โครงการชุมชนน่าอยู่: สังเคราะห์บ้านไทรงาม จ.สุรินทร์

สังเคราะห์บ้านไทรงาม ตำบลเมืองบัว อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์

1. บริบทชุมชน บ้านไทรงาม ตั้งอยู่ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ มี 101 ครัวเรือน ประชากร 372 คน (ชาย 201 คน, หญิง 171 คน) แยกตัวจากบ้านโนนกลางเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ยังใช้สภาผู้นำชุมชนเดิมในการบริหารงานผ่านระบบ กม. มี 3 คุ้ม ได้แก่ คุ้มตลาดนอก, หลวงอุดมพัฒนา, และรุ่งอรุณพัฒนา ส่วนใหญ่ทำอาชีพทำนา 77 ครัวเรือน รองลงมาคือ รับราชการ 8 ครัวเรือน, รับจ้าง 11 ครัวเรือน, ค้าขาย 9 ครัวเรือน หมู่บ้านมีสถานีบริการราชการ เช่น โรงเรียนประถม, รพ.สต., สถานีตำรวจ, และ ธกส.

2. ทุนเดิม เคยมีการทำงานบริหารจัดการชุมชนผ่านกลไกสภาผู้นำชุมชน โดยใช้ข้อมูลในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันผ่านการตั้งวงสะท้อนความคิดเห็น ซึ่งมีการมีส่วนร่วมจากกลุ่มต่าง ๆ ในชุมชน เช่น ผู้นำท้องถิ่น, อาสาสมัครสาธารณสุข, กลุ่มสตรี, ผู้สูงอายุ, เยาวชน, และกลุ่มอาชีพต่าง ๆ เช่น การเลี้ยงวัวและไก่ แม้จะมีการแยกหมู่บ้าน แต่กลุ่มกองทุนเงินล้านยังคงรวมตัวกับหมู่บ้านโนนกลาง

3. สถานการณ์ปัญหาและความไม่น่าอยู่ของชุมชน ก่อนเข้าร่วมโครงการชุมชนน่าอยู่ หมู่บ้านไทรงามมีปัญหาหลายด้าน ได้แก่
1. การแยกขยะและปฏิบัติตามกติกาชุมชนยังไม่ต่อเนื่อง
2. มีครัวเรือนต้นแบบเพียง 21 จาก 101 ครัวเรือน
3. ปัญหากลิ่นจากคอกสัตว์และน้ำเสียไหลลงรางระบายน้ำ
4. จุดเสี่ยงอุบัติเหตุ 3 จุดในหมู่บ้าน
5. พื้นที่รกร้างและไม่มีพื้นที่สีเขียว
6. มีปัญหาการทิ้งขยะและการเล่นหวย
7. การขโมยจับปลาจากหนองสาธารณะ
8. การใช้สารเคมีในการปลูกผัก 12 ราย
9. พฤติกรรมเสี่ยงของเยาวชน (ขับรถเร็ว ดื่มสุรา)
10. ปัญหาสุขภาพ เช่น เบาหวานและความดันโลหิตสูง
11. มีปัญหาการใช้จ่ายในด้านสุราและบุหรี่ค่อนข้างสูงในชุมชน

4. ความเป็นมาของชุมชนน่าอยู่บ้านไทรงาม โครงการชุมชนน่าอยู่ของกรมการปกครองมีการแยกหมู่บ้านและบางส่วนในสภาฯ เคยเป็นวิทยากรชุมชน โดยพื้นที่บ้านไทรงามเคยเป็นฐานเรียนรู้ร่วม แต่การเปลี่ยนแปลงในระหว่างทางทำให้สภาฯ ขาดการหนุนเสริมจากพี่เลี้ยง แม้ยังทำงานร่วมกับโนนกลาง แต่ขาดความต่อเนื่องในการติดตามและสนับสนุน เมื่อเปิดโอกาสใหม่ ทีมหน่วยจัดการจึงให้โอกาสบ้านไทรงามกลับเข้ามาร่วมเรียนรู้การทำงานอีกครั้ง

5. กระบวนการก่อตัวและองค์ประกอบของสภาผู้นำชุมชน สภาผู้นำชุมชนมีสมาชิก 23 คน จากหลากหลายกลุ่ม เช่น ผู้นำท้องถิ่น, อสม., กลุ่มสตรี, เยาวชน ฯลฯ โดยมีกติกาการทำงาน 5 ข้อ ได้แก่ 1) ต้องใส่เสื้อสภาฯทุกครั้งที่ประชุม 2) ห้ามดื่มแอลกอฮอล์ในการประชุม 3) แจ้งล่วงหน้าก่อนประชุม 2 วัน 4) เคารพมติและกติกา 5) ต้องประชุมทุกวันที่ 15 ของเดือน โดยทำงานเพื่อส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารในครัวเรือน และการบริโภคผักให้ได้ 4 ขีดต่อคนต่อวัน

สภาฯ หมู่บ้านไทรงามได้ปรับกติกาครัวเรือนใหม่เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและความยั่งยืนในชุมชน โดยมี 7 ข้อหลัก เช่น การคัดแยกขยะ, การปลูกผักสวนครัว, การรักษาความสะอาด, และการห้ามดื่มแอลกอฮอล์ในที่สาธารณะ ซึ่งช่วยให้หมู่บ้านน่าอยู่และมีความพร้อมเมื่อเกิดวิกฤต เช่น โควิดหรืออุทกภัย นอกจากนี้ยังมีการสร้างแปลงผักร่วมในพื้นที่ว่างหน้าโรงเรียน เพื่อปลูกผักปลอดสารสำหรับชุมชนและโรงเรียน โดยได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านและหน่วยงานต่างๆ ทำให้เกิดแหล่งอาหารในชุมชน และสร้างรายได้จากการขายผักทั้งในหมู่บ้านและโรงเรียน

6. การบริหารจัดการ

     6.1 การจัดการข้อมูลของสภาฯ คือ การทบทวนข้อมูล 11 ประเด็นเดิมจากคุ้มไทรงาม โดยเน้นทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ เพื่อนำไปช่วยเสริมการทำงานในกลุ่มเป้าหมายที่ยังไม่สำเร็จ เช่น การสนับสนุนการทำข้าวอินทรีย์และการดูแลแปลงผัก ตลอดจนเชื่อมโยงกับหน่วยงานพัฒนาชุมชนและ กศน. เพื่อพัฒนาแบรนด์ข้าวอินทรีย์และกลุ่มผัก พร้อมทั้งทำโลโก้ข้าวและจัดกระเช้าผักสำหรับของขวัญปีใหม่ สร้างรายได้เสริมและผลักดันแผนพัฒนาชุมชนพึ่งตนเอง 4 มิติ

                 6.2 แผนชุมชนพึ่งตนเองของชุมชน การประชุมสภาฯ ได้สรุปแผนชุมชนในหลายมิติ ดังนี้:
                        1. สิ่งแวดล้อม: – การจัดการขยะและพัฒนาชุมชนให้สะอาดและสวยงาม
– เพิ่มพื้นที่สีเขียวด้วยการปลูกต้นไม้
– จัดจุดเช็คอินในพื้นที่
                        2. สังคม: – จัดงานบุญปลอดเหล้าและปลูกผักปลอดสาร
– ส่งเสริมกิจกรรมร่วมกันของ 3 วัย
– วางแผนทำผ้าป่าเพื่อพัฒนาเยาวชน
                        3. เศรษฐกิจ: – ลดการใช้สารเคมีในการทำนาและปลูกผักปลอดสาร
– สร้างรายได้จากการจัดกระเช้าผักและข้าวอินทรีย์
– ขยายพื้นที่ทำโคกหนองนา
                        4. สุขภาพ: – สนับสนุนการปลูกและบริโภคผัก
– ส่งเสริมกิจกรรมออกกำลังกายและดูแลผู้สูงอายุ
               

6.3 วิธีการขับเคลื่อนตามแผนชุมชนพึ่งตนเอง การขับเคลื่อนแผนชุมชนบ้านไทรงามใช้กลไกการทำงานแบบคุ้ม โดยให้แต่ละคุ้มออกแบบแผนงานตามความเหมาะสม เช่น การพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชน หากเกินขีดความสามารถ สภาฯกลางจะช่วยสนับสนุน เช่น การจัดการน้ำเสีย โดยมีประธานสภาฯเป็นผู้กำกับ ติดตาม และสนับสนุนงานให้สำเร็จ

                 6.4 การติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา การประชุมสภาผู้นำชุมชนจะมีการจัดการข้อมูล ปัญหา และอุปสรรคต่างๆ ก่อนการประชุมสภาฯ คุ้ม เพื่อให้นำเข้าสู่วงประชุม โดยพี่เลี้ยงจะติดตามผลการทำงานของกลุ่มทุก 3 เดือน ผ่านช่องทาง Line และ Facebook ของประธานสภาฯ พร้อมทั้งติดตามขีดความสามารถในการทำงานเชิงผลลัพธ์และการเชื่อมงานภาคี ตามแผนชุมชนพึ่งตนเอง จนสามารถแสดงผลลัพธ์จากการทำงานในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา

7. ผลลัพธ์ความสำเร็จที่เกิดขึ้น

                 7.1 ประเด็นขับเคลื่อนตามแผนชุมชนพึ่งตนเอง ประเด็นส่งเสริมการปลูกและบริโภคผักปลอดสาร 10 ชนิดขึ้นไป ทุนเดิม คนกินผักได้ตามเกณฑ์ 164 คน กินได้และมีความต่อเนื่อง กลุ่มที่กินผักน้อยกว่า 400 กรัมต่อคนต่อวันจำนวน 203 คน กินผักเพิ่มขึ้นครบ 400 กรัมจำนวน 145 คน กลุ่มไม่กินผักเลย 39 คน เปลี่ยนพฤติกรรมกินผักเพิ่มขึ้น 15 คน มีเยาวชน 11 คนที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการไม่กินผัก มากินผักครบ 4 ขีด เป็นสภาเยาวชน 11 คนค่าใช้จ่ายซื้อผัก 11,500 บาทต่อเดือน 68,400 บาทต่อปี เหลือ 5700 บาทต่อเดือน

                 7.2 ประเด็นความสำเร็จอื่นๆ
                         1.ทุกครัวเรือนต้องมีการคัดแยกขยะแห้ง,เปียก,มีพิษ ทำได้ 97 คร. จาก 101 ครัวเรือน
2.ทุกครัวเรือนต้องเข้าร่วมกิจกรรมหมู่บ้านหรือช่วยเป็นเงินสนับสนุน 80 ครัวเรือน
3. ทุกครัวเรือนต้องไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย  83 ครัวเรือน
4. ทุกครัวเรือนต้องปลูกผักสวนครัวและไม้ดอก อย่างน้อย 10 ชนิด 80 ครัวเรือน
5. ทุกครัวเรือนต้องดูแลรักษา ความสะอาดหน้าบ้าน 97 ครัวเรือน
6.ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในที่สาธารณะ 101 ครัวเรือน
7. ไม่จับสัตว์น้ำในแหล่งน้ำสาธารณะก่อนได้รับอนุญาต 101 ครัวเรือน
8. งานศพ 6 งานไม่ผ่าน 2 งาน งานกฐินปลอดเหล้า 1 งาน
มีทุนเดิมจากการทำงานร่วมกับบ้านโนนกลาง ที่สภาฯยังทำต่อเนื่องในประเด็น ทำนาอินทรีย์และสร้างแหล่งอาหาร ทำนาอินทรีย์ 20 ครัวเรือน 165 ไร่ กลุ่มเลี้ยงไก่ 25 ครัวเรือน เลี้ยงปลา 11 ครัวเรือน ทำโคกหนองนา 16 ครัวเรือน ได้งบรัฐบาล 2 ครัวเรือน

                 7.3 ความเข้มแข็งสภาฯผู้นำชุมชน การขับเคลื่อนงานเพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของชุมชนให้น่าอยู่นั้น สภาฯ เป็นกลไกหลักในการติดตามและสนับสนุนครัวเรือนให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามกติกาชุมชนและแผนที่วางร่วมกัน โดยมุ่งเน้น 4 มิติความน่าอยู่ หากเกินขีดความสามารถ สภาฯ สามารถเชื่อมภาคีเครือข่ายมาช่วยเสริมได้ เช่น กลุ่มปลูกผักที่ผลิตข้าวอินทรีย์และผักปลอดสารเพื่อสร้างรายได้ และในช่วงปีใหม่ยังมีการจำหน่ายผักในและนอกชุมชนเพื่อเพิ่มมูลค่า

                 7.4 ความเข้มแข็งชุมชน สภาฯมีบทบาทในการจัดการข้อมูลและส่งเสริมการทำงานเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง โดยแบ่งเป็นกลุ่มทำงานต้นแบบ และเริ่มจากการใช้ทรัพยากรภายในเพื่อพัฒนาแผนชุมชนพึ่งตนเอง จนเห็นผลและสร้างประโยชน์ร่วม ทั้งในและนอกชุมชน โดยพี่เลี้ยงช่วยสนับสนุนจากภายนอก ภาคีเครือข่ายเห็นความเข้มแข็งและเข้ามาร่วมพัฒนา รวมถึงการตั้งคำถามเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

8. ช่องว่างและประเด็นที่ต้องปรับปรุงเรียนรู้ต่อเนื่อง 

                 – กลไกการสร้างความต่อเนื่องในกติกาชุมชนและประเด็นงานอื่นๆ
– การนำแผนชุมชนพึ่งตนเองในประเด็น ทำเอง ทำร่วม ทำขอ มาร่วมทบทวน มอบหมายบทบาทแกนนำสภาฯในการขับเคลื่อน ติดตามผล และนำผลมานำเสนอในเวทีประชุมสภาฯอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งปัญหาอุปสรรคในการทำงานเพื่อหาทางแก้ไขร่วมกัน
– การหนุนเสริมกลุ่มเยาวชนให้มีพื้นที่การทำงานสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนเพิ่มมากขึ้น และออกแบบขับเคลื่อนการทำงานโดยเยาวชนและมีสภาฯคอยหนุนเสริม

9. แนวทางการสร้างความต่อเนื่อง ขยายผล และความยั่งยืน

โครงการส่งเสริมสุขภาพในชุมชนโดยมี 3 วัย (ผู้สูงอายุ, เยาวชน, และวัยทำงาน) ร่วมกันทำแปลงผักและใช้ลานกีฬาข้างแปลงผักเป็นกิจกรรมเสริมสุขภาพ เชื่อมโยงกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ผ่านสภาผู้นำชุมชน เพื่อสร้างความเข้าใจและความสำคัญในการทำงานร่วมกัน โดยให้หน่วยงานภาคีสนับสนุนเป็นพื้นที่เรียนรู้และพัฒนาแผนชุมชนพึ่งตนเอง

   

                       

Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

ระบุข้อความ