โครงการชุมชนน่าอยู่: บ้านใหม่สันป่าตึง ม.12 จ.ลำปาง
โครงการชุมชนน่าอยู่บ้านใหม่สันป่าตึง หมู่ที่ 12 ตำบลเมืองยาว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง
บ้านใหม่สันป่าตึง หมู่ที่ 12 ตำบลเมืองยาว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง มีครัวเรือนจำนวน 176 ครัวเรือน มีประชากรทั้งหมดอยู่จริง 300 คน แยกเป็นชาย 120 คน หญิง 180 คน โดยประกอบอาชีพรับจ้างเป็นส่วนใหญ่ มีพื้นที่รวมทั้งหมู่บ้านจำนวนทั้งหมด 4 ตารากิโลเมตร แยกเป็น พื้นที่เกษตร 1,000 ไร่ ลักษณะหมู่บ้านเป็นหมู่บ้านแบบชนบทอยู่ห่างไกลจากตัวอำเภอห้างฉัตรประมาณ 20 กิโลเมตรพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบ มีภูเขาล้อมรอบ ส่วนมากทำการเกษตร และเลี้ยงสัตว์ ทางทิศตะวันตก ติดต่อกับบ้านทุ่งหลวง ตำบลเมืองยาว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง ทิศตะวันออกจะติดต่อกับ บ้านสันกำแพงเหนือ ตำบลเมืองยาว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านนาน้ำมัน ตำบลเมืองยาว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง และทิศใต้จะติดต่อกับ บ้านแม่ยามเหนือ ตำบลเมืองยาว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาประชากรในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร (ทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์) ประกอบอาชีพค้าขาย และทำงานประจำบริษัทเอกชน หน่วยงานรัฐ โรงงานอุตสาหกรรม และอาชีพรับจ้างทั่วไป
กลไกสภาผู้นำชุมชน
การก่อตัวของสภาผู้นำชุมชน
การทำงานของสภาผู้นำชุมชนบ้านใหม่สันป่าตึง มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ออกเป็นฝ่ายต่างๆ ได้แก่ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ฝ่ายข้อมูล ฝ่ายประเมินผล ฝ่ายกิจกรรม โดยมีการกำหนดบทบาทตามตำแหน่งหน้าที่ ชัดเจน มีการรายงาน ความก้าวหน้าของแต่ละฝ่ายในที่ประชุมทุกครั้ง และนำผลการประชุมแจ้งในคราวการประชุมเป็นประจำเดือนทุกเดือน และสมาชิกสภาผู้นำชุมชนโดยเฉลี่ยจำนวน 24 คน มีการประชุมหารือแนวทางการดำเนินกิจกรรมแล้วนำเสนอในที่ประชุมประจำเดือนของหมู่บ้านและสมาชิกสภาผู้นำชุมชนรับฟังข้อเสนอแนะของที่ประชุมหมู่บ้าน และที่ประชุมหมู่บ้านต้องรับฟังข้อเสนอของสภาผู้นำชุมชน โดยองค์ประกอบของสภาผู้นำชุมชนบ้านลุ่มกลาง ประกอบด้วย 1) ผู้นำแบบทางการ ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน กรรมการหมู่บ้าน สมาชิกสภาเทศบาล อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 2) ผู้นำแบบไม่เป็นทางการ ได้แก่ ตัวแทนกลุ่มผู้สูงอายุ ตัวแทนกลุ่มต่างๆ ในชุมชน ตัวแทนคุ้มบ้าน ตัวแทนจิตอาสา ตัวแทนเยาวชน ปราชญ์ชุมชน ตัวแทนกลุ่มเงินออม และตัวแทนกลุ่มอาชีพต่างๆ โดยสภาผู้นำชุมชนได้มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ในการดำเนินงาน โดยแบ่งหน้าที่ประกอบด้วย ประธานสภาผู้นำชุมชน ผู้ช่วยผู้รับผิดชอบโครงการ เหรัญญิก ผู้ช่วยเลขานุการ เลขานุการ ประชาสัมพันธ์ ฝ่ายข้อมูล ฝ่ายปฏิคม ฝ่ายติดตามประเมินผล
สภาผู้นำชุมชนมีการกำหนดเป้าหมายร่วมกัน คือ การแก้ไขปัญหาการจัดการขยะในชุมชนโดยที่ผู้นำชุมชนมีความคาดหวังว่าหลังดำเนินโครงการคนในชุมชนจะดำเนินการคัดแยกขยะอย่างถูกต้องและจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการเกิดขยะในชุมชน ซึ่งจะทำให้จำนวนปริมาณขยะที่ลดลง ประชากรมีความรู้ ความเข้าใจในการคัดแยกขยะ/ลดปริมาณขยะ การใช้ประโยชนจากขยะ มีความตระหนักในผลกระทบทางสภาพอากาศที่จะเกิดจากการเผาขยะ และทำให้ชุมชนน่าอยู่สะอาด โดยใช้กลไกสภาผู้นำชุมชน เป็นกลไกในการขับเคลื่อนอย่างเข้มแข็ง มีการใช้แผนชุมชนมาเป็นเครื่องมือช่วยในการแก้ไขและพัฒนาหมู่บ้านได้อย่างยั่งยืน
ความรู้ที่จำเป็นต่อการดำเนินงาน
สภาผู้นำชุมชนได้รับการพัฒนาทักษะความรู้จากหน่วยจัดการและพี่เลี้ยง โดยมีความรู้ที่ได้รับการพัฒนา ได้แก่ การวางแผนการทำงานของแกนนำชุมชน การออกแบบสำรวจข้อมูล การจัดกิจกรรมแบบบูรณาการ การเก็บข้อมูลตัวชี้วัด การอภิปรายผลการวิเคราะห์ข้อมูล และการใช้ข้อมูลชุมชนในการพัฒนาชุมชน ซึ่งความรู้ที่ได้รับการพัฒนาแล้ว ได้มีส่วนช่วยให้สภาผู้นำชุมชนนำไปใช้ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามโครงการ
ความรู้ทักษะที่สภาผู้นำชุมชนต้องพัฒนาเพิ่มเติม โดยสภาผู้นำชุมชนถึงแม้จะได้รับการพัฒนาความรู้/ทักษะ แต่ยังมีความต้องการความรู้ที่จะนำมาใช้ในการดำเนินโครงการและพัฒนาชุมชนของตนเอง ประกอบด้วย
1.การสื่อสารต่อสาธารณะชน สภาผู้นำชุมชนบ้านใหม่สันป่าตึงมีหลากหลายอาชีพและหลากหลายวัย จึงทำให้การเริ่มต้นในการก่อตัวของสภาผู้นำชุมชนค่อนข้างที่จะมีปัญหาในการสื่อสาร ความคิดและการเสนอวิธีการดำเนินโครงการเป็นไปในทิศทางที่ล่าช้ากว่าปกติ จึงต้องการเทคนิค วิธีการในการที่จะสื่อสาร เพื่อที่จะได้ดำเนินการโครงการ และเรื่องอื่นๆของชุมชนให้ง่ายและเกิดศักยภาพมากที่สุด
2. เทคนิคการจัดเก็บข้อมูล ตามที่ทางสภาผู้นำชุมชนบ้านใหม่สันป่าตึง จะแบ่งให้ฝ่ายข้อมูลและฝ่ายติดตามประเมินผลเป็นผู้ทำหน้าที่หลักและขอความร่วมมือกับหัวหน้าหมวดแต่ละหมวดและเจ้าหน้าที่ อสม.ที่รับผิดชอบแต่ละเขต ร่วมกันเก็บข้อมูล เพื่อให้เข้าถึงข้อมูลที่ละเอียดและถูกต้องที่สุด
การบริหารจัดการชุมชน การจัดทำแผนชุมชน และกระบวนการเลือกประเด็นมาดำเนินการ
ขั้นตอนการจัดทำแผนชุมชน
1. การวางแผนการจัดทำแผนชุมชนโดยประชุมร่วมกันนำเสนอแผน และดำเนินงานตามประเด็นที่เสนอจากแผนชุมชน
2. การสำรวจ และจัดเก็บข้อมูล การสำรวจและเก็บข้อมูลสภาผู้นำชุมชนบ้านใหม่สันป่าตึงใช้วิธีสร้างทีมข้อมูลที่รู้จักคนในพื้นที่เป็นอย่างดี เพื่อทำการจัดเก็บข้อมูล และใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์ข้อมูลแบบสำเร็จรูป และนำข้อมูลดังกล่าวมาตรวจทานด้วยสภาผู้นำชุมชนอีกครั้งหนึ่งเพื่อยืนยันความถูกต้อง
3. สภาผู้นำชุมชนบ้านใหม่สันป่าตึงร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูล และคัดเลือกประเด็นมาดำเนินการ ประกอบด้วย การเลือกตามระดับความรุนแรงของปัญหา การเลือกตามนโยบายขององค์กร นโยบายรัฐบาล นโยบายเชิงพื้นที่ (อปท.,อำเภอ,จังหวัด)
4. การจัดเวทีประชาคม เพื่อทำประชาพิจารณ์ และข้อมูล ปัญหา ความต้องการเพิ่มเติม
5. จัดทำแผนชุมชน การจัดทำแผนชุมชนหรือแผนพัฒนาหมู่บ้านภายใต้ข้อมูลที่เที่ยงตรงจะสามารถแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนได้อย่างตรงจุด
6. การใช้แผนชุมชน หรือแผนพัฒนาหมู่บ้านจะมีการวิเคราะห์และวางแผนให้ตรงจุดและเหมาะสมกับบริบทชุมชน
7. การติดตามและประเมินผล การติดตามประเมินผลเป็นเครื่องวัดว่าสามารถพัฒนาชุมชนท้องถิ่นได้เพียงไร มีปัญหาอุปสรรค ที่สามารถแก้ไขได้หรือไม่
การสื่อสารภายในชุมชน
สภาผู้นำชุมชน มีการสื่อสารผ่านการประชุมประจำเดือนของหมู่บ้าน/การประชุมสภาผู้นำชุมชน/เสียงตามสาย การประชุมกลุ่มต่างๆ ประกอบด้วย กลุ่ม อสม. กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มขายยาแผนโบราณ ซึ่งเป็นการสร้างความเข้าใจในการทำงานของสภาผู้นำชุมชนในการร่วมกันแก้ไขปัญหา
การสร้างการมีส่วนร่วมในชุมชน
การสร้างการมีส่วนร่วมในชุมชนของสภาผู้นำชุมชน เป็นส่วนสำคัญที่นำไปสู่การเกิดความร่วมมือของคนในชุมชน และนำไปสู่การแก้ไขปัญหาตามโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการสร้างการมีส่วนร่วมแบ่งออกเป็น การสร้างการมีส่วนร่วมกับสภาผู้นำชุมชนด้วยกันเอง การสร้างการมีส่วนร่วมกับคนในชุมชน และการสร้างการมีส่วนร่วมกับองค์กรภายนอก
– การสร้างการมีส่วนร่วมกับสภาผู้นำชุมชน เป็นการสร้างการมีส่วนร่วมภายในของสภาผู้นำชุมชน จะใช้การแบ่งบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบในการสร้างความสัมพันธ์ต่อกัน เพราะเมื่อทุกคนมีหน้าที่ความรับผิดชอบแล้ว จะทำให้เกิดความเท่าเทียมในการทำงาน นำไปสู่การมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน
– การสร้างการมีส่วนร่วมกับสมาชิกในชุมชน เป็นการสร้างความสัมพันธ์ของสภาผู้นำชุมชนกับสมาชิกในชุมชน ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของการดำเนินงาน การสร้างการมีส่วนร่วมจะใช้รูปแบบการนำเอาแกนนำ ตัวอย่าง มาเป็นกรณีการสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน เพื่อทำให้เกิดความร่วมมือในการขับเคลื่อนกิจกรรม และขยายผลไปสู่ส่วนอื่นๆ ภายในชุมชน รวมถึงการสร้างองค์กร กลุ่ม ขึ้นเพื่อช่วยในการขับเคลื่อนกิจกรรมของชุมชนให้ครอบคลุมทั้งมิติ สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม
– การสร้างการมีส่วนร่วมกับองค์กรภายนอก สภาผู้นำชุมชนใช้การมีส่วนร่วมกับองค์กรภายนอกด้วยการเชื่อมโยงกับหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาชน เพื่อนำไปสู่การสร้างความเข้มแข็ง พัฒนาปรับปรุงจัดการตนเอง และขยายผลงานเพื่อแสดงพลังความร่วมมือของคนในชุมชน อันจะทำให้เกิดการสร้างเครือข่ายและกัลยาณมิตรต่อไป
ความสำเร็จและผลลัพธ์
ผลลัพธ์ความสำเร็จเชิงประเด็นที่กลไกสภาผู้นำชุมชนเป็นผู้ดำเนินงานผ่านแผนชุมชนที่ปรากฏเด่นชัดได้แก่ สภาผู้นำชุมชนร่วมกับเทศบาลตำบลเมืองยาวได้มีการขับเคลื่อนการจัดการขยะในชุมชน สภาผู้นำชุมชนมีการจัดเก็บข้อมูลสถานการณ์ขยะ การจัดทำฐานข้อมูลขยะของแต่ละครัวเรือน เพื่อนำมาใช้ในการติดตามและประเมินผลตามบันไดผลลัพธ์ ครัวเรือนในชุมชน 176 ครัวเรือนเกิดความรู้ความเข้าใจในการจัดการขยะอย่างถูกวิธี ครัวเรือน 176 ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะ ครัวเรือน 80 ครัวเรือน มีการนำขยะอินทรีย์มาทำปุ๋ยหมัก เกิดครัวเรือนตัวอย่างในการจัดการขยะ คัดแยกขยะ และใช้ประโยชน์จากขยะ 5 ครัวเรือน ปริมาณขยะในชุมชนหลังจากดำเนินโครงการมีปริมาณลดลงคงเหลือ ณ เดือนกันยายน 2565 จำนวน 24.9 กิโลกรัมต่อวัน บ้านใหม่สันป่าตึงได้มีการเชื่อมโยงการจัดทำแผนชุมชนไปยังแผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลเมืองยาว
การสร้างความยั่งยืนในการดำเนินงานภายในชุมชน
การวิเคราะห์ความเข้มแข็งการประเมินความเข้แข็งของชุมชน 9 มิติ
การสร้างความยั่งยืนในการดำเนินงานภายในชุมชน โดยใช้ความเข้มแข็งการประเมินความเข้มแข็งของชุมชน 9 มิติ มาใช้ในการวิเคราะห์ ประกอบด้วย
- การมีส่วนร่วมอยู่ในระดับที่ 5 บ้านใหม่สันป่าตึงมีการดำเนินกิจกรรมของชุมชนในรูปแบบคณะกรรมการหมู่บ้านควบคู่กับสมาชิกสภาผู้นำชุมชน ซึ่งมาจากหลากหลายกลุ่มคนในชุมชน มีทั้งผู้นำแบบทางการ และไม่เป็นทางการ ส่วนการดำเนินกิจกรรมต่างๆของชุมชนทั้งงานของชุมชนโดยตรงและงานของโครงการชุมชนน่าอยู่ คนในชุมชนสนใจร่วมงานเป็นจำนวนมาก และมีการร่วมกันตัดสินใจ หารือร่วมกันบ้างในบางเรื่อง และบางเรื่องก็ยังไม่สามารถร่วมกำหนดทิศทางร่วมกันได้
- ผู้นำ อยู่ในระดับ 5 โดยตั้งแต่มีโครงการชุมชนน่าอยู่ เข้ามาดำเนินกิจกรรมกับคนในชุมชน และมีการทำงานร่วมกันกับผู้นำชุมชนและคณะกรรมการหมู่บ้าน ทำให้คนในชุมชนเชื่อมั่นในผู้นำชุมชนมากขึ้น สภาผู้นำชุมมีเพิ่มมากขึ้น ทำให้บทบาทและภาพรวมของผู้นำชุมชนมีความเข้มแข็งขึ้นและคนในชุมชนมีความเคารพเชื่อถือมากขึ้น
- โครงสร้างองค์กร อยู่ในระดับที่ 5 โครงสร้างสภาผู้นำชุมชนจำนวน 24 คน มีการมอบหมายหน้าที่กันอย่างชัดเจนและดำเนินกิจกรรมตามบทบาทหน้าที่ในแต่ละฝ่ายได้แก่ ฝ่ายบริหารโครงการ ฝ่ายข้อมูล ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ฝ่ายติดตามและมีโครงการอื่นที่สภาผู้นำชุมนสามรถขับเคลื่อนร่วมกับโครงการชุมชนน่าอยู่
- การประเมินปัญหา อยู่ในระดับที่ 4 ในการทำโครงการต่างๆของชุมชนทั้งโครงการของส่วนกลาง โครงการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และโครงการชุมชนน่าอยู่ มีการประชาคมมีการออกแบบสอบถามและจัดเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และคืนข้อมูลให้กับคนในชุมชน โดยมีแผนชุมชนที่สอดรับกับปัญหาความต้องการทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สุขภาพและด้านการมีส่วนร่วม และที่แผนชุมชนที่ผ่านมาจะมุ่งเน้นเรื่องด้านโครงสร้างพื้นฐานเป็นหลักและเป็นแผนชุมชนสำหรับการนำไปสู่การขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานอื่น
- การระดมทรัพยากรอยู่ในระดับที่ 4 สภาผู้นำชุมชนและคนในชุมชนมีการระดมทรัพยากรจากมทั้งภายในและภายนอกเข้ามาพัฒนาชุมชน นำแผนชุมชนมาใช้เพื่อเสนอของงบประมาณจากองค์กรภายนอกเช่น งบของปกครองอำเภอ ปกครองจังหวัด สำนักงานทรัพยากรน้ำ เป็นต้น
- การเชื่อมโยงภายนอกอยู่ในระดับที่ 5 สภาผู้นำชุมชนกับการเชื่อมโยงกับชุมชนอื่นมีเพิ่มขึ้นไปในทางที่ดีขึ้น เนื่องจากการดำเนินโครงการชุมชนน่าอยู่ มีการเชิญวิทยากร จากหลากหลายสาขาอาชีพ มาให้ความรู้และร่วมดำเนินโครงการร่วมกัน จึงทำให้หน่วยงานอื่นๆให้ความร่วมมือในกิจกรรมและ ให้ความร่วมเมือในเรื่องของเจ้าหน้าที่ และอุปกรณ์ทางการสาธารณสุข กศน.อำเภอห้างฉัตร ให้ความร่วมมือในด้านบุคลากรอบรมสาธิตอาชีพ สำนักงานเกษตรอำเภอห้างฉัตรบุคลากรให้ความรู้ในการปลูกและบำรุงรักษาพืช สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดลำปาง ให้ความร่วมมือในด้านการบำรุงดิน สารชีวภาพในการบำรุงดิน และคณะสงฆ์ตำบลเมืองยาว ให้ความร่วมมือในด้านการอบรมธรรมมะ ให้คนในชุมชนมีจิตใจที่ตระหนักถึงผลการทำดีทำชั่ว เป็นต้น ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ชุมชนได้รับประโยชน์เป็นอย่างมากและเกิดการเชื่อมโยงของคนในชุมชนและองค์กรภายนอกโดยมีกิจกรรมเป็นตัวเชื่อม
- การถามว่าทำไมอยู่ในระดับที่ 4 สภาผู้นำชุมชนมีการพูดคุย แลกเปลี่ยนแสดงความเห็น และแสดงความเห็นบทบาทในการอาสาในการร่วมพัฒนาชุมชน รวมทั้งเป็นแกนนำในการชวนคนในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน ได้แก่ การชักชวนให้คนในชุมชนให้มีการลดการคัดแยกขยะ เชิญชวนให้คนในชุมชนมีการลดการใช้สารเคมีในการเกษตร เชิญชวนให้คนทุกรุ่นทุกวัยหันมาบริโภคพืชผักผลไม้ ให้มากขึ้นทนแทนการบริโภค เนื้อสัตว์และขนมขบเคี้ยว
- ความสัมพันธ์กับพี่เลี้ยงอยู่ในระดับที่ 5 พี่เลี้ยงโครงการชุมชนน่าอยู่ (สสส.) และพี่เลี้ยงของเทศบาลตำบลเมืองยาว มีสถานะเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา และให้คำแนะนำเฉพาะเท่าที่จำเป็น โดยการตัดสินใจ แบบสำรวจข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การออกแบบกิจกรรม ให้อิสระกับชุมชนเป็นอย่างมากโดยสภาผู้นำชุมชนจากเดิมที่สภาผู้นำชุมชนคิดว่าตนเองเป็นกรรมการของโครงการ ปัจจุบันก้าวเข้าสู่ความเป็นเจ้าของชุมชน เป็นสภาที่ต้องนำเรื่องราวของชุมชนเข้าสู่การแก้ไข พัฒนาและเป็นแกนนำในการชักชวนคนในชุมชนร่วมมือกันเพื่อเป้าหมายในการสร้างให้ชุมชนน่าอยู่
- การบริหารจัดการอยู่ในระดับที่ 4 การบริหารจัดการโครงการชุมชนน่าอยู่ เป็นการบริหารโครงการโดยสภาผู้นำชุมชน และคนในชุมชุนมีส่วนร่วมทุกคน การบริหารโครงการต้องมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ฝ่ายบริหารโครงการต้องเป็นแบบอย่างให้กับคนในชุมชน และสร้างความน่าเชื่อถือของคนในชุมชน
จุดอ่อนที่ต้องพัฒนาต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเข้มแข็งและคนในชุมชนมีสุขภาวะดี สภาผู้นำชุมชนบ้านใหม่สันป่าตึง โดยการทำงานสภาผู้นำชุมชนเป็นการทำงานที่ต้องทำงานร่วมกันหลายภาคส่วน แต่สภาผู้นำชุมชนยังการดึงกลุ่มเด็กและเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน โดยจะสร้างผู้นำชุมชนคนรุ่นใหม่ขึ้นมาเพื่อให้มีสัดส่วนที่เหมาะสมกับสภาผู้นำชุมชน ถือเป็นส่วนที่สำคัญที่จะช่วยให้เกิดการแก้ไขปัญหาภายใต้แผนชุมชนพึ่งตนเอง อันจะนำไปสู่การพัฒนา ปรับปรุงให้ปัญหาต่างๆ ของชุมชนสามารถที่จะคลี่คลายลงได้ด้วยการบริหารจัดการของคนในชุมชนเอง