โครงการส่งเสริมการบริโภคผัก ผลไม้ เพื่อสุขภาพในโรงเรียนวัดศรีวิสารวาจา
สรุปสาระสำคัญ
โครงการนี้เป็นการส่งเสริมการกินผักผลไม้ในโรงเรียน โดยมีการปรับเปลี่ยนการจัดอาหารกลางวันของนักเรียน จากเดิมที่ให้แม่ครัวประมูลเข้ามาทำอาหารให้นักเรียน มาเป็นคณะครูเป็นผู้ดำเนินการจัดทำอาหารกลางวันให้กับนักเรียนแทน โดยได้ใช้ Thai School Lunch ในการจัดรายการอาหาร ทำให้นักเรียนได้รับอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และมีผลไม้ขนมหวานอีกด้วย การจัดทำอาหารที่คณะครูให้ความสำคัญกับการจัดทำที่ถูกหลักโภชนาการ สะอาด และมีรสชาติดี ประกอบกับการถ่ายทอดความรู้อย่างต่อเนื่องโดยแกนนำนักเรียนและคณะครู และแรงเสริมที่คณะครูพยายามใช้ด้วยการกล่าวชมเชย และการชักชวนให้นักเรียนรับประทานผัก เหล่านี้ทำให้นักเรียนรับประทานผักได้มากขึ้นเรื่อย ๆ นอกจากนี้ ยังได้จัดกิจกรรมเสริมความรู้เรื่องผักและผลไม้ต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยมีแกนนำนักเรียน 12 คนเป็นผู้ดำเนินการและจากวิทยากรที่ได้เชิญเข้ามา ทั้งนี้ ในโครงการยังมีการติดตามผลการกินผักของนักเรียนอย่างต่อเนื่องทุกวัน โดยให้นักเรียนแกนนำเป็นผู้บันทึกในแบบบันทึกการรับประรับประทานอาหารกลางวันของนักเรียนทุกคนเพื่อติดตามพฤติกรรมการกินของนักเรียนทั้งในภาพรวมและรายบุคคล เพื่อแก้ปัญหาที่ทำให้เด็กกินผักได้น้อยพบว่านักเรียนสามารถรับประทานผักผลไม้ได้มากขึ้นเป็นลำดับ ในช่วงสุดท้ายของการดำเนินโครงการนักเรียนกินผักผลไม้ได้มากขึ้นเป็น ร้อยละ 90 กว่า และจากการประเมินภาวะโภชนาการโดยการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเพื่อหาค่าเฉลี่ย พบว่า ภาวะทางโภชนาการของนักเรียนดีขึ้นกว่าเดิมด้วยเช่นกัน
บทเรียนที่น่าเรียนรู้จากโครงการเพื่อการนำไปขยายผล
1. โปรแกรม Thai school lunch เป็นเครื่องมือช่วยให้โรงเรียนทำอาหารได้ถูกหลักโภชนาการ และปรับวัตถุดิบได้ตามข้อจำกัดที่มีอยู่
2. การติดตามผลดี
3. ความสามารถในการบริหารเวลาของครูผู้รับผิดชอบ
4. การปลูกผักโรงเรียน ที่ให้ผู้ปกครองและนักเรียนช่วยกันดูแลแปลงผัก และใช้ประโยชน์จากผักในแปลงทั้งที่โรงเรียนและที่บ้านได้
5. โปรแกรม Thai School Lunch ช่วยโรงเรียนในการจัดการอาหารกลางวันที่ถูกตามหลักโภชนาการภายใต้งบประมาณ 20 บาทต่อหัวได้จริง แต่ต้องอยู่ภายใต้การจัดการของโรงเรียน ทั้งระบบ ตั้งแต่การกำหนดเมนูอาหาร จนถึงการจัดการวัตถุดิบในการปรุงอาหาร จนถึงการปรุงอาหาร
6. การส่งเสริมการกินผักของนักเรียนและได้โภชนาการที่เหมาะสมตามวัย ภายใต้ข้อจำกัดเรื่องงบประมาณอาหารกลางวัน 20 บาท/คน/วัน ต้องใช้โปรแกรม Thai school lunch เป็นฐานในการออกแบบเมนูอาหาร ที่เกี่ยวข้องกับการใช้วัตถุดิบให้ได้เหมาะสมทางโภชนาการตามข้อจำกัดงบประมาณ โรงเรียนต้องมีผักตนเองช่วยสนับสนุนการลดค่าใช้จ่ายและให้เด็กนักเรียนคุ้นเคยกับผักชนิดต่างๆ ผ่านการได้ร่วมเพาะปลูกเอง และเรียนรู้ประโยชน์จากกิจกรรม-การเรียน ในโรงเรียน มีแม่ครัวที่ใส่ใจปรับปรุงการทำอาหารให้เด็กกินได้ง่าย จากการติดตามผลการกินต่อเนื่องโดยแกนนำนักเรียนเอง ที่ทำหน้าที่ติดตาม บันทึกผลและครูเป็นผู้วิเคราะห์ผลและใช้ผลพัฒนาการทำอาหารที่เด็กกินผักได้เพิ่ม