โครงการศิลปะด้านในเพื่อโอบอุ้มหัวใจของเด็กทุกคน ศูนย์การเรียนรู้ไร้ส้มวิทยา
โครงการศิลปะด้านในเพื่อโอบอุ้มหัวใจของเด็กทุกคน ดำเนินงานโดยแกนนำนักเรียนในศูนย์การเรียนไร่ส้มวิทยา สถานศึกษทางเลือกที่จัดการศึกษาให้กับเด็กเยาวชนลูกแรงงานข้ามชาติที่ทำงานเป็นแรงงานในสวนผลไม้ ซึ่งส่วนใหญ่มีสถานะไร้รัฐไร้สัญชาติและไม่มีสถานะทางบุคคลในประเทศไทย นักเรียนกลุ่มนี้จึงไม่ได้รับการศึกษาอย่างที่ควรจะได้รับ บางส่วนถูกผลักออกจากระบบการศึกษาเพราะจะต้องย้ายถิ่นฐานตามผู้ปกครองอยู่เสมอ การมีไม่สถานทางทะเบียนส่งผลให้มีข้อจำกัดในเรื่องสิทธิต่าง ๆ เช่น การได้รับการดูแลเรื่องการรักษาพยาบาล การถูกกดรายได้ หรือการถูกหลอกหาผลประโยชน์อื่น ๆ เป็นต้น เด็ก ๆ ในศูนย์การเรียนไร่ส้มวิทยา ถือว่ามีความเปราะบางสูงในแทบทุกด้านของชีวิต การพูดถึงคุณค่าทางจิตใจ การมีความฝันการมีแรงบันดาลใจ และการมีเป้าหมายในชชีวิตเป็นเรื่องที่ยากมาก ๆ เพราะแม้แต่การอยู่รอดปลอดภัยในสังคมยังเป็นเรื่องเด็ก ๆ ไม่ได้รับอยู่เสมอ ดังนั้นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจและความสามารถในการรู้จักตัวเองเพื่อให้สามารถเอาตัวรอดในสังคมได้อย่างมีความสุข จึงเป็นสิ่งที่โครงการศิลปะด้านในเพื่อโอบอุ้มหัวใจของเด็กทุกคนมุ่งหวังสูงสุด
โครงการตั้งตนด้วยความตั้งใจที่อยากจะออกแบบพื้นที่ปลอดภัยในการพัฒนาและเสริมศักยภาพบนฐานจิตใจให้เด็กเยาวชนผ่านกระบวนการศิลปะ ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการร่วมตัวแกนนำนักเรียนที่มีความสนใจเรื่องศิลปะและอยากจะมีส่วนร่วมในการเรียนรู้เรื่องการดูแลและโอบอุ้มหัวใจของตัวเอง ภายใต้ชื่อทีมว่ากล้าส้ม การเริ่มต้นโครงการแกนนำไม่ได้มีพื้นฐานความรู้หรือประสบการณ์ในเรื่องที่ดำเนินงานมาก่อนกระบวนการที่สำคัญในช่วงแรกจึงเป็นการการเติมทักษะ ความรู้ และการวางบทบาทที่เหมาะสมให้กับแกนนำผ่านการทดลองทำในกิจกรรมร่วมกับคุณครูในฐานะของผู้ช่วย โดยหลังจบกิจกรรมแต่ละครั้งแกนนำจะมีการสรุปการเรียนรู้และสะท้อนบทเรียนการเติบร่วมกับคุณครูเสมอ ดังนั้นการมีความรู้ในตัวโครงการ การบริหารโครงการ การวางบทบาท ความเข้าใจในประเด็นการทำงาน และการทำงานเป็นทีม เป็นสิ่งที่เห็นถึงการพัฒนาได้อย่างชัดเจนตั้งแต่ภาพรวมแกนนำทีมกล้าส้ม การดำเนินโครงการเกิดขึ้นบนฐานกิจกรรมที่ใช้ศิลปะเชื่อมโยงกับธรรมชาติเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพให้ผู้เข้าร่วมเรียนรู้การทำความเข้าใจตัวเอง ตลอดการดำเนินโครงการมีกิจกรรมด้านศิลปะอย่างหลากหลาย เช่น การระบายสีน้ำ การจัดดอกไม้ การทำตุ๊กตาหุ่นนิ้วมือ การเล่านิทาน การร้องเพลงและกิจกรรมประกอบจังหวะ การทำผ้าพิมพ์ลายใบไม้จากสีธรรมชาติ การปั้นดิน เป็นต้น ในการทำกิจกรรมแต่ละครั้งแกนนำจะมีส่วนร่วมในการกำหนด เตรียมการ ดำเนินงาน และชวนผู้เข้าร่วมสะท้อนบทเรียน ความถี่ของการจัดกจกรรมในโครงการนี้เกิดขึ้นอาทิตย์ละ 2 วัน วันละ 2 ชั่วโมง และมีการดำเนินต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 6 เดือน ดังนั้นผลที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมจึงมีความชัดเจนและเห็นได้ชัดทั้งในตัวแกนและผู้เข้าร่วมกิจกรรม
ผลของดำเนินโครงการพบว่า กิจกรรมศิลปะด้านในเพื่อโอบอุ้มหัวใจของเด็กทุกคน สามารถชวนให้เด็กที่เข้าร่วมกิจกรรมได้อยู่กับการเป็นตัวเอง ไม่ตัดสินกันและกัน สามารถสร้างพื้นที่ให้ทุกคนได้แสดงออกและเล่นอย่างอิสระผสมผสานกับการเล่นไปกับธรรมชาติรอบตัว ทำให้ดึงความเป็นตัวเองออกมาได้ง่ายมากขึ้นฉะนั้นกิจกรรมศิลปะด้านในจึงสามารถโอบอุ้มและเติมเต็มส่วนที่ขาดหายไปของเด็กๆที่นี่ในเชิงบุคคลและสภาพแวดล้อมรอบตัว ทั้งบุคคล กลุ่มแกนนำเยาวชน สภาพแวดล้อมรอบตัวและกิจกรรมศิลปะด้านใน ตลอดการทำกิจกรรมแกนนำเยาวชนต้องเผชิญกับความยากในการดูแลผู้เข้าร่วมที่เป็นรุ่นน้องในระดับประถมตัวจิ๋วที่มีความเป็นธรรมชาติ เป็นตัวเอง สะเปะสะปะ ไม่ค่อยอยู่นิ่ง ซุกซนไปตามวัยแต่ก็สามารถอยู่ได้เมื่อมีกิจกรรมน่าสนใจมาให้เล่น และมีพี่แกนนำที่คอยดูแล พาทำกิจกรรมไปด้วย ในขณะเดียวกันเด็ก ๆ ผู้เข้าร่วมทั้ง 30 คน ก็เรียนรู้สิ่งที่ไม่คุ้นเคยแปลกใหม่ และได้ปลดปล่อยพลังความเป็นตัวเองออกมาอย่างเต็มที่ ได้งานศิลปะไม่ว่าจะเป็นตุ๊กตา ผ้าย้อมลาย ช่อดอกไม้ ภาพระบายสีที่ตัวเองได้ทำกลับไปพร้อมกับทักษะทางศิลปะและทักษะการดูแลจิตใจ สิ่งที่เห็นได้ชัดคือการสื่อสารกันระหว่างแกนนำ ครู และเยาวชนผู้เข้าร่วม จากการลงมือทำกิจกรรมผู้เข้าร่วมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน เด็ก ๆ รู้วิธีทบทวนภายในของต้นเอง สามารถพูด แสดงออกและสื่อสารเรื่องที่ตัวเองคิด รู้สึก เข้า ได้อย่างไม่เขินอาย ในบางคนมีความใจเย็นลงจากที่เคยอารมณ์ร้อน ที่สำคัญเสียงสะท้อนจากหลาย ๆ ครอบครัวเป็นอีกหนึ่งการยืนยังถึงการเปลี่ยนแปลงจากภายในที่ผู้ปกครองได้บอกเล่าให้กับแกนนำฟัง
โครงการศิลปะด้านในเพื่อโอบอุ้มหัวใจของเด็กทุกคน มีเงื่อนไขความสำเร็จที่สำคัญหลายส่วน สิ่งแรกที่ชัดเจน คือ ความเข้าใจในตัวเด็กเข้าใจในเงื่อนไขชีวิต และไม่มองข้ามสภาพปัญหาที่เด็ก ๆ เผชิญ ความเข้าใจนำไปสู่การออกแบบกระบวนการของโครงการที่มีความยืดหยุ่น อิสระ และไม่เคร่งเครียดจนเกินไป ส่วนที่สองการรับฟัง ชื่นชมเด็ก ๆ เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เด็ก ๆ เกิดความปลอดภัยที่กล้าลองผิดลองถูก การไม่ดุด่า กดดันหรือ ไม่เลือกปฏิบัติเป็นนัยนะสำคัญของโครงการนี้ ซึ่งมีความเห็นอกเห็นใจเป็นฐาน โดยมีทีมแกนนำเป็นสื่อกลางและผู้เชื่อมโยงให้กระบวนการของโครงการสามารถเข้าถึงเด็ก ๆ การโอบอุ้มหัวใจเด็ก ที่ออกแบบโดยเด็กเพื่อเด็กอย่างแท้จริง