โครงการชุมน่าอยู่: บ้านหนองบัว ม.7 จ.ลำปาง
โครงการชุมน่าอยู่บ้านหนองบัว หมู่ที่ 7 ตำบลเมืองยาว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง
บ้านหนองบัว หมู่ที่ 7 ตำบลเมืองยาว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง เป็นหมู่บ้านขนาดเล็กของตำบลเมืองยาว โดยมีจำนวนประชากรรวมทั้งสิ้น 297 คน จำนวนครัวเรือนที่อยู่จริง จำนวน 87 ครัวเรือน สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ มีทุ่งนาและหมู่บ้านติดกับบ้านสันกำแพง ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร และรับจ้างทั่วไป อาชีพทางการเกษตร ได้แก่ ทำนา ทำสวน ด้านการศึกษา มีโรงเรียนบ้านสันกำแพงเป็นสถานศึกษาของเยาวชน มีวัดหนองบัว เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในหมู่บ้านหนองบัว มีศาลาหมู่บ้านเป็นสถานที่ประชุม ด้านการนับถือศาสนา ประชาชนนับถือศาสนาพุทธ มีวัดเป็นศูนย์รวมจิตใจและใช้เป็นสถานที่สำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนาในวันสำคัญต่างๆ สภาพบริบทชุมชนเป็นแบบชุมชนบท เป็นระบบสังคมแบบเครือญาติ
กลไกสภาผู้นำชุมชน
การก่อตัวของสภาผู้นำชุมชน
การจัดตั้งสภาผู้นำชุมชนบ้านหนองบัว ซึ่งเป็นกลุ่มแกนนำหลักในการพัฒนาขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาตาม โครงการ ได้มีการก่อตัวของสภาผู้นำชุมชนจากสมาชิกองค์กร องค์การประกอบของสภาผู้นำชุมชน มีทั้งหมด 20 คน ได้แก่ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองยาว อสม.ประจำหมู่บ้าน และกรรมการหมู่บ้าน ผู้นำไม่เป็นทางการ ได้แก่ แกนนำผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มอาชีพกลุ่มสตรีไวยาวัจกร กรรมการวัดทุ่งหก กลุ่มเยาวชน การจัดการขับเคลื่อนโครงการ ได้มีการทำงานร่วมกัน มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ออกเป็นฝ่ายต่างๆประกอบด้วย ฝ่ายบริหาร ฝ่ายข้อมูล ฝ่ายประเมินผล ฝ่ายกิจกรรม และฝ่ายส่งเสริมอาชีพ ด้านการบริหารและขับเคลื่อนกิจกรรมตามโครงการ มีการประชุมประจำเดือนเดือนละ 1 ครั้ง มีการเก็บข้อมูล หาแนวทางการแก้ไขปัญหา ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตรวจสอบและโปร่งใส รวมทั้งสามารถคืนข้อมูลให้กับสมาชิกในชุมชนได้
ความรู้ที่จำเป็นต่อการดำเนินการ
ความรู้ ทักษะที่สภาผู้นำชุมชนได้รับการพัฒนาจากหน่วยจัดการชุมชนน่าอยู่ภาคเหนือ ประกอบด้วย การทำงานร่วมกันเป็นทีมของแกนนำชุมชน การออกแบบสำรวจข้อมูลการบริหารโครงการ การจัดเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการใช้ข้อมูลชุมชนในการพัฒนาชุมชนโดยจากสภาพการดำเนินงาน สิ่งที่ยังเป็นความต้องการให้สภาผู้นำชุมชนได้มีการเสริมสร้างทักษะเพิ่มเติม เพื่อนำองค์ความรู้มาใช้ในการพัฒนา และแก้ไขปัญหาของหมู่บ้าน ได้แก่
- เทคนิคการสื่อสาร และการรับรู้ เนื่องจากทีมสภาผู้นำชุมชนน่าอยู่บ้านหนองบัว ส่วนใหญ่เป็นคนวัยกลางคนจึงทำให้การสื่อสารง่าย
- การจัดเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ และการใช้ข้อมูล ตามที่ทางสภาผู้นำชุมชนน่าอยู่บ้านหนองบัว ประกอบไปด้วย ผู้สูงอายุ วัยกลางคน เป็นส่วนใหญ่การจัดเก็บข้อมูลในระบบการใช้ Google Form แต่ก็ยากลำบาก
การบริหารจัดการชุมชน
การจัดทำแผนชุมชน และกระบวนการเลือกประเด็นมาดำเนินการ เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้ได้ประเด็นปัญหาที่แท้จริง และเป็นความต้องการของคนในหมู่บ้านในการที่จะร่วมกันในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ตามโครงการเพื่อแก้ไขปัญหานั้นๆโดยมีรายละเอียด ประกอบด้วย
1. ขั้นตอนการจัดทำแผนชุมชน
1.1 การสำรวจและจัดเก็บข้อมูล การสำรวจและเก็บข้อมูลสภาผู้นำชุมชน เพื่อทำการจัดเก็บข้อมูลด้วยสมาร์ทโฟน และใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์ข้อมูลแบบสำเร็จรูป และนำข้อมูลดังกล่าวมาตรวจทานด้วยสภาผู้นำชุมชนอีกครั้งเพื่อยืนยันความถูกต้อง
1.2 สภาผู้นำชุมชนบ้านหนองบัว ร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูล
1.3 การจัดเวทีประชาคม เพื่อทำประชาพิจารณ์ และข้อมูล ปัญหา ความต้องการเพิ่มเติม
2. การสื่อสารภายในชุมชน ประกอบด้วย การประชุม การใช้เสียงตามสาย และการประชาสัมพันธ์ผ่านทางเครือข่ายแกนนำ กลุ่มต่างๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรม สื่อสารถึงบุคคลอื่นๆ ที่อยู่ภายในชุมชน ครอบครัว
การสร้างการมีส่วนร่วมในชุมชน
กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วม เป็นขั้นตอนของการสร้างการมีส่วนร่วมแก่ส่วนต่างๆที่มีความเกี่ยวข้องกัน ประกอบด้วย วิธีการสร้างการมีส่วนร่วมกับสภาผู้นำชุมชน วิธีการสร้างการมีส่วนร่วมกับสมาชิกในชุมชน และวิธีการสร้างการมีส่วนร่วมกับองค์กรภายนอก
- ขั้นตอนการสร้างการมีส่วนร่วมกับสภาผู้นำชุมชน
- การวางแผนงาน เป้าหมายร่วมกัน
- ความเป็นเจ้าของ
- การสร้างตำนาน
- ขั้นตอนกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมกับสมาชิกในชุมชน
- แกนนำตัวอย่าง โดยสภาผู้นำชุมชน
- การขยายผล จากการชักชวน
- ขั้นตอนกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมกับองค์กรภายนอก
- สร้างความเข็มแข็ง จัดการตนเอง
- สร้างผลงาน และแสดงพลังความร่วมมือของคนในชุมชน
- การเสนอโครงการ/งาน/การบริหารโครงการ
- เครือข่ายและกัลยาณมิตร
ความสำเร็จและผลลัพธ์
ผลลัพธ์ความสำเร็จเชิงประเด็นที่กลไกสภาผู้นำชุมชนเป็นผู้ดำเนินงานผ่านแผนชุมชนที่ปรากฏเด่นชัดได้แก่ สภาผู้นำชุมชนร่วมกับเทศบาลตำบลเมืองยาวมีการขับเคลื่อนการจัดการขยะในชุมชน สภาผู้นำชุมชนมีการจัดเก็บข้อมูลสถานการณ์ขยะด้านต่างๆ การจัดทำฐานข้อมูลขยะของแต่ละครัวเรือน เพื่อนำมาใช้ในการติดตามและประเมินผลตามบันไดผลลัพธ์ ครัวเรือนในชุมชน 77 ครัวเรือนเกิดความรู้ ความเข้าใจในการจัดการขยะอย่างถูกวิธี โดยแต่ละครัวเรือนมีการแยกขยะได้ถูกวิธี ครัวเรือน 65 ครัวเรือน มีการคัดแยกขยะ โดยแยกเป็นขยะรีไซเคิล ขยะเปียก ขยะแห้ง ขยะติดเชื้อ ขยะอันตราย ครัวเรือน 5 ครัวเรือน มีการนำขยะอินทรีย์มาทำปุ๋ยหมัก/น้ำหมักชีวภาพ และครัวเรือน ครัวเรือนนำไส้เดือนดินมาจัดการกับขยะเปียก เกิดครัวเรือนตัวอย่างในจัดการขยะ คัดแยกขยะ และใช้ประโยชน์จากขยะ จำนวน 22 ครัวเรือน ปริมาณขยะในชุมชนหลังจากดำเนินโครงการ ณ เดือนกันยายน 2565 คงเหลือ 101.40 กิโลกรัม/วันเปรียบเทียบจากปริมาณขยะก่อนดำเนินโครงการ 237.60 กิโลกรัมต่อวัน และเกิดการเชื่อมประสานแผนชุมชนกับแผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลเมืองยาวในการแก้ไขปัญหาขยะอย่างต่อเนื่องและปัญหาด้านต่างๆ
หลักฐาน/ข้อมูลสำคัญที่บ่งบอกว่าดำเนินการได้สำเร็จ จะเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ที่สามารถบ่งบอกถึงความเชื่อมโยงที่นำไปสู่ความสำเร็จ ประกอบด้วย ปริมาณขยะที่ลดลง ครัวเรือนมีปุ๋ยหมักชีวภาพใช้เองในครัวเรือน ครัวเรือนมีรายได้จากการขายขยะรีไซล์เคิล ตัวชี้วัดความสุขของคนในชุมชน
กิจกรรมสำคัญและเงื่อนไข ปัจจัยที่นำมาสู่ความสำเร็จ ได้แก่ ตลาดนัดขยะ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ดำเนินการเพื่อลดปริมาณขยะในชุมชน โดยทั้งนี้เงื่อนไขของความสำเร็จอยู่ที่ความร่วมมือของคนในชุมชน โดยทั้งนี้สามารถบอกความสำเร็จได้ด้วยปริมาณขยะที่ส่งมาลดลง
การสร้างความยั่งยืนในการดำเนินงานภายในชุมชน
การวิเคราะห์ความเข้มแข็งการประเมินความเข้แข็งของชุมชน 9 มิติ
การสร้างความยั่งยืนในการดำเนินงานภายในชุมชน โดยใช้ความเข้มแข็งการประเมินความเข้มแข็งของชุมชน 9 มิติ มาใช้ในการวิเคราะห์ ประกอบด้วย
- การมีส่วนร่วม อยู่ในระดับ 4 โดยชุมชนบ้านหนองบัวมีกลุ่ม องค์กรที่มีผู้นำในการบริหารจัดการได้เอง โดยดำเนินการตามแผนชุมชนที่ได้วางไว้
- ผู้นำ อยู่ในระดับ 5 โดยผู้นำสามารถขับเคลื่อนการ ดำเนินงานตามแผนได้สำเร็จตามแผนได้สำเร็จตามแผนมากกว่าร้อยละ 80 ผู้นำองค์กรทุกกลุ่มขับเคลื่อน ตามแผนงานที่กำหนดร่วมกับ สภาผู้นำชุมชนได้สำเร็จ ผู้นำสามารถทำงานร่วมกับ กลุ่มอื่นๆทั้งในและนอกชุมชน ได้สำเร็จ
- โครงสร้างองค์กร อยู่ในระดับ 4 โครงสร้างสภาผู้นำชุมชนบ้านหนองบัวมีองค์ประกอบครบทั่งผู้นำที่เป็นทางการ ไม่เป็นทางการ และที่มาจากตัวแทนกลุ่มต่างๆ ซึ่งการรวมตัวเกิดขึ้นจากผู้นำที่ไม่เป็นทางการโดยมีความหลากหลายกลุ่มกรในชุมชน
- การประเมินปัญหา อยู่ในระดับ 4 ชุมชนมีการออกแบบเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลได้เอง รวมทั้งสามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาจัดทำแผนชุมชนและขับเคลื่อนชุมชนด้วยแผนชุมชนได้ร้อยละ 80
- การระดมทรัพยากร อยู่ในระดับ 4 โดยสามารถใช้แผนชุมชนเป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงกับองค์กร/ชุมชนอื่นๆ ภายในชุมชน
- การเชื่อมโยภายนอกอยู่ในระดับ 5 การเชื่อมโยงกับองค์การภายนอกประกอบด้วย ชุมชนบ้านทุ่งหก ชุมชนบ้านทุ่งพัฒนา เทศบาลตำบลเมืองยาว
- การถามว่าทำไม อยู่ในระดับที่ 4 การมีการแผนการทำงานที่ชัดเจน ภายใต้ข้อมูลอย่างรอบด้าน กลุ่มต่างๆๆในชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรม
- ความสัมพันธ์กับพี่เลี้ยง อยู๋ในระดับที่ 4 โดยชุมชนสามารถเชื่อมโยงการทำงานทั้งภายในและภายนอกชุมชนได้ และชุมชนสามารถจัดเวทีเรียนรู้ในชุมชนได้เอง การปรับแผนการทำงานเพื่อให้บรรลุผลลัพธ์ชุมชน
- การบริหารจัดการ อยู่ในระดับ 4 โดยสภาผู้นำชุมชนสามาบริหารจัดการกิจกรรมได้ด้วยตนเองได้ร้อยละ 90 และสามารถออกแบบ จัดเก็บ และวิเคราะห์ข้อมูลได้ด้วยชุมชนเองสภาผู้นำชุมชน มีการจัดเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล คืนข้อมูลได้ แต่ยังมีข้อจำกัดในการจัดเวที ARE ได้เอง ซึ่งการจัดเวที AER จำเป็นต้องใช้ทักษะในการสื่อสาร และประสบการในการชวนพูด ชวนคุย ชวนคัด
จุดอ่อนที่ชุมชนต้องพัฒนาต่อเนื่องเพื่อสร้างความเข็มแข็ง คือ การสร้างคนรุ่นไหม่ สภาผู้นำชุมชนบ้านหนองบัว ปัจจุบันมีจำนวน 20 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการในหมู่บ้าน 3 คน อสม. 5 คน สูงอายุ 1 คน กลุ่มต่าง ๆ 11 คน ดังนั้นการทำงานสภาผู้นำชุมชนจึงเป็นการทำงานที่ต้องร่วมกันของกลุ่มต่างๆ ในหมู่บ้าน ดังนั้นการสร้างสภาผู้นำชุมชนคนรุ่นใหม่เพื่อให้มีสัดส่วนที่เหมาะสมกับสภาผู้นำชุมชนที่เป็นผู้สูงอายุจะเกิดการทำงานที่มีลักษณะลงตัวกันระหว่างเทคโนโลยีกับภูมิปัญญาดังเดิม
ความสามารถในการยกระดับเป็นพื้นที่เรียนรู้
- การมีแกนนำในการขับเคลื่อน โดยทางชุมชนบ้านหนองบัวมีทีมสภาผู้นำชุมชนที่มีความสามารถในการขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการชุมชนน่าอยู่และโครงการอื่นๆของชุมชน
- ความสามารถการถ่ายแนวคิด วิธีการ ที่เป็นแนวคิด ประสบการณ์ของชุมชนมีสภาผู้นำชุมชนที่มีแนวคิด ความรู้ ความสามารถ และเทคนิคการถ่ายทอดแนวคิดประสอบการณ์การทำงานให้กับชุมชนอื่นได้
- แผนชุมชน และการขับเคลื่อนแผนชุมชน ชุมชนบ้านหนองบัวมีแผนชุมชนที่เกิดจากข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการร่วมกันตัดสินใจในการแก้ไขปัญหา และพัฒนาชุมชน โดยแผนชุมชนเป็นแผนที่ได้ถูกกำหนดขึ้น