โครงการชุมชนน่าอยู่พื้นที่ชายแดนใต้ บ้านสาวอ ม.4 จ.นราธิวาส ปี 2565

ถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบ โครงการชุมชนน่าอยู่พื้นที่ชายแดนใต้
โดย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสาวอ ธันวาคม 2565

1. บริบทของพื้นที่
1.1 ข้อมูลสภาพในพื้นที่

บ้านดือแย ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 4 ต.สาวอ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส ห่างจากอำเภอรือเสาะไปทางทิศตะวันตกประมาณ 15 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมด 9.964 ตารางกิโลเมตร หรือ 6,227.5 ไร่ ชุมชนมี 2 ฤดู คือ ฤดูร้อน (มีนาคม – มิถุนายน) และฤดูฝน (กรกฎาคม – กุมภาพันธ์) โดยมีฝนตกชุกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีอยู่ที่ 27 องศาเซลเซียส และความชื้นสูงประมาณ 60-80% ชุมชนนี้มีประชากรทั้งหมด 690 คน แบ่งเป็นชาย 334 คน และหญิง 356 คน โดยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น การทำสวน ทำนา และกรีดยาง มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 120 หลังคาเรือน ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยมุสลิม ร้อยละ 100 และมี 3 ชุมชนย่อยในหมู่บ้าน ได้แก่ ชุมชนฆ้อง ชุมชนกาปง และชุมชนตันหยง นอกจากนี้ยังพบว่าชุมชนมีปัญหาน้ำท่วมทุกปีจากแม่น้ำสายบุรีและปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ทำให้ฝนตกไม่ตรงฤดูกาล สถานการณ์สุขภาพของประชากรพบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีจำนวน 1 ราย และมีการควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีใน 5 ราย คิดเป็นร้อยละ 45.45 ส่วนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีจำนวน 47 ราย ควบคุมได้ดี 11 ราย (ร้อยละ 23.41%) และไม่สามารถควบคุมได้ 36 ราย (ร้อยละ 76.59%)

1.2 ความไม่น่าอยู่ของพื้นที่
1.2.1
การวิเคราะห์จุดอ่อน / จุดแข็งและปัญหา / ศักยภาพของหมู่บ้าน

จุดอ่อน / ปัญหา

จุดแข็ง / ศักยภาพ

ด้านเศรษฐกิจและสภาพแวดล้อม

– ประกอบอาชีพกรีดยางพารา รายได้ตกต่ำ
– ทำอาชีพเกษตรกรรม ได้ในบางเดือน และมักจะเกิดความเสียหายในเดือนตุลาคม – กุมภาพันธ์ จากความไม่แน่นอนของฤดูกาล ส่งผลกระทบจากอุทกภัยน้ำท่วมทำลายสร้างความเสียหายกับพื้นที่เกษตรกรรมของชุมชน ร้อยละ 80
– รายจ่ายมากกว่ารายได้
– ภาวะหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
– ต้นทุนในการทำการเกษตรสูง/ราคาผลผลิตตกต่ำ
– ขาดทักษะในการใช้ความรู้ในการพัฒนาอาชีพ
– ไม่มีอาชีพเสริม/ว่างงาน
– สินค้าราคาแพง/ค่าครองชีพสูง
– ถูกเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลาง
– ไม่มีกลุ่มอาชีพที่เป็นรูปธรรม
– ไม่มีตลาดรองรับสินค้าในชุมชน
– ขยะมูลฝอย/ดินเสื่อม
– ลำคลองและเหมืองส่งน้ำตื้นเขิน
– จำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น มักอาศัยร่วมกับหลานๆ
– เป็นชุมชนที่อยู่ห่างไกลจาก รพ.สต. เข้าถึงระบบบริการยาก
– ปัญหาความไม่สงบเกิดขึ้นบ่อยครั้ง
– เป็นชุมชนสีแดง (มีเหตุการณ์ความไม่สงบบ่อยครั้ง)
– ถนนเข้าหมู่บ้านลำบาก และเข้าไปลึก ห่างจากถนนเส้นหลัก 5 กิโลเมตร
– หลังจากพ้นช่วงน้ำท่วมในหมู่บ้านปัญหาขยะที่ลอยมากับน้ำ
– ปัญหาบ่อนำไม่สะอาด
– การเคลื่อนย้ายประชาชนในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม ต้องทำทุกปี
– ชุมชนใช้ชีวิตแบบพอเพียง
– มีการประกอบอาชีพทำนา ทำไร่ ในพื้นที่ของตนเอง
– เยาวชนในพื้นที่ ส่วนใหญ่ จะเรียนในระดับสูงกว่า มัธยม
– มีร้านค้าในชุมชน 2 ร้าน
– มีร้านอาหารในชุมชน 2 ร้าน
– มีมัสยิดเป็นศูนย์กลางการจัดกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน

ด้านสุขภาพอนามัยและยาเสพติด

– โรคเรื้อรังเพิ่มสูงมากขึ้นในทุกวัยของคนในชุมชน
– ขาดการออกกำลังกาย/อุปกรณ์การออกกำลังกาย
– ขาดความรู้ในการดูแลสุขภาพและบริโภคอาหารที่ปลอดภัย
– ยาเสพติด/การลักเล็กขโมยน้อย
– ครอบครัวแตกแยก
– ห่างไกลจาก รพ.สต. อุปกรณ์คัดกรองสุขภาพไม่เพียงพอ
– มีการรณรงค์ในการควบคุมดูแลรักษาสุขภาพ
– มีอสม.ในหมู่บ้านที่พร้อมทำงาน
– มี ชรบ. เฝ้าระวังปัญหายาเสพติดในชุมชน

ด้านความรู้และการศึกษา

– ความยากจนทำให้เด็กขาดโอกาสทางการศึกษา
– ขาดทักษะในการทำงานเป็นทีม
– ขาดความรู้ในการสร้างทีมงานให้เข้มแข็ง
มีแกนนำ อสม. ทีกรรมการหมู่บ้าน ทีมคณะกรรมการมัสยิดที่มีความรู้
– มีแหล่งความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น
ด้านการมีส่วนร่วมและความเข้มแข็งในชุมชน
– ขาดการจัดการชุมชนแบบมีส่วนร่วม การแบ่งงานที่ชัดเจนในชุมชน
– มีตำแหน่งมีอำนาจในชุมชน แต่ยังใช้ไม่เต็มที่
กิจกรรมตามประเพณีที่ยังก่อการรวมตัวของคนในชุมชนได้

ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติฯ

– การใช้สารเคมีในการเกษตร มีกลุ่มเลี้ยงปลา
– มีกลุ่มเกษตรอินทรีย์
– ทำการเกษตรปลดสารพิษ

ตารางวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา / แนวทางแก้ไข

จุดอ่อน / ปัญหา สาเหตุของปัญหา แนวทางแก้ไข
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
– การคมนาคมไม่สะดวก
– ไฟฟ้าสาธารณะไม่เพียงพอ
– ไม่มีประปาหมู่บ้าน
– สัญญาณโทรศัพท์ ขัดข้อง
รถบรรทุกเกินน้ำหนัก
– งบประมาณหนุนเสริมมีน้อย
– ไม่มีงบ
ปรับปรุงซ่อมแซมถนน
– ขยายเขตไฟฟ้าให้ทั่วถึง
– ติดตั้งประปาสาธารณะในที่ชุมชน
– ขยายสัญญาณโทรศัพท์ให้ครอบคลุมทุกเครือข่าย

ด้านเศรษฐกิจ

– ผลิตขายในชุมชน – ขาดความรู้ในการสร้าง
– ขยายการตลาด
– หน่วยงานรัฐเข้ามาพัฒนากระบวนการผลิต กระบวนตลาด การจัดทำบัญชี การสร้างอาชีพในกลุ่มว่างงาน

ด้านสุขภาพและยาเสพติด

– ไม่ตรวจสุขภาพประจำปี
– ขาดการดูแลด้านสุขภาพ
– เยาวชนเสี่ยงติดยาเสพติด
– ผู้สูงอายุขาดการดูแล
– ไม่มีกิจกรรมออกกำลังกายในผู้สูงอายุ
– อยู่ห่างไกล รพ.สต.
– อยู่กับบุตรหลาน
– ยาเสพติดเข้าถึงง่าย เยาวชนว่างงาน
– ลูกหลาน ไปทำงานต่างถิ่น
– ไม่มีทักษะออกกำลังเพื่อสุขภาพ
– รพ.สต.ยกระดับการจัดบริการ สนับสนุนเครื่องวัดความดันโลหิต เครื่องเจาะเบาหวาน และตั้งจุดบริการสุขภาพ 3 จุด ในชุมชน สื่อสารผ่านระบบออนไลน์
– แบ่งทีมดูแลผู้สูงอายุเป็น 3 ทีมในแต่โซน
– สร้างงานสร้างอาชีพให้กับกลุ่มเยาวชน
– จัดอบรมความรู้ให้กับเยาวชนกลุ่มเสี่ยงให้มีทักษะในการใช้ชีวิต ทักษะการปฏิเสธ ทักษะเยาวชนที่ชุมชนหวังพึ่งพาในอนาคต
– จัดทีมชุมชนร่วมดูแล
– อบรมทักษะการออกกำลังกาย และสอนทักษะการขยับกายง่ายๆ ให้ผู้สูงอายุได้ปฏิบัติตัว

ด้านความรู้และการศึกษา

– ความยากจนทำให้ขาดโอกาสทางการศึกษา
– ขาดทักษะในการทำงานเป็นทีม
– ขาดความรู้ในการสร้างทีมงานให้เข้มแข็ง
ไม่มีเงิน ค่าใช้จ่ายที่จะส่งเสียให้บุตรหลานได้รับการศึกษาที่สูงขึ้น – ส่งเสริมให้เข้าถึงการศึกษาฟรี ที่มีในพื้นที่ใกล้เคียง
– อบรมพัฒนาทีมผู้นำชุมชน
– สอนให้ทีมผู้นำได้ร่วมแก้ไขปัญหาง่ายๆ ร่วมกัน

ด้านการมีส่วนร่วมฯ

– ขาดการจัดการชุมชนแบบมีส่วนร่วม การแบ่งงานที่ชัดเจนในชุมชน
– มีตำแหน่ง มีอำนาจการบริหารแต่ขาดทักษะในการทำงานเป็นทีม
ไม่เห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมและ
การทำงานตามบทบาทของตนเองในชุมชน
– ไม่มีเวลา มุ่งทำงานหารายได้
จัดกิจกรรมส่งเสริมการทำงานแบบมีส่วนร่วมในชุมชน
– จัดตั้งสภาผู้นำชุมชนให้มีการประชุมหารือการพัฒนา และแก้ไขปัญหาต่างๆในชุมชนทุกเดือน อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

ด้านทรัพยากรธรรมชาติฯ

– การใช้สารเคมีในการเกษตร
– ปริมาณขยะจำนวนมาก
– ปฏิบัติตามกันมาในชุมชน
– จากการแนะนำจากเกษตรกรรมด้วยกัน
– มุ่งที่ผลผลิต ไม่คำนึงถึงอันตราย
– ไม่มีรถจัดเก็บขยะ
– ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยชีวภาพ
– รวมกลุ่มผลิตปุ๋ยชีวภาพ
– ส่งเสริมการผลิตอาหารที่ปลอดภัย
– ขุดหลุดขยะในชุมชน
  1. ความสำเร็จและผลลัพธ์ของพื้นที่ต้นแบบ
1. เพื่อให้เกิดกลไกสภาผู้นำชุมชน สามารถบริหารชุมชนได้อย่างเข้มแข็ง 2. เพื่อให้สภาผู้นำชุมชนขับเคลื่อนงานผู้สูงอายุให้มีกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางกายไม่น้อยกว่า 150 นาที /สัปดาห์
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง
1.1 เกิดกลุ่มสภาผู้นำชุมชนที่มีความหลากหลาย
1.2 มีการจัดเก็บข้อมูลและทำแผนจัดการชุมชน
1.3 มีขับเคลื่อนและปรับแผนให้สำเร็จ
1.4 เชื่อมโยงความร่วมมือกับทุกกลุ่มได้
มีการประชุมเดือนละ 1 ครั้ง
– มีการรวมจัดทำแผนชุมชน
– มีการขับเคลื่อนประเด็นผู้สูงอายุ
– มีการทำงานกับหลากหลายกลุ่ม ในหมู่บ้าน และนอกหมู่บ้
2.1  กลุ่มผู้สูงอายุมีการออกกำลังกาย 150 นาที / สัปดาห์
2.2 เกิดชมรมการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ 1 ชมรม
2.3 เกิดสิ่งสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อกิจกรรมทางกายในผู้สูงอายุ
2.4 เกิดกลไกการดูแลผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียงโดยการยืดเหยียด
สูงอายุมีการยืดเหยียบ 30 นาที ต่อวัน จำนวน 38 คน
– มีคณะทำงานชมรมผู้สูงอายุ 1 ชมรม
– มีการพัฒนาสนามกีฬาของหมู่บ้าน 1  แห่งสำหรับพัฒนาเป็นที่ออกกำลังกายของหมู่บ้าน
– มีการติดตามเยี่ยม ผู้สูงอายุในหมู่บ้าน โดยทีมชมรมผู้สูงอายุ ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขบริบาล
  1. กิจกรรมสำคัญ และปัจจัย/เงื่อนไขที่นำไปสู่ความสำเร็จของพื้นที่ต้นแบบ
    ผู้นำชุมชนมีภาวะในการนำ สามารถนำชุมชนในการขับเคลื่อนกิจกรรมได้ดี ในพื้นที่หมู่ 4 จุดแข็งคือ ทีมสภาผู้นำมีทีมงานที่เข้มแข็ง ประสานงานในการทำงานของสภาได้เร็ว แบ่งงานกันทำ และช่วยเหลือในกิจกรรมของสภา โดยมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ พัฒนาชุมชนให้น่าอยู่

  1. พัฒนาการและกลไกการดำเนินงานของพื้นที่ต้นแบบ
    4.1 การก่อตัวจุดจัดการ
    ชุมชนบ้านดือแยเริ่มพัฒนาตัวเองโดยการจัดประชุมกลุ่มเล็กๆ เพื่อหารือและสร้างทีมงาน โดยมีการใช้กลุ่มแกนนำเดิม เช่น ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมกามัสยิด และทีมงานอสม. ที่มีบทบาทเป็นที่ยอมรับในชุมชน มาร่วมเป็นคณะทำงานเพื่อสร้างสภาผู้นำชุมชน

           4.2 เป้าหมายร่วมของกลุ่มแกนนำ
ชุมชนได้คัดเลือกประเด็นการดูแลผู้สูงอายุ โดยแบ่งพื้นที่เป็น 3 โซน ได้แก่ โซนฆ้อง, โซนกาปง, และโซนตันหยง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแล สภาผู้นำชุมชนจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุ (ชมรมชราธิวาสบ้านดือแย) ซึ่งมีคณะทำงาน 27 คน ดูแลและช่วยเหลือผู้สูงอายุในแต่ละโซนอย่างเสมอภาค โดยมีการเยี่ยมเยียนและเก็บข้อมูลความต้องการ รวมถึงส่งเสริมการออกกำลังกายและขยับกายในกลุ่มผู้สูงอายุ                                                                                           

 

 

 

 

 

           4.3 กระบวนการสำคัญในการสร้างกลุ่มแกนนำ และความต่อเนื่อง
กระบวนการสำคัญในการสร้างกลุ่มแกนนำ เพื่อให้การทำงานมีความต่อเนื่อง ชุมชนได้ดำเนินการคัดเลือกคณะทำงานจากกลุ่มแกนนำ กลุ่มต่างๆในชุมชน เพื่อส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมและสร้างความหลากหลาย ใช้มัสยิดเป็นฐานกลางในการประชุม วางแผน วิเคราะห์ ประเมินผล และเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงงานและแก้ไขปัญหาต่างๆ ในพื้นที่

           4.4 ความต้องการและการได้รับการหนุนเสริมในปัจจุบัน และจากบุคคลภายนอก
ชุมชนบ้านดือแยเป็นชุมชนใหม่ที่เข้าร่วมโครงการเพื่อพัฒนาศักยภาพในด้านวิชาการและการใช้เครื่องมือสมัยใหม่ในการพัฒนาชุมชน โดยเฉพาะในการประเมินความก้าวหน้าของทีมสภาผู้นำและกิจกรรมต่างๆ ชุมชนต้องการให้คณะทำงานมีโอกาสพัฒนาศักยภาพในหลายๆ เวที เพื่อเพิ่มประสบการณ์ในการทำงานมากขึ้น กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ช่วยเสริมพลังทีมงานและสร้างแรงบันดาลใจจากการเห็นการทำงานเพื่อนต่างหมู่บ้าน ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น

           4.5 ความรู้ที่จำเป็นต่อการดำเนินงาน แบ่งตามกลุ่มเป้าหมายของการใช้ คือ
1. กลุ่มทีมงานสภาผู้นำชุมชน ในกระบวนการสร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้านอย่างมีส่วนร่วม การใช้เครื่องประเมินผล การจัดทำบันไดผลลัพธ์ การใช้โปรแกรมบันทึกข้อมูลโครงการ
2. กลุ่มประชาชนควรมีความรู้ในด้านการดูแลสุขภาพตามประเด็น โดยเฉพาะความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่

           4.6 โครงสร้างและกรอบการบริหารจัดการของชุมชน
การสร้างการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต้องมีปัจจัยที่ส่งเสริมทั้งในด้านการเข้าถึงและความสัมพันธ์ที่เหมาะสม เช่น ภาวะผู้นำ กฎระเบียบ และรูปแบบการทำงานที่โปร่งใส หากชุมชนไม่จัดช่องทางหรือรูปแบบการมีส่วนร่วมที่ชัดเจน ประชาชนจะไม่เข้าร่วม หรือเข้าร่วมแล้วไม่ตอบสนองตามที่คาดหวัง
ในชุมชนบ้านดือแย การมีส่วนร่วมถูกส่งเสริมผ่านการเปิดโอกาสให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมโดยตรงหรือผ่านตัวแทน พร้อมกับการกำหนดเวลานัดหมายและกิจกรรมที่ชัดเจน ทำให้ผู้เข้าร่วมสามารถกำหนดเงื่อนไขของตนเองได้
ปัจจัยสำคัญในการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมคือ ความศรัทธาและความเชื่อถือในผู้นำหรือบุคคลสำคัญ ซึ่งเป็นแรงจูงใจสำคัญในการทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ

          4.7 กำหนดลักษณะกิจกรรมที่แน่นอน
ปัจจัยอำนาจในการส่งเสริมกิจกรรมของการมีส่วนร่วม โดยปกติที่ผ่านมาในกิจกรรมหนึ่ง ๆ ที่ชุมชนได้จัดขึ้น โดยมีปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วม ได้แก่ 1. ความศรัทธาที่มีต่อความเชื่อถือบุคคลสำคัญ ทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ

   

      

สภาผู้นำชุมชนบ้านดือแยกำหนดกิจรรมของชุมชน โดยกำหนดประชุมสภาผู้นำชุมชนเดือนละ 1 ครั้ง ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน หรือ ที่มัสยิดบ้านดือแย

   

กำหนดให้ประชุมเดือนละ 2 ครั้ง เพื่อหารือปัญหาในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน หลังประชุมมีการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุและขยับกายในกลุ่มผู้สูงอายุ

   

            5. การวิเคราะห์โอกาส ความต่อเนื่อง และความยั่งยืนของพื้นที่ต้นแบบ
                 5.1 ความเข้มแข็งของชุมชนที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง

             มิติที่ 1 การมีส่วนร่วม ผลการประเมินครั้งที่ 1 อยู่ในระดับที่ 3 และครั้ง 2 อยู่ในระดับที่ 5 คณะกรรมการเริ่มเข้าใจและให้ความสำคัญในการประชุม
มิติที่
2 ผู้นำชุมชน  ผลการประเมินครั้ง 1 ผู้นำชุมชนไม่ได้เกิดจากความหลากหลาย และได้ประชุมหารือเพื่อให้เกิดความหลากหลาย ในการประเมินครั้งที่ 2 พบว่าผู้นำชุมชนมาจากทุกกลุ่ม ทุกองค์กรในชุมชนสามารถทำงานได้ดี มีการพัฒนาทักษะการทำงานร่วมกันได้ทั้งในและนอกชุมชนได้ดี ในระดับที่ 4
             มิติที่ 3 โครงสร้างองค์กร ผลการประเมินครั้งที่ 1 พบว่าอยู่ในระดับ  3 เนื่องจากสภาผู้นำชุมชนมีองค์ประกอบการประชุมกันสม่ำเสมอ และทำงานโครงการได้เป็นอย่างดี สามารถทำงานร่วมกันกับกลุ่มและองค์กรอื่นๆในชุมชนได้ดีมาก จากผลการดำเนินงานในระยะเวลา 6  เดือนทางสภาผู้นำได้มีการประเมินความเข้มแข็งโครงสร้างองค์กรครั้งที่ 2 ขึ้นพบว่าสภาผู้นำมีการประชุมกันทุกเดือน ดำเนินกิจกรรมโครงการตามแผนที่วางไว้ สามารถทำงานร่วมกันในชุมชนและนอกชุมชนได้ดี มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับองค์กรอื่นได้ ผลการประเมินในครั้งที่ ในระดับที่ 4
             มิติที่ 4 การประเมินปัญหา ผลการประเมินครั้งที่ 1 ในระดับที่  และประเมินครั้งที่ 2 ในระดับ 4 โดยชุมชนมีการจัดเก็บและรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบ สามารถนำมาวิเคราะห์และประเมินปัญหาได้ดี สามารถแก้ไขปัญหาได้
             มิติที่ 5 การระดมทรัพยากร ผลการประเมินครั้งที่ 2 พบว่าอยู่ในระดับ  4  สภาผู้นำชุมชนมีแผนชุมชนพึ่งตนเองที่สามารถระดมทุนและทรัพยากรจากภายในชุมชนได้ จากผลการดำเนินงานในระยะเวลา 6 เดือนทางสภาผู้นำได้มีการประเมินความเข้มแข็งการระดมทรัพยากร มีแผนชุมชนพึ่งตนเองที่เกิดจากการจัดทำเวทีประชาคมในหมู่บ้าน มีการกำหนดการใช้ทรัพยากรทั้งภายในและภายนอกชุมชนไว้ในแผนแต่ยังไม่ได้ดำเนินการตามแผนที่วางไว้
             มิติที่ 6 การเชื่อมโยงกับบุคคลและองค์กรภายนอก (เพื่อหาหุ้นส่วนพันธมิตร แนวร่วม) ผลการประเมินครั้งที่ 2 ระบุว่า สภาผู้นำชุมชนอยู่ในระดับ 4 ซึ่งสามารถติดต่อขอความร่วมมือจากบุคคลหรือองค์กรภายนอกตามแผนชุมชนพึ่งตนเองได้บ้างแล้ว ภายในระยะเวลา 6 เดือน สภาผู้นำชุมชนได้ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ เช่น สำนักงานพัฒนาชุมชน และ อบต.บ้านสาวอ เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณและพัฒนาศักยภาพทีมงานในการดูแลผู้สูงอายุ
             มิติที่ 7 ความสามารถในการ “ถามว่าทำไม” ผลการประเมินความสามารถในการ “ถามว่าทำไม” ครั้งที่ 2 ระดับ 4 พบว่าชุมชนเริ่มตั้งคำถามเกี่ยวกับปัญหาชุมชนมากขึ้น เช่น ถามถึงเหตุผลและผลกระทบจากการตัดสินใจต่างๆ เช่น วิธีดูแลผู้สูงอายุในช่วงน้ำท่วม และการจัดเตรียมเรือเพื่อช่วยเหลือพื้นที่เสี่ยง ชุมชนสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแย้งกันได้เพื่อหาคำตอบที่ดีที่สุด
             มิติที่ 8 ความสัมพันธ์กับพี่เลี้ยง (ตัวแทนองค์กรภายนอก) ผลการประเมินครั้งทั้ง 2 ครั้งพบว่าอยู่ในระดับ 4 ในการดำเนินโครงการ สภาผู้นำชุมชนเป็นผู้ตัดสินใจ พี่เลี้ยงเป็นผู้ช่วยอำนวยความสะดวก ดูแลด้านการฝึกอบรมและการสนับสนุนอื่นๆ เช่นการจัดทำบัญชีการเงิน การรายงานผลการดำเนินกิจกรรม เข้าร่วมกิจกรรมกับชุมชน
             มิติที่ 9 การบริหารจัดการโครงการ ผลการประเมินทั้ง 2 ครั้ง พบว่าอยู่ในระดับ 4 สภาผู้นำชุมชนบริหารจัดการได้ โดยพี่เลี้ยงช่วยเหลืออย่างจำกัดอยู่ในขอบเขต สภาผู้นำชุมชนได้รับการเพิ่มทักษะการบริหารจัดการแล้ว ดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ได้ทันเวลา ทุกกิจกรรม มีการสรุปผลการดำเนินงาน มีการนำเสนอปัญหา และร่วมกันแก้ปัญหาให้กับชุมชนได้ดี ชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

  1. ผลการดูแลสุขภาพตามประเด็นร่วม
    ผลการดำเนินงานได้พัฒนากระบวนการ “คอสฟ์นรา” ในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนให้มีความครอบคลุมด้วย 6 กิจกรรมหลัก ดังนี้

    กิจกรรมที่ 1
    : ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้รับการประเมิน/ คัดกรองสุขภาพตามเกณฑ์ทุกปี
    กิจกรรมที่ 2 อ: ผู้สูงอายุได้รับการส่งเสริม / ดูแล ด้านการออกกำลังกาย  อาหาร  อารมณ์
    กิจกรรมที่ 3 : ผู้สูงอายุ ไม่ดื่มสุรา ไม่สูบบุหรี่  สิ่งแวดล้อมรอบบ้านดีเอื้อต่อสุขภาพ
    กิจกรรมที่ 4 ฟ: ผู้สูงอายุฟันดี กินอาหารอร่อย / มี (ทำ) ฟันปลอมใช้
    กิจกรรมที่ 5 น:  ผู้สูงอายุนอนและดื่มน้ำสะอาด มีน้ำดื่มเพียงพอ และมีใช้นวัตกรรม ผู้สูงอายุที่เหมาะสม
    กิจกรรมที่ 6 ร: “ร่วมมือ” ร่วมดูแลผู้สูงอายุในชุมชน (ร่วมคิด ทำ ประเมินผล แก้ไข/พัฒนา และแก้ไขปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุตามสภาพปัญหารายคน)พบว่าผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงจำนวน 8 รายลดลง เหลือ  5 รายและกลุ่มดีจำนวน 23 ราย เพิ่มขึ้นเป็น 26 ราย ไม่พบผู้ป่วยรายใหม่ในชุมชน

พบว่าผู้สูงอายุติดสังคม เพิ่มขึ้นจาก 33 รายเป็น 36 ราย ติดบ้านจาก 9 ราย ลดลง เป็น 6 ราย ไม่พบผู้สูงอายุติดเตียงในช่วงของการทำโครงการ ผู้สูงอายุ จำนวน 42 ราย ได้รับการดูแลจากทีมสภาผู้นำชุมชนอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม

Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

ระบุข้อความ