โครงการสร้างเสริมสุขภาพ (พลังเด็กเยาวชนเปลี่ยนได้)
1. โครงการซ่อมบำรุงแสงสว่างสู่ ความปลอดภัย วิทยาลัยเทคโนโลยีช่างกลพณิชยการนครราชสีมา (ชพน.) ประเด็นลดอุบัติเหตุ
เนื่องจากกลุ่มแกนนำร่วมเห็นถึงปัญหา เมื่อเกิดอุบัติเหตุจากระบบรถขัดข้องภายในรถจักรยานยนต์ของคนในชุมชนที่อยู่บริเวณใกล้เคียงสถานศึกษา ค้นพบว่าบางคนยังไม่มีความรู้เรื่องการซ่อมรถหรือการดูแลรักษาที่เหมาะสมทำให้รถจักรยานยนต์เก่าหรือชำรุดก่อนอายุสภาพที่ควรเป็น อีกทั้งมองเห็นว่าไม่มีศูนย์บริการรถในชุมชน หากมีจะมีราคาที่บางคนอาจจะไม่มีกำลังในการซ่อมรวมถึงแกนนำเห็นศักยภาพการเป็นช่างซ่อมด้วยกัน จึงสนใจที่จะเป็นอาสาสมัครในการซ่อมรถให้กับคนในชุมชน
เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง
1. แกนนำเยาวชนมีความสามารถที่ดีขึ้นเป็นลำดับ มีดวามมั่นใจที่จะพูดคุย แสดงความคิดเห็น ประสานงานกับคนในพื้นที่ เรียนรู้บริหารจัดการเวลาและฝึกตัวเองให้มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวมมากขึ้น
2. กลุ่มเป้าหมายคนในชุมชนสนใจและเห็นถึงความตั้งใจของแกนนำเยาวชนที่ช่วยเหลือ สำหรับกลุ่มเด็กนักเรียนได้รับรู้ เข้าใจกฎหมายการจราจรและความปลอดภัยในการขับขี่ อีกทั้งได้ลองเป็นช่างฝึกหัดซึ่งสามารถนำไปปรับใช้กับชีวิตจริงได้อย่างแนะนอน
3. ชุมชนมีพื้นที่ศูนย์บริการรถในชุมชนขนาดเล็ก เป็นพื้นที่พูดคุย แลกเปลี่ยนวิชาสำหรับเยาวชนและผู้ใหญ่ในชุมชน
2.โครงการ วิ่งด้วยกัน Fun For Health โรงเรียนลำพระเพลิงพิทยาคม ประเด็นส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
แกนนำเยาวชนเห็นปัญหาการติดหน้าจอของเด็กที่โรงเรียน ทำให้สมาธิสั้น ไม่ค่อยได้ขยับร่างกาย ส่งผลต่อสุขภาพ อีกทั้งเยาวชนใช้เวลาว่างปล่อยไปกับหน้าจอเป็นเวลานาน
เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง
1. แกนนำเด็กเยาวชน ฝึกเป็นนักสื่อสารและนักปฏิบัติการ มีทักษะการออกแบบผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ ฝึกทักษะการจัดทำโครงการตลอดจนเขียนรายงานได้ มีความรับผิดชอบ เป็นตัวอย่างที่ดีด้วยริเริ่มทำให้ผู้อื่นเห็นจนเกิดเป็นแรงบันดาลใจให้กับกลุ่มเป้าหมาย ปัจจุบันแกนนำเยาวชนมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง สดชื่นขึ้นจากการวิ่งร่วมกับผู้เข้าร่วมอีกด้วย
2. กลุ่มเป้าหมายคุณครูและนักเรียนโรงเรียนลำพะเพลิงพิทยาคม จำนวน 130 คน มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งสุขภาพดีขึ้น และมีนิสัยที่ดีด้วยการทำให้การวิ่งเป็นเรื่องปกติ ผู้เข้าร่วมบางท่านยังวิ่งจนเป็นกิจวัตรประจำวันถึงแม้จะจบโครงการแล้วก็ตาม
3. นักเรียนและคนในชุมชนมีพื้นที่นัดหมายทำกิจกรรม พื้นที่ออกกำลังกายในช่วงเย็นของทุกวัน
3.โรงเรียนสูงเนิน โครงการสูงเนิน วัยใส สร้างสรรค์ เท่าทันสื่อ
แกนนำเยาวชนเห็นสถานการณ์ปัญหาปัจจุบันที่มีการใช้สื่อ ในการวิจารณ์ แสงความคิดเห็นด้วยถ้อยคำที่ทำร้ายจิตใจของผู้อื่น ให้ความสนใจเรื่องของผู้อื่นเป็นอย่างมาก ทำให้ผู้ที่ได้รับคำวิจารณ์มีสภาพจิตใจที่อ่อนแอลง
เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง
1. แกนนำเยาวชนกล้าแสดงออกพูดเก่งขึ้น มีความรู้เท่าทันสื่อจากการฝึกทักษะการออกแบบ เข้าใจการทำงานและน้องกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมายนักเรียนและคุณครูในโรงเรียนเท่าทันสื่อเห็นปัญหาของการใช้สื่อที่ไม่เหมาะสมมากขึ้น
2. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องของการเท่าทันสื่อ เกิดทักษะของการใช้สื่อสร้างสรรค์ เช่น การข้อหาข้อมูลก่อนการโพสต์หรือการแชร์ ไม่แชร์ภาพที่ละเมิดผู้อื่น
4.โรงเรียนปรางค์ทองวิทยา โครงการเด็ก ปว.สร้างสรรค์เสพสุขไม่เสพติด
แกนนำเยาวชนพบปัญหาเด็กในโรงเรียนเข้าถึงและมีการนำบุหรี่เข้ามาสูบในบริเวณโรงเรียน ขึงจัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อดึงความสนใจของนักเรียนให้เข้าร่วมกิจกรรมและห่างไกลจากบุหรี่
เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง
1. แกนนำเยาวชนสภานักเรียนสามารถมองปัญหาและแก้ปัญหาได้ ในทุกกิจกรรม ฝึกการทำงานร่วมกันเป็นทีม นักเรียนได้ฝึกความกล้าแสดงออก โดยการนำสื่อที่ร่วมกันทำจากกิจกรรมอบรมมานำเสนอเกี่ยวกับความรู้ที่ได้และการแก้ปัญหาต่างๆ น้องให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี
2. กลุ่มเป้าหมายที่มีพฤติกรรมเสี่ยงการสูบบุหรี่ในเวลาว่าง มีการลดการสูบบุหรี่ลงโดยมารวมกลุ่มช่วงเวลาว่างมาจัดทีมซ้อมกีฬาฟุตซอล
5.โครงการเด็กสร้างสรรค์พื้นที่การเรียนรู้ปุ๋ยหมัก สู่ผักปลอดสารพิษ ชมรม To Be Number One โรงเรียนบัวใหญ่
แกนนำเยาวชนและครูพี่เลี้ยง พบปัญหาขนาดพื้นที่ของโรงเรียนมีความกว้างมากต้นไม้ในโรงเรียนก็เยอะตามไปด้วย ใบไม้ร่วงเป็นจำนวนมากซึ่งไม่มีใครนำไปใช้ใช้ประโยชน์ บางครั้งเกิดเป็นกองสูงทำให้เกิดไฟไหม้จนเกิดมลพิษทางอากาศ
เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง
1. แกนนำเยาวชนเกิดกระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม ความเข้าใจในกลุ่ม เห็นภาพรวมของกิจกรรมตั้งแต่ต้นจนถึงเปิดโครงการและปิดจบโครงการ และเกิดการแลกเปลี่ยนความคิดกันในกลุ่ม เป็นนักถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการทำปุ๋ยหมักนักเรียน ผู้ที่เข้าร่วมมีความรู้ในการทำปุ๋ยหมักและ ปลูกผักในรูปแบบต่างๆ สามารถนำกลับไปประยุกต์ใช้ที่บ้านและปลูกผักในครัวเรือนได้
2. เกิดพื้นที่เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องของการทำปุ๋ยหมักในโรงเรียน และเกิดการจัดสภาพแวดล้อมเรื่องของขยะเปียก ในการนำมาทำปุ๋ยหมัก
3. เกิดการบูรณาการกับวิชาเกษตร ทำให้เด็กนักเรียนได้เข้ามาเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
6.โรงเรียนบุญวัฒนา เรื่องกินเรื่องใหญ่ ใส่ใจสุขภาพ
แกนนำเยาวขบพบว่าเด็กในโรงเรียนมีระดับค่าร่างกายที่เกินมาตรฐานทั้งมีน้ำหนักที่อ้วนเกิน และน้ำหนักน้อยกว่ามารตฐาน ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมการกิน และขาดความรู้เรื่องการดูแลการกิน รวมไปถึงไม่ค่อยมีกิจกรรมขยับร้างกายอีกด้วย
เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง
1. นักเรียนรู้จักสัดส่วนการกินอาหารอย่างถูกต้อง รู้วิธีคิดแคลอรี่ในอาหาร รู้การคำนวณหาค่าดัชนีมวลกายรู้วิธีการอ่านฉลากสินค้า วิธีคำนวณน้ำตาลในเครื่องดื่ม และรู้จัก อาหารประเภท food, and fast food สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง ได้ลงมือประกอบอาหารด้วยตนเองพร้อมรับรับประทานอาหารฝีมือของตนเอง ผลที่ได้นักเรียนรู้จักวิธีการทำอาหารเบื้องต้นเพื่อสุขภาพของตนเองได้สะท้อนตัวเองหลังจากเข้าโครงการทั้งความรู้
2. แกนนำเยาวชนพัฒนาทักษะการเป็นนักจัดกระบวนการกิจกรรม ร่วมออกแบบ ทำโครงการ ฝึกทักษะการถ่ายทอดอย่างลึกซึ้งที่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มเป้าหมายและต่อตนเอง