– มีส่วนร่วมในทำงานของชุมชนน้อย
– ขาดการบริหารจัดการกลุ่มที่ดี
ไม่เห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมในชุมชน
– ไม่มีเวลา มุ่งทำงานหารายได้
จัดกิจกรรมส่งเสริมการทำงานแบบมีส่วนร่วม
– สร้างกลุ่ม รวมกลุ่มจากอาชีพหลักให้มากขึ้น
– ส่งเสริมให้ครัวเรือนมีอาชีพเสริม
– อบรมให้ความรู้เรื่องการตั้งกลุ่มอาชีพ

ด้านทรัพยากรธรรมชาติฯ

– การใช้สารเคมีในการเกษตร

 

โฆษณาชวนเชื่อ
– ใช้แล้วเห็นผลทันที
– การเห็นแก่ตัว
– มีการจัดอบรมการปลูกพืชผสม เพื่อรักษาดินไม่ให้เสื่อมโทรม นำปุ๋ยชีวภาพมาใช้ในการเกษตรกร
– การปลูกพืชเชิงเดี่ยว การส่งเสริมจากภาครัฐ – การคืนพันธุกรรมท้องถิ่น
– การทำสวนผสมผสาน
– การเพิ่มพันธุกรรมในพื้นที่สวนยาง

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

การก่อตัวสภาผู้นำชุมชนเข้มแข็งบ้านกะลูแปเหนือ

ในปี 2564 ชุมชนบ้านกะลูแปเหนือเข้าร่วมโครงการชุมชนน่าอยู่ของ สสส. โดยมีการสร้างสภาผู้นำชุมชนเพื่อแก้ปัญหาขยะในครัวเรือนและชุมชน เริ่มจากการฝึกอบรมและเรียนรู้การจัดการขยะโดยใช้เครื่องมือต้นไม้ปัญหาและบันไดผลลัพธ์ จากนั้นมีการลงพื้นที่เก็บข้อมูลจาก 160 ครัวเรือน และจัดอบรมการคัดแยกขยะให้ 60 ครัวเรือน ซึ่งช่วยให้ชุมชนมีการจัดการขยะอย่างมีระเบียบ โดยให้แต่ละครัวเรือนแยกขยะเปียกและขยะทั่วไป รวมถึงส่งเสริมการทำปุ๋ยหมักในครัวเรือน จากการพัฒนาทักษะและการเรียนรู้ร่วมกัน ทำให้สภาผู้นำขยายจาก 15 คนเป็น 17 คน และการขับเคลื่อนขยะมีความสำเร็จด้วยความร่วมมือจากองค์กรท้องถิ่นและหน่วยงานต่างๆ

ตารางที่ 1 บทเรียนการทำงานของบ้านลูโบะสูลง ที่บ้านกะลูแปเหนือ นำมาประยุกต์ใช้

บทเรียนของบ้านลูโบะสูลง

สิ่งที่บ้านกะลูแปเหนือนำมาปรับใช้

1. การดึงเอาคนดีคนเก่งในชุมชนเข้ามาทำงานร่วมกัน ใช้วิธีเชิญชวนส่วนตัวและเชิญคนที่มีจิตอาสาเข้าทำงานเพื่อดึงคนดีคนเก่งมาร่วมงาน แต่บางคนมีภารกิจส่วนตัว จึงสามารถเข้าร่วมได้เฉพาะบางกลุ่ม
2. ใช้ประเด็นเรื่องความสกปรกจากขยะ และการจัดการขยะที่ไม่มีประสิทธิภาพ เป็นประเด็นเริ่มต้นในการชักชวนคนมาร่วมแก้ปัญหาชุมชน ใช้ข้อมูลจากสภาผู้นำชุมชนในการสำรวจปริมาณขยะ, พฤติกรรมการแยกขยะในครัวเรือน, และการทิ้งขยะในชุมชน เพื่อนำมาหารือและชวนคนในชุมชนร่วมแก้ปัญหา ผลคือได้ผลดีเพราะเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับทุกคนในชุมชน
3. การใช้ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการคืนข้อมูลให้กับชุมชนเป็นระยะ ให้ความสำคัญกับข้อมูลเศรษฐกิจและสังคม โดยร่วมกับพี่เลี้ยงวิเคราะห์ผลกระทบจากการจัดการขยะที่ไม่มีประสิทธิภาพ และจัดกิจกรรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย พร้อมทั้งคืนข้อมูลให้กับชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
4. การพัฒนาคนเพื่อให้มีความสามารถในการแก้ปัญหาได้อย่างเป็นระบบ บ้านกะลูแปเหนือใช้เวทีประชุมสภาผู้นำชุมชนในการพัฒนาศักยภาพทีมงาน โดยมีพี่เลี้ยงให้คำปรึกษา และใช้เครื่องมือต่างๆ ในการแก้ปัญหา พร้อมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาของชุมชนร่วมกัน
5. การสร้างการมีส่วนร่วมของคนทุกฝ่าย และใช้กฎกติกาในการแก้ปัญหา จัดประชาคมเพื่อวางกติกาคัดแยกขยะ โดยมี 5 กติกาหลัก:
– ทุกครัวเรือนต้องแยกประเภทขยะ
– ขยะเปียกนำไปทำปุ๋ยหมัก
– รักษาความสะอาดบริเวณหน้าบ้าน
– โรงเรียนตาดีเกามีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะ
– นักเรียนสามารถนำความรู้ไปสู่ครอบครัว

โครงสร้างและการบริหารจัดการด้วยกลไกสภาชุมชน

การก่อตัวของสภาผู้นำชุมชนบ้านกะลูแปเหนือเริ่มจากการเรียนรู้จากชุมชนบ้านลูโบะสูลง จ.ปัตตานี เพื่อสร้างกลไกสภาผู้นำที่เข้มแข็ง โดยมีการจัดตั้งคณะทำงาน 15 คน ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน, ผรส., อิหม่าม, สท., กลุ่มสตรี, กรรมการ กม. และ อสม. ซึ่งแบ่งหน้าที่เป็น 6 ฝ่ายและประชุมเดือนละครั้ง

สภาผู้นำได้ดำเนินงานสำรวจข้อมูล 160 ครัวเรือนเพื่อจัดทำแผนชุมชน และอบรมการคัดแยกขยะให้ 60 ครัวเรือน เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาขยะในชุมชนอย่างมีระบบ โดยแยกขยะอินทรีย์ไปใช้ประโยชน์, ขยะรีไซเคิลนำไปแลกบุญ, ขยะอันตรายมีการเก็บแยกและจัดการอย่างเหมาะสม

สภาผู้นำได้กำหนดกฎเกณฑ์การจัดการขยะใน 3 ข้อหลัก:
1. ทุกครัวเรือนต้องแยกขยะภายในบ้าน
2. ขยะเปียกทำปุ๋ยหมัก
3. รักษาความสะอาดหน้าบ้าน

ความเข้มแข็งของสภาผู้นำชุมชนและโอกาสความยั่งยืนในการทำงานของสภาผู้นำบ้านกะลูแปเหนือ

สภาผู้นำชุมชนบ้านกะลูแปเหนือเริ่มจากการรวมกลุ่มของผู้นำศาสนาและขยายการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในหมู่บ้าน เพื่อแก้ไขปัญหาชุมชนร่วมกัน โดยมีการจัดทำแผนชุมชนพึ่งตนเองและวิเคราะห์ปัญหาผ่านข้อมูลครัวเรือน ชุมชนมีการประชุมเดือนละ 1 ครั้งเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและติดตามผลการดำเนินงาน โดยใช้เครื่องมือ 9 มิติในการประเมินความเข้มแข็งของสภาผู้นำและการบริหารงบประมาณโครงการต่างๆ ด้วยความโปร่งใส

สภาผู้นำแบ่งหน้าที่ออกเป็น 6 ฝ่ายตามโครงสร้าง มีการประชุมร่วมกันและจัดทำแผนที่ขอการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน สภายังมีการสื่อสารผลการดำเนินงานผ่านเครื่องมือในมัสยิดและประชุมประจำเดือนของชุมชน และแม้จะมีการเข้าร่วมมากขึ้นและสามารถเชื่อมโยงภายนอกได้ดี แต่ยังมีความท้าทายในการสร้างความมั่นใจให้สมาชิกแสดงความคิดเห็นและตั้งคำถามในการประชุม

สรุปผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงเมื่อมีการขับเคลื่อนของสภาผู้นำ
             1. จัดตั้งคณะทำงานสภาผู้นำชุมชน 17 คน แบ่งงานเป็น 6 ฝ่าย และประชุมเดือนละ 1 ครั้ง
2. สภาผู้นำชุมชนเก็บข้อมูล 160 ครัวเรือน จัดทำแผนชุมชนแบบมีส่วนร่วม พร้อมอบรมการคัดแยกขยะให้ 60 ครัวเรือน
3. เก็บข้อมูลสำรวจครัวเรือนเพื่อจัดทำแผนชุมชนและขอสนับสนุนจาก สสส.
4. กำหนดกติกา 3 ข้อ: 1) แยกขยะในครัวเรือน 2) ขยะเปียกทำปุ๋ยหมัก 3) รักษาความสะอาดหน้าบ้าน

ผลลัพธ์ที่ 2  ครัวเรือนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในการจัดการขยะต้นทาง

กิจกรรม
             1. ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจโครงการให้กลุ่มเป้าหมาย
2. ปฏิบัติการคัดแยกขยะที่อย่างถูกวิธี
3. บรรยายจารยธรรม คำสอน ศาสนาอิสลามในเรื่องการรักษาความสะอาดในแบบฉบับท่านนาบีมูฮัมหมัด ซล.
4. ปฏิบัติการ การประยุกต์ใช้ขยะเพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่
5. เรียนรู้ดูงานชุมชนต้นแบบด้านการคัดแยกขยะ

ตัวชี้วัด
             1. 60 ครัวเรือนมีความรู้เข้าใจในเรื่องการคัดแยกขยะที่อย่างถูกวิธี
2. 60ครัวเรือนมีความตระหนักและปฏิบัติการคัดแยกขยะต้นทาง
3. เกิดกติกาคัดแยกขยะต้นในครัวเรือน 5 ข้อ

ตัวชี้วัดที่เกิดขึ้นจริง
             1. ครัวเรือน60 ครัวเรือนมีความรู้เข้าใจจากการปฏิบัติการคัดแยกขยะที่อย่างถูกวิธี
2. ครัวเรือน 60 ครัวเรือนปฏิบัติการคัดแยกขยะต้นทางในครัวเรือน
3. การปฏิบัติการคัดแยกขยะ 60 ครัวเรือนกำหนดกติกาคัดแยกขยะต้นในครัวเรือน จำนวน 3 ข้อ
– ทุกครัวเรือนต้องแยกประเภทขยะภายในครัวเรือน
– ขยะเปียกทิ้งรวมกับขยะเปียกและเศษอาหารเก็บทำปุ๋ยหมัก
– ให้ช่วยกันรักษาความสะอาดบริเวณหน้าบ้าน

ผลลัพธ์ที่3 ครัวเรือนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและคัดแยกขยะต้นทางในครัวเรือน

กิจกรรม
             1. มีการเยี่ยมบ้านครัวเรือนคัดแยกขยะเพื่อติดตามพฤติกรรมการการคัดแยกขยะในครัวเรือน
2. กิจกรรมสัญญาร่วมใจร้านค้าคัดแยกขยะก่อนทิ้ง
3. ขยะแลกบุญ
4. ประกวดครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะ

ตัวชี้วัด
             1. มีการติดตามพฤติกรรมคัดแยกขยะในครัวเรือน 60 ครัวเรือน
2. มีข้อมติร่วมชุมชนกับร้านค้าในการจัดทำร้านค้าคัดแยกขยะ จำนวน 5 ข้อ
3. มีพื้นที่กลางของชุมชนในการบริจาคขยะเพื่อและบุญ 1 มัสยิด
4. มีครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะ 30ครัวเรือน

ตัวชี้วัดที่เกิดขึ้นจริง
             1. สภาผู้นำชุมชนลงพื้นที่เยี่ยมบ้านครัวเรือนคัดแยกขยะเพื่อติดตามพฤติกรรมการการคัดแยกขยะในครัวเรือน 60 ครัวเรือนตากกติกาข้อตกลง 3 ข้อ
2. กิจกรรมสัญญาร่วมใจร้านค้าคัดแยกขยะก่อนทิ้งสภาผู้นำชุมชนร่วมกับร้านค้าตลาดในชุมชนมีข้อมติร่วมชุมชนกับร้านค้าในการคัดแยกขยะ 4 ชนิด
– ขยะเปียกจากร้านค้าและตลาด ให้มีการคัดแยกลงในถัง ถุงดำ
– ขยะมาจากเศษผักเศษผลไม้เศษอาหาร เปลือกผลไม้
– ขยะแห้ง มาจากร้านค้าในตลาดสด เช่น เศษพลาสติก โฟม ถุงพลาสติกเปื้อนอาหาร ทิ้งในถังขยะทั่วไปที่ย่อยสลายยาก
– ขยะอันตราย เกิดจากร้านค้า ส่วนใหญ่เป็นซากแบตเตอร์รี่ หลอดไฟฟลูออเรสเซ้นต์ แยกไว้ก่อนไปทิ้งเพื่อกำจัดหรือให้เทศบาลทำลาย
3. สภาผู้นำชุมชนร่วมกับคนในชุมชนจัดกิจกรรมขยะแลกบุญจัดตั้งศูนย์กลางการบริจาคขยะเพื่อประโยชน์ส่วนร่วมพื้นที่กลางของชุมชนในการบริจาคขยะบริเวณ 1 มัสยิดโดยมีโรงเรียนตาดีกาของชุมเข้าร่วมกิจกรรมด้วย
4. ครัวเรือนต้นแบบแกนนำสภา 15  ครัวเรือน ๆ คัดแยกขยะ 25 ครัวเรือน  ครัวเรือนใช้ประโยชน์จากขยะ 20 ครัวเรือนคัดแยกขยะทั้ง 60 ครัวเรือน

ผลลัพธ์ที่  4ปริมาณขยะในครัวเรือนลดลง

กิจกรรม เวทีสรุปการดำเนินงานและถอดบทเรียน

ตัวชี้วัด
             1. ปริมาณขยะในครัวเรือนลดลงร้อย 50
2. ครัวเรือนมีการคัดแยะขยะต้นทาง ร้อยละ 80

ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการ
             1. คณะกรรมการไม่เข้าใจแผนการดำเนินงาน มีการประชุมประจำเดือนคณะกรรมการสภาไม่ครบองค์ประชุมเนื่องมีภารกิจส่วนตัวต้องเลื่อนการประชุม
2. ความไม่ต่อเนื่องของโครงการทำให้การจัดการขยะไม่มีประสิทธิภาพ

รูปภาพกิจกรรมการดำเนินงานชุมชนน่าอยู่

     

ประชุมสภาผู้นำชุมชนเพื่อขับเคลื่อนงาน กำหนดการประชุมทุกเดือนๆ 1 ครั้ง

                  

แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการสำรวจข้อมูลและจัดเก็บข้อมูลตามละแวกต่างๆ 4 ละแวก โดยกำหนดทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออกและ ทิศตะวันตก แบ่งเป็น 4 คน ต่อละแวก มีการประชุมกลุ่มเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลโดยมีการสำรวจข้อมูลก่อนและหลัง จำนวน 2 ครั้ง

       

ครัวเรือนต้นแบบในการคัดแยกขยะ จำนวน 3 ครัวเรือน มีการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี

                                                

มีการศึกษาดูงานการจัดการขยะที่หมู่บ้านต้นแบบ บ้านลูโบะสูลง ม.10 ต.เตราะบอน

                                                

      

มีการอบรมให้ความรู้การจัดการขยะโดย จนท.เทศบาลตำบลเตราะบอน และ กศน.ตำบลเตราะบอน

                        

   

มีการดำเนินกิจกรรมขยะแลกบุญและร้านค้าต้นแบบ สัญญาใจในการจัดการขยะ กลุ่มเด็กและเยาวชนเข้าร่วมกิจกรรม

                                      

   

มีการประชุมเพื่อรายงานการติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา จำนวน 3 ครั้ง

Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

ระบุข้อความ